“อัญชลี” เร่งฟื้นฟู “ปางช้างแม่สา” ภายหลังเจอภัยธรรมชาติ ประสานผู้จัดการมรดกร่วม นำทรัพย์มรดกมาแก้ปัญหาเพื่อไม่เป็นภาระใคร แต่ยังไม่ได้รับการติดต่อกลับ
เมื่อวันที่ 10 ต.ค.65 ผู้สื่อข่าวได้สอบถามนางอัญชลี กัลมาพิจิตร ผู้บริหารปางช้างแม่สา ถึงเรื่องของการดำเนินการแก้ไข ปัญหาเกี่ยวกับเรื่องสะพานข้ามเข้าสู่ปางช้างแม่สาและการเปิดให้บริการปางช้างแม่สา ให้แก่นักท่องเที่ยว ว่าจะสามารถเปิดบริการได้เมื่อไหร่
นางอัญชลี กัลมาพิจิตร เผยว่าปัญหาของปางช้าง ในครั้งนี้ถือว่าสาหัสมากสาหัสกว่าครั้งที่เราต้องเผชิญเรื่องโควิด 19 เมื่อ 2-3 ที่ผ่านมา เนื่องจากว่าตอนนี้ภัยธรรมชาติอุทกภัย ได้สร้างความเสียหายให้กับปางช้างแม่สาคิดเป็นเปอร์เซ็นต์แล้วก็ประมาณ 30% ของ ของปางช้างแม่สาที่จะต้องฟื้นฟู แล้วต้องมีการก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆโดยเฉพาะสะพานข้ามลำน้ำแม่สาสำหรับนักท่องเที่ยวที่จะเดินข้ามไปสู่ตัวปางช้างแม่สา ซึ่งหายไปกับน้ำป่าในช่วงที่ผ่านมา เมื่อประมาณวันที่ 1 ตุลาคม 65 ซึ่งขณะนี้เราก็ยังคงแก้ไขปัญหาไม่ได้เนื่องจากว่าเราจะต้องเขียนแบบขึ้นมาใหม่ แล้วก็มีการคำนวณค่าใช้จ่าย ที่จะต้องสร้างสะพานขึ้นมาใหม่ ซึ่งในตอนนี้เราต้องประสบกับสภาวะที่ต้อง “ปิดปางช้างแม่สา” ไม่มีรายได้เข้ามาประมาณกว่า 1 สัปดาห์แล้ว และก็ความยากลำบากต่างๆ ก็ยังมีเรื่องเกี่ยวกับการซ่อมบำรุงสถานที่ รวมไปถึงยังต้องหาสิ่งอุปโภค – บริโภค ให้กับช้าง รวมไปถึงพนักงานในปางช้างแม่สาสิ่งที่เราจะต้องมีให้กับช้างทุกวันก็คือเรื่องอาหารของช้าง ที่จะต้องนำเข้าสู่ปางช้างแม่สา วันหนึ่งประมาณ 9 -10 ตันและในตอนนี้ก็ยังมีปัญหาในเรื่องเกี่ยวกับดินสไลด์ ปัญหาที่เราจะต้องแก้ไขโดยด่วน โดยเฉพาะบริเวนริมลำน้ำแม่สา ในวันนี้ต้องเจอกับปัญหาดินสไลด์อีก แล้วก็มีเรื่องของต้นไม้อีก ที่เราต้องตัดทิ้งในบางส่วน เพราะว่าต้นไม้เหล่านี้มีการหักโค่นล้มและจะทำอันตรายให้แก่ตัวช้างในปางช้างแม่สา และในส่วนเรื่องของน้ำ ซึ่งช้างก็ต้องใช้กินน้ำสะอาด ซึ่งก็ใช้ทั้งกินทั้งอาบ ร่วมไปถึงน้ำที่คนก็จะต้องใช้ด้วยในปางช้างแม่สา ซึ่งระบบเหล่านี้จะต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน
นางอัญชลี กล่าวต่ออีกว่า เราก็ได้พยายามแก้ไขปัญหามาโดยตลอดและในตอนนี้สะพานทุกสะพาน ที่จะข้ามจากถนนเข้าสู่หมู่บ้าน หรือตัวปางช้างแม่สา ถึงว่าสะพานยังคงอยู่บางจุด แต่จะเป็นสะพานที่ไม่สามารถรับน้ำหนักของทั้งรถยนต์ที่จะข้ามผ่าน หรือแม้กระทั่งรถขนหญ้าที่จะข้ามผ่าน อันนี้ก็เป็นความลำบากของการจัดการปัญหาของปางช้างแม่สาซึ่งมีช้างเลี้ยงมากถึง 68 เชือกในขณะนี้ ในส่วนเรื่องของอาหารช้างนั้นทางปางช้างแม่สา ได้ขอความร่วมมือไปยังปศุสัตว์อำเภอ ซึ่งกำลังจะจัดหาหญ้าแห้ง “หญ้าแพงโกล่าแห้ง” มาให้กับช้างที่ปางช้างแม่สา ซึ่งก็ยังเดินทางมาไม่ถึง แล้วก็ในส่วนของหญ้าสด เราก็ต้องพยายามที่จะจัดการให้ได้ เพราะว่าช้างจะต้องกินอิ่ม แล้วก็ช้างก็จะต้องมีความปลอดภัยด้วย พนักงานทุกคนก็ทำงานหนักมาก เราไม่สามารถที่จะต้อนรับนักท่องเที่ยวได้ เพราะเรายังไม่มีความพร้อมในเรื่องที่จะมาดูแลนักท่องเที่ยว ถึงว่าตอนนี้จะเปิดขึ้นมามันก็ยังไม่มีความปลอดภัย เพราะฉะนั้นเรายังกะระยะเวลาไม่ได้ว่าเราจะเปิดปางช้างแม่สา ขึ้นมาได้อีกเมื่อไหร่
ถือว่าเป็นเรื่องที่หนักกว่าในเรื่องของโควิดไนท์ทีนที่ผ่านมา เพราะว่าโควิด 19 เรายังสามารถที่จะบอกได้ว่าเราจะเปิดปางช้างแม่สาได้แต่ว่าช่วงนี้ เราก็ยังขาดทุนทรัพย์ในการที่จะมาจัดการซึ่งจะต้องใช้เงินเป็นจำนวนมาก เพราะว่าปางช้างแม่สา เสียหายไปไม่ต่ำกว่า 30% ในการที่จะต้องหาทุนทรัพย์มาจัดการกับปางช้าง ให้สามารถเปิดขึ้นมาได้เหมือนเดิม ต้องใช้ทุนทรัพย์มาก “และทุนทรัพย์นี้ก็ควรจะมาจากการจัดการทรัพย์สินของคุณพ่อชูชาติ กัลมาพิจิตรเท่านั้น” จะได้ไม่เป็นภาระของใคร
นางอัญชลีเผยต่อว่า ในตอนนี้เรามีบัญชีที่นายชูชาติ กัลมาพิจิตร มอบให้ปางช้างแม่สาในการที่จะนำไปเป็นเงินทุนหมุนเวียน ซึ่งตอนนี้เราได้เช็คบัญชีนี้แล้วว่ามีเงินอยู่ประมาณ 15 ล้านบาท ซึ่งทันทีที่เราได้ประสบเหตุการณ์สะพานขาด เราได้ให้ทนายทางฝั่งของเรานางอัญชลี กัลมาพิจิตร ติดต่อไปยังทนายของนางฐิรัตน์ กับมาพิจิตร ผู้จัดการมรดกร่วม เพื่อที่จะเบิกเงินจำนวน 8 ล้านบาท ซึ่งนางฐิติรัตน์ฯ อ้างมาโดยตลอดว่าเงิน 15 ล้านบาทนี้ จะต้องเป็นสินสมรสครึ่งหนึ่ง และคดียังอยู่ในศาลฟ้องร้องเรื่องการแบ่งสินสมรส ดังนั้นนางฐิติรัตน์ ก็ไม่ทำหน้าที่ผู้การมรดกในการโอนทรัพย์สินส่วนนี้ ให้เข้าสู่บริษัทปางช้างแม่สา แต่ด้วยเหตุที่ว่าเราประสบปัญหาในเรื่องของอุทกภัย และเราต้องใช้เงินในการฟื้นฟูค่อนข้างมาก เราก็ติดต่อไปเพื่อจะขอเบิกเงินจำนวน 8 ล้านบาท แล้วที่เหลือไว้ที่ธนาคาร ถ้านางฐิติรัตน์ ดำเนินการทางศาลแล้วศาลมีคำสั่งแบ่งให้ตามคำสั่งศาล ทางปางช้างแม่สาก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่ว่าครึ่งนึงของเงินจำนวนนี้ต้องเป็นของปางช้างแม่สาอย่างแน่นอน
“จริงๆแล้วทั้งหมดทั้ง 15 ล้านเป็นของปางช้างแม่สาอย่างแน่นอน ทีนี้ทางนางฐิติรัตน์ ต้องการที่จะเบิกเงินด้วยจำนวน 600,000 บาทเพื่อจะนำไปเป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัวของทางฝั่งนางฐิติรัตน์ ซึ่งทางปางช้างแม่สาเองโดยทนายเราได้ปรึกษากันแล้ว เราไม่มีปัญหาตรงนี้เลยเราต้องการที่จะเบิกเงิน 8 ล้านกับอีก 600,000 บาท เพื่อที่จะมอบให้กับทางฝั่งนึง ทางทนายของนางฐิติรัตน์ ได้บอกกับเราเมื่อประมาณวันที่ 3 ตุลาคมที่ผ่านมาว่าจะนำเรื่องนี้ไปปรึกษากับนางฐิติรัตน์ แล้วได้ผลอย่างไรนี่ก็จะนำมาบอกเราซึ่งตอนนี้ก็ยังเงียบหายไป ยังไม่ได้ติดต่อกลับมาว่าจะสามารถเบิกเงินจำนวนนี้ออกมาได้ไหม เพราะว่าต้องใช้ผู้จัดการมรดกร่วมทั้ง 2 คนก็คือนางอัญชลี กัลมาพิจิตร กับนางฐิติรัตน์ กัลมาพิจิตร ในการที่จะไปร่วมกันเบิกเงินออกมา”
“ปางช้างแม่สา ตอนนี้เรามีค่าใช้จ่ายทุกวัน แล้วก็ที่หนักสุดก็คือเราจะต้องสร้างสะพานใหม่ซึ่งจะต้องใช้เงินค่อนข้างมาก ตอนนี้เรามีค่าใช้จ่ายทุกวันแล้วไม่มีรายได้ ซึ่งตรงนี้เนี่ยเราก็จะต้องตามเอาทรัพย์สินของปางช้างแม่สาที่นายชูชาติ กัลมาพิจิตร ระบุที่จะมอบให้ปางช้างแม่สา ในพินัยกรรมมาให้กับปางช้างแม่สา ซึ่งตอนนี้เรามีโฉนดที่ดินอยู่ 3 แปลง ที่นายชูชาติสั่งให้ขายแล้วการขายที่ดินตอนนี้มันมีขั้นตอน มันไม่ได้ง่ายแล้วมันไม่ได้รวดเร็ว เพราะฉะนั้นสิ่งที่ไวที่สุดก็คือการเบิกเงินที่มีอยู่แล้วในบัญชีแล้วตกเป็นของปางช้างแม่สา ออกมาใช้ซึ่งตรงนี้จะขออธิบายให้ฟังว่าสถานการณ์เรื่องของการจัดการทรัพย์สินของนายชูชาติ กัลมาพิจิตร ที่จริงมันไม่ได้ยากจนเกินไป แต่ว่าต้องขอความกรุณาผู้จัดการมรดกอีกท่านหนึ่งได้ทำหน้าที่ของผู้จัดการมรดกร่วมด้วย “ทุกวันนี้เรามีความลำบากมาก ลำบากกันทั้งช้างและพนักงาน” นางอัญชลีกล่าวตอนท้ายก่อนจบการให้สัมภาษณ์