ดูความร่วมือของชาวบ้านในตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ จัดทำซุ้มปันสุข แตกต่างจากตู้ปันสุขที่มีแต่อาหารแห้ง โดยซุ้มปันสุขเป็นซุ้มไม้ไผ่มุงหญ้าคา มีทั้งอาหารแห้ง มีการปรุงอาหารสดๆ และมีซุ้มสำหรับทำส้มตำ สามารถปรุงรสชาดด้วยตนเอง โดยชาวบ้านนำวัตถุดิบจากที่ตนมีมาช่วยกัน และจะทำแบบนี้จนกว่าวิกฤตการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 จะเริ่มคลี่คลายลง
พากันมาดูความน่ารักและความร่วมมือไม่เห็นแก่ตัวของชาวบ้านในตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ โดยยายผ่องซึ่งมีที่ดินติดกับหนองบัวพระเจ้าหลวง ใกล้กับเทศบาลตำบลเชิงดอย ซึ่งได้ปรับพื้นที่จัดทำเป็นสวนเด็กยายผ่อง ควักเงินของคนเองซื้อเครื่องเล่นหลากหลาชนิดให้กับเด็กๆ ได้เข้ามาเล่นสนุกสนานและออกกำลังกาย แต่เมื่อเกิดวิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัสโควิส-19 สวนเด็กของยายผ่องก็ต้องปิดเพื่อให้ความร่วมมือกับทางราชการ ป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัส
ล่าสุดสวนเด็กเล่นยายผ่องได้มาคึกคักอีกครั้ง เมื่อการแพรระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เริ่มที่จะเบาบางลง แต่ประชาชนที่ไม่มีงานทำ ตกงานหรือว่างงาน ก็ไม่มีเงินที่จะไปซื้ออาหารมารับประทาน ผู้ที่ใจบุญมีจิตศรัทธาก็ได้ร่วมกันทำตู้ปันสุข ตู้บริจาคสิ่งของข้าวสารอาหารแห้งต่างๆ มีประชาชนมารับเพื่อนำไปบริโภคทำกันทั่วประเทศ แต่ที่สวนเด็กเล่นยายผ่อง ไม่ได้ทำเป็นตู้ปันสุขเหมือนที่อื่น กับเป็นซุ้มไม้ไผ่มุงด้วยหญ้าคา เหมือนกับซุ้มขายอาหารพื้นเมือง มีผู้ใจบุญนำอาหารเครื่องดื่มมาให้บริจาคให้กับผู้ที่ต้องการ นอกเหนือจากนั้นบางวันก็จะมีซุ้มส้มตำ ผู้ที่ชื่อนชอบส้มตำก็สามารถมาตำไปรับประทานได้เอง ชอบรสชาดไหนก็ปรุงกันเอาเอง ส่วนแม่บ้านบางคนก็นำเส้นหมี่เหลืองมาผัดสด เรียกว่าหมี่ซั่ว ผัดปรุงว่า หมี่ซั่ว เมื่อปรุงเสร็จก็ช่วยกันจัดใส่ถุง หากใครหิวก็หยิบนำกลับไปรับประทานที่บ้านได้
สำหรับซุ้มปันสุขแห่งนี้ เป็นการรวมตัวของชาวบ้านที่มีน้ำใจในตำบลเชิงดอย มีเหลือเพียงพอก็นำมาแบ่งปันให้กับเพื่อนชาวบ้านด้วยกัน บางคนก็นำเสื้อผ้ามือสองที่ทำควาสะอาดแล้ว ก็นำมาวางให้ผู้ที่ต้องการเสื้อผ้าได้เลือกนำไปสวมใส่ อาจสวมใส่เพื่อไปทำสวนไร่นาก็ได้ ซึ่งซุ้มปันสุขแห่งนี้ชาวบ้านยืนยันว่า จะช่วยกันนำอาหาร เครื่องดื่ม และสิ่งที่สามารถหามาได้ นำมาวางในซุ้มเพื่อให้ผู้ที่ประสบปัญหาในช่วงเวลานี้ ได้มีการอิ่มท้อง เพื่อร่วมกันผ่านพ้นวิกฤตการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ไปด้วยกัน