ข่าวทั่วไทย » เชียงใหม่ แม่เลี้ยงปางช้างแม่สา ตรวจเยี่ยมกิจการปางช้างแม่สา พร้อมมอบนโยบาย แนวทางบริหารจัดการปางช้าง(คลิป)

เชียงใหม่ แม่เลี้ยงปางช้างแม่สา ตรวจเยี่ยมกิจการปางช้างแม่สา พร้อมมอบนโยบาย แนวทางบริหารจัดการปางช้าง(คลิป)

21 กุมภาพันธ์ 2023
224   0

Spread the love

“อัญชลี” ตรวจเยี่ยมกิจการปางช้างแม่สา พร้อมมอบนโยบาย แนวทางบริหารจัดการ ปี 66 “ใส่ใจในทุกมิติ”


เมื่อวันที่19 กุมภาพันธ์ 2566 นางอัญชลี กัลมาพิจิตร ผู้บริหารปางช้างแม่สา เดินทาง ตรวจเยี่ยมกิจการปางช้างแม่สา พร้อมมอบนโยบายให้กับควาญช้างรวมไปถึงพนักงาน ถึงแนวทางการพัฒนาและให้บริการแก่นักท่องเที่ยว ให้ดียิ่งขึ้นและเป็นที่น่าพึงพอใจให้แก่นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศ

นางอัญชลี กัลมาพิจิตร ผู้บริหารปางช้างแม่สา ได้ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าว ถึงการบริหารจัดการปางช้างแม่สาในปี 2566 ว่า ก่อนหน้านี้เรามีปัญหาเรื่องขอโควิด-19 มายาวนานมากเป็นเวลาเกือบ 3 ปี เลยทำให้เรามีปัญหาเรื่องนักท่องเที่ยวเพราะเราเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่จะต้องมีจำนวนนักท่องเที่ยวจำนวนมากเข้ามาใช้บริการ เราถึงจะอยู่ได้ โดยเรามีช้างเลี้ยงจำนวน 68 เชือกและพนักงานกว่า 100 คน เพราะฉะนั้นในแต่ละวัน เราต้องการให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยวในปางช้างแม่สาจำนวนหลักร้อยคน ซึ่งเราหาไม่ได้ในช่วงที่ผ่านมา โดยทางรัฐบาลก็พยายามช่วยเราอย่างเต็มที่

ในช่วงที่รัฐบาลให้มีช่วงวันหยุดยาว 4 วันแบบนี้เป็นต้น เราถึงจะมีนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาจากต่างจังหวัดเข้ามาเที่ยวที่เชียงใหม่ รวมถึงเดินทางไปเที่ยวที่ปางช้างแม่สา ซึ่งการบริหารจัดการของปางช้างแม่สาในปี 2566 เราได้เริ่มเก็บค่าบริการค่าเข้าชมช้าง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม โดยเก็บเงินนักท่องเที่ยวต่างชาติในราคา 300 บาท ต่อ 1 ท่าน ซึ่งในราคา 300 บาทนี้ จะมีตะกร้าผลไม้ให้ด้วย ซึ่งเป็นตะกร้าผลไม้ที่มีราคา 100 บาท รวมอยู่ในราคา 300 บาท ซึ่งเราออกเป็นอัตราค่าบริการในตัวนี้ออกไป ผลปรากฏว่านักท่องเที่ยวยังพึงพอใจ ในส่วนที่เขาเดินทางมาเที่ยวเป็นกลุ่มหรือว่ามารถบัสเขาก็ให้ค่าบริการที่จะเข้ามาป้อนอาหารช้างและมาถ่ายรูปกับช้าง ซึ่งทางปางช้างยังมีกิจกรรมอีกหลายกิจกรรมก็คือ Elephant Care Program โปรแกรมก็คือเรื่องช่วยกันมาดูแลช้างประมาณสัก 45 นาทีจนถึงครึ่งวันหรือเต็มวัน โดยจะมีค่าบริการที่แยกออกไปต่างหาก ก็คือการไปช่วยกันทำอาหารช้าง ปั้นอาหารช้าง ทำตะกร้าอาหารช้างด้วยตัวเอง ลงไปอาบน้ำช้าง หรือการดูแลช้างที่เป็นประโยชน์แก่ตัวช้าง ตัวนี้ก็ช่วยให้ปางช้างแม่สา มีรายได้ โดยเดือนมกราคมเราสามารถหารายได้โดยประมาณ 70% ซึ่งที่ผ่านมาเรามีรายได้ติดลบเป็น 0 หรือมีรายได้ประมาณ 30 – 40 เปอร์เซ็นต์? แต่มาเมื่อมกราคมปี 2566 เราสามารถหารายได้ได้ประมาณ 70 – 80 % ซึ่งเราพอใจมาก

พอเดือนมกราคมผ่านไป เริ่มเดือนกุมภาพันธ์ เราก็เริ่มเก็บค่าบริการกับนักท่องเที่ยวชาวไทย คนละ100 พร้อมให้ตะกร้าผลไม้ 1 ตระกร้า ก็เหมือนกับว่าไม่ได้ให้เข้าฟรีแล้ว ให้เข้าโดยการจำหน่ายตะกร้าผลไม้ตะกร้าละ 100 บาท โดยในเดือนนี้เราก็ต้องดูก่อนว่ารายได้ของเดือนกุมภาพันธ์จะเป็นอย่างไร เนื่องจากว่ามีผลกระทบของหมอกควัน ทำให้คน หรือนักท่องเที่ยวลดน้อยลงไป ซึ่งตอนนี้เราเรียกว่าอยู่ในสถานการณ์ที่เริ่มจะดีขึ้น

นางอัญชลี เผยอีกว่าในส่วนปัญหาเกี่ยวกับเรื่องของหญ้าของช้าง ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับเรื่องของภัยแล้ง ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ปลายๆมกราคม คือคนส่งหญ้าจะเริ่มหาปริมาณหญ้าได้น้อยลงจนน่าตกใจ โดยปกติเราจะต้องสั่งหญ้าวันละประมาณ 8 – 9 ตัน ถ้ามีมากเราก็สั่งมากปรากฏว่าหญ้ามีจำนวนลดลงไป ประมาณ 70 % ซึ่งสวนทางกับรายได้ที่เรามีขึ้นมา พอหญ้าหญ้าไม่พอให้ช้างกิน เราจะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาโดยใช้หญ้าแห้งในการที่จะมาแช่น้ำให้มันสดขึ้น เขียวขึ้น และเราก็ได้นักท่องเที่ยวที่มีเพิ่มขึ้น ทำให้เรามีอาหารช้างจากตะกร้าอาหารที่นักท่องเที่ยวเข้ามา และในส่วนอื่นๆ เราก็ซื้อเป็นข้าวโพด แตงกวาญี่ปุ่น กล้วย อ้อย แต่ของเหล่านี้มันไม่ดีเท่ากับการที่จะให้ช้างกินหญ้าโดยสัดส่วนในเรื่องของโภชนาการอาหารช้าง ช้างจะกินหญ้าเป็นสัดส่วนที่มากจะเป็นผลที่ดี โรคก็จะน้อยลงไปเพราะว่าหญ้าไม่มีน้ำตาลมาก ดังนั้นในตอนนี้เรากำลังแก้ไขในเรื่องสถานการณ์เร่งด่วน

ส่วนในเรื่องของคนที่ส่งหญ้าเขาก็เสนอมาว่า เขาต้องไปหาหญ้าไกลขึ้น ก็จะต้องมีค่าน้ำมันมันก็จะส่งผลกระทบในเรื่องรายรับ – รายจ่ายของปาง คือรายรับเพิ่มรายจ่ายก็จะเพิ่มขึ้นตามมาในเรื่องของการขึ้นค่าหญ้า ให้กับช้างที่ต้องนำมาใช้ในการดูแลช้าง ถึงตอนนี้เราต้องแพลนเอาไว้ว่าเราจะต้องใช้พื้นที่ในการปลูกหญ้าให้เต็มพื้นที่มากขึ้นแล้วก็หมุนเวียนในการตัดหญ้าให้บ่อยขึ้น

ด้านการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว เราก็พยายามที่จะโปรโมทของการให้บริการในด้านการท่องเที่ยวของปางช้างแม่สา ก็จะต้องอาจจะเพิ่มในการโปรโมท โดยการไลฟ์สดเพิ่มมากขึ้น ซึ่งในตอนนี้เรามีปัญหาในเรื่องของจำนวนพนักงานเราน้อย ซึ่งเรามีพนักงานจำนวนน้อยกว่าคนซึ่ง ก็เลี้ยงช้างไปแล้วจำนวน 68 เชือก ก็เหลืออีกไม่กี่คนที่จะต้องเข้ามาดูในส่วนของการเปิดปางช้างขายกาแฟขายของที่ระลึก รวมถึงเรื่องความสะอาดของปาง และก็ทำโปรแกรมนำนักท่องเที่ยวไปร่วมกิจกรรม Elephant care Program อย่างที่เราเคยบอกไว้ นักท่องเที่ยวมาซื้อโปรแกรมแล้วเราจะต้องให้พนักงานแนะนำเขาไปทำกิจกรรมในตรงนั้น เพราะฉะนั้น “ทำมากก็ไม่ไหว น้อยเกินไปเราก็อยู่ไม่ได้” ตอนนี้ก็ยังเป็นปัญหาเรายังไม่กล้ารับคนเพิ่ม เพราะเนื่องจากว่าสถานการณ์ยังไม่เสถียรเพราะฉะนั้นการจัดการปางช้างแม่สาในตอนนี้เราต้องใส่ใจเป็นพิเศษ โดยเฉพาะเรื่องอาหารช้างและรายได้รายรับรายจ่ายที่จะตามมา เราต้อง “ใส่ใจในทุกมิติ”

ในส่วนเรื่องของการเตรียมการป้องกันไฟป่าในช่วงหน้าแล้งของปางช้างแม่สา ซึ่งเราอยู่ในหมู่บ้านแม่แมะ ซึ่งหมู่บ้านหรือชุมชนแม่แมะ มีความเข้มแข็ง ในเรื่องของการป้องกันไฟป่าโดยมีชาวบ้านและมีการจัดการในการมีเวรยามในการเฝ้าระวัง ช้างของเราอาศัยกระจายอยู่ในพื้นที่ ไฟเป็นสิ่งที่เรากลัวที่สุด น้ำมายังไม่เท่ากับไฟป่ามาเพราะมันจะไวมาก และช้างเราก็อยู่ในส่วนของพื้นที่ป่า โดยเราก็ได้ทำแนวกันไฟ ในการป้องกันของไฟป่าซึ่งเราทำมาทุกปี นางอัญชลีกล่าว.