ข่าวทั่วไทย » เชียงใหม่ ชาวล้านนา ร่วมกัน ต๋ามผ๋างประตี๊ด 9,999 ดวง รอบองค์เจดีย์บูชากู่คำหลวง เนื่องในทศกาลลอยกระทง (คลิป)

เชียงใหม่ ชาวล้านนา ร่วมกัน ต๋ามผ๋างประตี๊ด 9,999 ดวง รอบองค์เจดีย์บูชากู่คำหลวง เนื่องในทศกาลลอยกระทง (คลิป)

10 พฤศจิกายน 2022
549   0

Spread the love

ชาวล้านนา ร่วมกัน ต๋ามผ๋างประตี๊ด 9,999 ดวง บูชาองค์เจดีย์กู่คำหลวง เวียงกุมกามเนื่องในประเพณีลอยกระทง

ที่วัดเจดีย์เหลี่ยม (กู่คำหลวง) เวียงกุมกาม ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ พุทธศาสนิกชนและนักท่องเที่ยว พร้อมใจกนสวมชุดพื้นเมือง ร่วมงานประเพณี จุดประทีป รอบองค์พระธาตุเจดีย์ บูชาพระธาตุกู่คำหลวง พร้อมรับชมการแสดงพลุ แสง สี เสียงนาฏกรรมล้านนาสุดอลังการ พร้อมร่วมกันจุดโคมไฟคู่รัก 100 คู่ เพื่อความเป็นสิริมงคล เนื่องในเทศกาลประเพณียี่เป็ง หรือ ลอยกระทง

โดย ศาสตราจารย์กิตติมศักดิ์ ดร.ภคมิทรา อุปโยคิน ได้ร่วมกับ อำเภอสารภี เทศบาลตำบลท่าวังตาล และหน่วยงานภาคเอกชน ได้ร่วมกันจัดงานในครั้งนี้ขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีของชาวล้านา ได้สืบสานและต่อยอดสู่คนหลัง อีกทั้งยงเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว ศาสนา และศิลปวัฒนธรรมของชาวล้านนา(ดั้งเดิม) อีกด้วย

บรรยากาศภายในงาน ได้มีการจัดกิจกรรมแขวนโคมคู่รัก 100 คู่ ทามกลางบรรยากาศที่อบอุ่นในรูปแบบวิถีของชาวล้านนา และพร้อมกันจุดผางประทีป จำนวน 9,999 ดวง เพื่อเป็นการพุทธบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า รอบองค์พระเจดีย์ กู่คำหลวง และชมการแสดงนาฏกรรมล้านนา ศิลปวัฒนธรรมดังเดิม ก่อนจะพากันไปลอยกระทงเพื่อขอขมาแก่พระแม่คงคา ในแม่น้ำปิงต่อไป

สำหรับวัดเจดีย์เหลี่ยม หรือ วัดกู่คำ ตั้งอยู่ในเขตเมืองเก่า ชื่อว่า เวียงกุมกาม ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ถูกสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1831 สมัยพญามังราย มีจุดเด่นคือเจดีย์ทรงปราสาทจำนวน 5 ชั้น 20 องค์ มีลักษณะคล้ายคลึงกับเจดีย์กู่กุดในวัดจามเทวี และ สุวรรณเจดีย์ เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมเจดีย์ในสมัยอาณาจักรหริภุญไชย ซึ่งองค์พระเจดีย์กู่คำมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม มีพระพุทธรูปยืนด้านละ 15 องค์ แต่ละด้านมีซุ้มพระชั้นละ 3 องค์ มี 5 ชั้น รวมทั้งหมด 60 องค์

เหตุที่ได้ชื่อว่ากู่คำ เพราะมีการประดับด้วยทองคำลงมาตั้งแต่ยอด แต่เนื่องจากได้รับการบูรณะครั้งใหญ่เมื่อ พ.ศ. 2451 โดยคหบดีชาวพม่า ทำให้พระพุทธรูป ซุ้มพระ ลายพรรณพฤกษา กลายเป็นรูปแบบศิลปะพม่าไป และมีการเพิ่มพระพุทธรูปนั่งอีก 4 องค์ รวมทั้งหมด 64 องค์ เพื่อให้เท่ากับอายุของรองอำมาตย์เอก หลวงโยนะการพิจิตร (หม่องปันโหย่ อุปะโยคิน) คหบดีชาวพม่า ที่ได้บูรณะในครั้งนั้น