บ้านห้วยบง อำเภอกัลยาณิวัฒนา ทำพิธีปิดหมู่บ้าน โควิดรอบ 3 ตามความเชื่อชาวปกาเกอะญอ (พิธีเกราะหยี่ (ปิดหมูบ้าน)
เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2564 ชาวบ้านห้วยบง ต.บ้านจันทร์ อ.กัลยาณิวัฒนา จ.เชียงใหม่ จำนวนกว่า 400 คน ได้ทำพิธีปิดหมู่บ้าน 3 วัน 3 คืน เพื่อไม่ให้บุคคลภายนอกเข้ามาในหมู่บ้าน เป็นการป้องกันการแพร่เชื้อของโควิด-19 ,รอบที่ 3 นี้ เป็นความเชื่อของชาวปกาเกอะญอ ที่ทำพิธีดังกล่าวเมื่อมีโรคภัยไข้เจ็บกระจายในวงกว้างมากขึ้น ซึ่งได้สืบทอดความเชื่อดังกล่าวมาสู่รุ่นลูกหลานจนถึงแจจุบัน เป็นการแก้ภัยพิบัติหรือเรียกว่า พิธีเกราะหยี่หรือปิดหมู่บ้านยามมีโรคระบาดหรือภัยวิบัติของกลุ่มชนชาติพันธุ์ปกาเก่อญอ มีมาตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษหลายร้อยปีมาแล้ว โดยอาศัยผู้เฒ่าที่ชาวบ้านเคารพและเชื่อถือมาประกอบพิธีร่วมกัน ในยามมีภัยมาหรือโรคระบาดเกิดขึ้น ผู้เฒ่าและชาวบ้านจะร่วมมือกับชุนชนในการประกอบพิธีที่ต้องเชื่อและปฎิบัติบัติผู้เฒ่าอย่างเคร่งครัด งานนี้บทบาทจึงตกเป็นของผู้เฒ่าในชุมชนที่มีองค์ความรู้ วัยวุฒิ คุณวุฒิ และคุณธรรมอยู่ในจิตใจ การประกอบพิธีนี้ใช่ว่าใครๆก็ทำได้ แต่ต้องมีเหตุอันควรจึงลงมือทำกัน
การเกราะหยี่ หรือปิดหมู่บ้าน ประกอบด้วย ผู้เฒ่ามีความรู้ทางคาถาอาคม คนในชุมชน น้ำขมิ้นส้มป่อย และอุปกรณ์ที่ต้องทำการกั้นที่มีสัญลักษณ์รูปต่างไป ผู้เฒ่าถึงว่ามีบทบาทสำคัญ รู้เรื่องราวชุมชน รู้ประวัติศาตร์ชุมชนและรู้ภูมิหลังของคนในชุมชนแต่ละคน ตลอดถึงมีคาถาอาคมในการเยียวยาคนป่วย ช่วยเหลือคนเดือดร้อนโดยไม่มีอคติและเห็นแก่อามิสสินจ้าง จึงเป็นที่พึ่งของคนในชุมชน ทุกคนจะศรัทธาและเชื่อถือ ทำให้คนในชุมชนอยู่อย่างร่มเย็น สมานสมัคคีเยี่ยงพี่น้อง
แต่บัดนี้บทบาทของคนกลุ่มนี้แทบจะหาไม่เจอ บางคนถูกกล่าวหาด้วยซ้ำไปว่าพวกอนุรักษ์นิยม คนบ้า พวกไม่ทันโลก กลุ่มคนงมงาม จึงทำให้ผู้เฒ่าปกาเก่อญอต้องอยู่ตามลำพังไร้คนเชื่อและศรัทธา เพราะคนรุ่นใหม่ให้เกียรติและศรัทธากับคนที่หยิบยื่นผลประโยชน์และอำนาจมากกว่าจริงและความถูกต้อง
ขมิ้นส้มป่อยที่คนเฒ่าปกาเกอญอเชื่อถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ธรรมชาติประทานมา ยิ่งส้มป่อยเก็บในวันเดือนห้าเป็งยิ่งศักดิ์สิทธิ์ พายุมาเผาส้มป่อย พายุสงบ การรดน้ำขอพร การขอขมากรรม ล้วนแต่ใช้ส้มป่อย ทั้งนั้น คนปัจจุบันมองข้ามธรรมชาติอย่างสิ้นเชิง ถึงต้องถูกธรรมลงโทษอย่างที่เห็น เพราะมนุษย์คิดว่าตนอยู่เหนือธรรมชาติ