พี่น้องชาวอำเภอแม่แจ่ม ร่วมกันปั่นฝ้าย ทอผ้าจากต้นฝ้าย นำมาตัดเย็บผ้าไตรจีวร ให้กับพระสงฆ์ วัดปันเสา เชียงใหม่ ซึ่งต้องให้เสร็จภายใน 24 ชั่วโมง ตามประเพณีโบราณ แต่เก็บฝ้าย นำมาปั่นฝ้าย ทักทอ ย้อมผ้า ตัดเย็บ แต่ต้นฝ้ายที่ทางวัด ปลูกไม่เพียงพอในการทอผ้า จึงนำฝ้ายจากญาติโยม ที่มาร่วมบุญ นำวางพาดไว้บนต้นฝ้าย ในกระถาง เป็นการจำลอง ซึ่งไม่ผิดจารีตประเพณี ของงานจุลกฐินยุคใหม่ ที่เปลี่ยนไป ซึ่งวิธีชีวิตของชาวแม่แจ่มต้องมีผ้า 4 ผืน ทั้งทักทอให้ตนเองสวมใส่จนถึงห่อร่างไปป่าช้า ผืนที่ 2 ทักทอไว้ขาย ผืนที่3 ถักทอเป็นมรดกให้ลูกหลานสืบสานและผืนที่ 4 ทักทอเป็นผ้าไตรจีวร ถวายไว้ในบวรพุทธศาสนา คือจุลกฐิน
ที่วัดปันเสา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จัดงานจุลกฐินตามประเพณีล้านนา โดยมีศรัทธาญาติโยม จากอำเภอแม่แจ่ม ที่มีความชำนาญในการทอผ้า ตั้งแต่ขั้นตอนปลูกฝ้าย ไปจนถึงการปั่นฝ้าย ให้เป็นเส้น และนำมาทอเป็นผืน และย้อมทำเป็นผ้าไตรจีวร และต้องให้เสร็จภายใน 24 ชั่วโมง แต่ด้วยการเวลา ได้มีการจำลอง ต้นฝ้ายที่ปลูกในกระถาง นำฝ้ายที่ชาวบ้านนำมาจากบ้าน นำไปวางพาดไว้บนต้นฝ้าย เหมือนว่ากำลังแก่จัด เป็นใยฝ้ายสีขาว แล้วเก็นนำมาปั่น เป็นเส้นด้าย เพื่อนำมาทอผ้า เนื่องจากต้นฝ้าย ที่ทางวัดปลูกมีไม่เพียงพอ ที่จะนำมาทำเป็นเครื่องกฐิน หรือผ้าไตรจีวร ทำให้ยุคสมัยที่เปลี่ยนไป แต่ยังคงจารีตประเพณีเดิมทุกอย่าง
พระมหาสง่า หรือ พระครูธีรสุตพจน์ เจ้าอาวาสวัดผาลาด ที่ปรึกษาเจ้าอาวาสวัดปันเสาเจริญพรว่า งานจุลกฐิน คนที่เตรียมงานก็จะเริ่มปลูกฝ้าย ก่อนเข้าพรรษา ก็จะเป็นช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม ซึ่งในวัดก็มีที่ปลูกฝ้ายและให้ศรัทธาไปเก็บฝ้ายมา และฝ้ายที่ปลูกไม่พอ จึงใช้ฝ้ายของญาติโยมที่มาทำบุญ ไปพาดไว้กับต้นฝ้ายในกระถาง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการมีส่วนร่วม เนื่องจากวิถีชีวิตที่ได้มาของฝ้าย ในอดีตทุกบ้าน จะปลูกฝ้ายกันหมด ทุกคนจะทอผ้าใช้เอง ซึ่งการปลูกฝ้าย เพื่อทอผ้าเปลี่ยนไปหมดแล้ว เนื่องจากความเจริญ มีผ้าที่ทันสมัย และวิถีที่กำลังทำ เป็นการรักษาจิตวิญญาณของผ้า ฉะนั้นการสืบสาน ของการทอผ้าจุลกฐิน ซึ่งถือว่าเป็นงานใหญ่ ที่จะต้องมีคนที่มีความรู้ ของการทอผ้า และจุลก็คือเริ่มต้น จากงานเล็กๆ ที่ทุกคนต้องมาหลอมรวมกัน ที่มีวิชาความรู้เรื่องฝ้าย การถักทอที่จะได้มา ซึ่งตัวปุยฝ้ายเส้นฝ้ายจนไปสู่การย้อม การทอไปจนถึงการตัดเย็บและการถักลวดลาย ซึ่งในวิถีชีวิตของพุทธศาสนา เป็นเรื่องของบุญกุศล ก่อนจะเกิดงานบุญกุศล เป็นการสืบต่อของเรื่องจิตวิญญาณ ทำให้เรารู้ว่า ผ้าที่งดงามที่สุดในชีวิต ของชาวแม่แจ่มจะมี 3 ผืน ก็คือ ผืนที่ 1 ทอใช้ในชีวิตประจำวัน จนถึงห่อร่างตัวเองไปถึงป่าช้า ผ้าผืนที่ 2 ต้องการขายก็ขายได้ และผ้าผืนที่ 3 ทอไว้ เพื่อเป็นมรดกตกทอดให้กับลูกหลานได้สืบทอด ซึ่งผ้าไม่ใช่เฉพาะเป็นผ้า และลายผ้าไม่ใช่แค่ลวดลายแต่มันคือจิตวิญญาณ และสติปัญญาภูมิปัญญา ความรู้ที่คนรุ่นเก่าใส่ในผ้าทุกผืนด้ายทุกเส้น เพื่อส่งต่อมรดกทรัพย์สินทางปัญญา ให้ลูกหลาน เพื่อนำไปสานต่อ จนถึงปัจจุบัน
งานจุลกฐินเป็นการสืบสาน เพื่อส่งต่อให้รุ่นต่อไป ที่คนโบราณมอบไว้ให้ ภายใต้ร่มเงาของพุทธศาสนา และนอกจากจาก 3 ผืนไปแล้ว และยังมีผืนที่ 4 คือผ้าไตรจีวร ผ้าผืนนี้ทักทอ เพื่อน้อมถวายในงานจุลกฐิน และถวายไว้ในบวรพุทธศาสนา เพื่อการสร้างบุญสร้างกุศล ให้กับชีวิตและต้องเสร็จภายใน 24 ชั่วโมง จึงทำให้ทุกคนต้องช่วยกันแบ่งหน้าที่กันทำ เป็นงานจุลกฐิน