เชียงใหม่ มท.4 “ธีรรัตน์” เดินช็อปม่วนใจ๋ดันโอท็อปภูมิภาคกระตุ้นเศรษฐกิจ คาดยอดขายทะลุ 20 ล้านบาท(คลิป)

นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เปิดงาน “OTOP ภูมิภาค 2568” จ.เชียงใหม่ ชวนช้อปสินค้า OTOP คุณภาพดีจากทุกภูมิภาค พร้อมลิ้มรสอาหารเหนือ และ OTOP ชวนชิมจากทั่วไทยเพื่อเป็นกำลังใจให้กับผู้ผลิตผู้ประกอบการ และส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากของประเทศให้เกิดความเข้มแข็งต่อไป


วันที่ 12 มีนาคม นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานเปิดงาน “OTOP ภูมิภาค 2568 จ.เชียงใหม่” ซึ่งจัดขึ้นที่ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา จ.เชียงใหม่ โดยมี นายสยาม ศิริมงคล อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน และ นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมเปิดงาน ท่ามกลางประชาชนจำนวนมากที่พากันเข้ามาเลือกซื้อสินค้า บรรยากาศเต็มไปด้วยความคึกคัก

ขณะที่นางสาวธีรรัตน์ยังได้เดินชมและเลือกซื้อสินค้าช่วยอุดหนุนและเป็นกำลังใจให้กับผู้ประกอบการไปหลายชิ้น
นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า การจัดงาน OTOP ภูมิภาค มุ่งสร้างช่องทางการตลาดและสร้างรายได้ให้แก่ผู้ผลิต ผู้ประกอบการสินค้า OTOP พร้อมทั้งเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สินค้าดีจากภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่ผู้บริโภค ซึ่งสินค้าที่นำมาจัดแสดงและจำหน่าย ในงาน OTOP ภูมิภาค ล้วนเป็นสินค้าดี มีคุณภาพ ที่เกิดจากการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาคิดและสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์ ซึ่งไม่เพียงมีส่วนช่วยให้เกิดการสร้างงานสร้างรายได้ในพื้นที่ แต่ยังเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศด้วย จึงขอเชิญชวนทุกท่านมาชม ชิม ช้อปสินค้าในงาน ที่มีทั้งของใช้ของตกแต่งของที่ระลึก ผ้าและเครื่องแต่งกาย อาทิ เสื้อผ้าฝ้ายใยกัญชง กระเป๋าผ้าทอลายปัก และอิ่มอร่อยกับอาหารท้องถิ่นภาคเหนือหลากเมนู เช่น ข้าวซอย ไส้อั่ว แคปหมู น้ำพริกหนุ่ม และเมนูอาหารคาวหวาน เครื่องดื่ม อีกมากมายจากทั่วไทย รวมกว่า 300 ร้านค้าภายในงาน

นายสยาม ศิริมงคล อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวว่า โครงการ OTOP ภูมิภาค เป็นโครงการหนึ่งที่ช่วยเพิ่มช่องทางการตลาดและเปิดโอกาสให้ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP จากทุกจังหวัดทั่วประเทศ นำผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาและทรัพยากรท้องถิ่น มาร่วมแสดงและจำหน่ายให้แก่ประชาชนทุกภูมิภาคได้ชม และเลือกซื้อสินค้า เพื่อเผยแพร่และเชื่อมโยงภูมิปัญญาในแต่ละถิ่น ซึ่งในปี 2568 นี้ กรมการพัฒนาชุมชน ได้ร่วมกับจังหวัดเชียงใหม่จัดงาน OTOP ภูมิภาค เป็นจุดดำเนินการที่ 4 ซึ่งงานจะมีไปจนถึงวันที่ 16 มีนาคม 2568


โดยคาดว่าจะมียอดจำหน่ายสินค้าไม่ต่ำกว่า 20 ล้านบาท เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในภูมิภาคได้เป็นอย่างดี หลังจากนี้ยังเหลือการจัดงานอีกเพียง 1 ครั้ง คือ ครั้งที่ 5 กำหนดจัดช่วงวันที่ 1 – 7 พฤษภาคม 2568 ณ ลานข้างบึงพระราม ด้านหลังวัดมหาธาตุ จ.พระนครศรีอยุธยา

ลำพูน สีสันการแข่งขันทำลาบเมือง เทศกาลหอการค้าชวนชิมธงฟ้าราคาประหยัด ในงานมีการแข่งขันจัดผักกับลาบ การแข่งขันปรุงลาบเหนือ(คลิป)

สีสันการแข่งขันทำลาบเมือง เทศกาลหอการค้าชวนชิมธงฟ้าราคาประหยัด ในงานมีการแข่งขันจัดผักกับลาบ การแข่งขันปรุงลาบเหนือ และไฮไลท์ในงานอยู่ที่การแข่งขันลาบลีลา ซึ่งผู้เข้าแข่งขันแต่ล่ะทีมโชว์ลีลาการสับลานทั้งเต้นตามจังหวะเพลง ส่วนกองเชียร์แต่ล่ะทีมสนุกสนานไปกับการเชียร์ของผู้เข้าแข่งขันลาบเนียนของแต่ล่ะทีม หันมาดูพิธีกรชายอินเนอร์มาเต็มๆแบบ นันสต็อป พอแข็งขันเสร็จดูสภาพปาดเหงื่อแทบไม่ทันแบบนี้เขาถึงเรียกว่าเต้นมันส์จนลืมเหนื่อย

นางสุกลรัตน์ จันทร์มณี หัวหน้าสำนักงานจังหวัดลำพูน ได้เป็นประธานพิธีเปิดกิจกรรมการแข่งขัน ลาบลำหล่ะปูน โดยมีนางสาวกุลฌาณัฐฏ์ วงศ์สุรดาพร หรือดีเจแหม่มยอง ประธานกรรมการแข่งขัน เป็นผู้กล่าวคำรายงาน ภายในงานเทศกาลหอการค้าชวนชิม ธงฟ้าราคาประหยัด ซึ่งได้มีการจัดขึ้นลายกิจกรรมเอกชน บ้านแม่สารป่าแดด ต.เวียงยอง อ.เมือง จ.ลำพูน ที่หอการค้าจังหวัดลำพูน ร่วมกับสำนักงานพาณิชย์จังหวัดลำพูน จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในงานเทศกาลอาหารหอการค้าชวนชิมฯ ,เผยแพร่วัฒนธรรมอาหารพื้นเมือง และตามหาสุดยอดสล่าลาบลำพูน ในกิจกรรม ลาบลำหล่ะปูน มีการแข่งขันการปรุงลาบ การแข่งขันจัดผักกับลาบหรือ เครื่องเคียงที่กินกับลาบเหนือ ซึ่งมีทีมลาบ และร้านอาหารชื่อดังในจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง รวม 21 ทีมเข้าแข่งขัน ส่วนไฮไลท์การแข่งขันอยู่ที่การแข่งขันลาบลีลา หรือลาบเนียน กติกาผู้เข้าแข่งขันต้องสับเนื้อให้ละเอียดและมีความเหนียวตามเวลาที่กำหนดไว้ นอกจากนี้ยังมีคะแนนจากลีลาการสับเนื้อลาบของผู้เข้าแข่งขันแต่ล่ะทีม

หลังจากเปิดงานแล้วท่านหัวหน้าสำนักงานจังหวัดบอกว่าท่านเป็นคนจังหวัดลำปาง ปรกติก็ชอบทานลาบเหนืออยู่แล้วจึงขอโชว์ลีลาการสับลาบเป็นการเปิดงานก่อนที่จะเริ่มการแข่งขันลาบลีลาขึ้น หลังจากนั้นกรรมการก็เริ่มการแข่งขันลาบลีลาขึ้นผู้เข้าแข่งขันต่างโชว์ลีลาควงมีดบรรเลงการสับลาบตามจังหว่ะเสียงเพลงที่ดีเจ เปิดแบบนันสต็อป ส่วนกองเชียร์แต่ล่ะทีมก็ไม่น้อยหน้าทั้งเต้นทั้งโยก ทั้งส่าย ส่งเสียงเชียร์กันอย่างสนุกสนาน งานนี้ทำเอาทั้งพิธีกรหญิง คุณแว่นแก้ว แม่ค้าส้มตำเงาเสียงคุณสุนทรี เวชานนท์ และพิธีกรชายน้องเอ็กซ์ วัวหันอินเตอร์ ต่างเต้นโยก ย้ายไปกับกองเชียร์ พอหลังจากการแข่งขันลาบลีลาเสร็จ หันมากลับมาที่น้องเอ็กซ์พิธีการชายของเราถึงกับต้องถอดแว่นตาเอาเสื้อเช็ดเหงื่อกันเลยทีเดียว แบบนี้เขาถึงเรียกว่าเต้นมันส์จนลืมเหนื่อยหลังจากนั้นจึงมีการแข่งขันการปรุงลาบและการประกวดผผักกับลาบกันต่อไป

ซึ่งหลังจากที่มีการแข่งขันทั้งลาบลีลา และการแข่งขันปรุงลาบเสร็จ นางสุกลรัตน์ จันทร์มณี หัวหน้าสำนักงานจังหวัดลำพูน ได้สาธิตการปรุงลาบคั่วหรือลาบสุกเพื่อส่งเสริมให้รับประทานอาหารถูกตามลักษณะอนามัยก่อนที่จะมีการมอบรางวัลให้กับทีมลาบที่ชนะเลิศการแข่งขันประเภทต่างๆต่อไป

สำหรับ ลาบเมือง ในอดีตจะหากินกันได้ก็ต่อเมื่อมีประเพณีสำคัญ ทำบุญใหญ่ ๆ เพราะการทำลาบของชาวเมืองเหนือในแต่ละครั้งไม่ได้หมายถึงการทำอาหารการกินเพียงอย่างเดียว แต่หมายถึงการทำกิจกรรมร่วมลงแรง ลงไม้ลงมือร่วมกันด้วย เพราะการทำลาบแต่ละครั้งนั้นมีหลายขั้นตอนที่จะได้ช่วยกัน มีความเชื่อว่า “ลาบ” อยู่ในประเพณีสำคัญนั้นก็เพราะพ้องเสียงกับคำว่า “ลาภ” ที่แปลว่าโชคลาภด้วย ส่วนประกอบของลาบเหนือหลักๆจะมีเนื้อหมู เนื้อควาย ปลา หรือเนื้อไก่เมือง ส่วนผสมของพริกลาบนั้น มีเครื่องเทศนับสิบชนิด ขึ้นอยู่กับท้องถิ่นและพื้นเพ เช่น ลูกผักชี มะแขว่น (หมากมาศ) ดีปลี ลูกจันท์ จันทร์แปดกลีบ (โป๊ยกั๊ก) เทียนข้าวเปลือก เทียนแกลบ (ยี่หร่า) มะแหลบ (เมล็ดผักชีลาว) อบเชย กระวาน เปราะหอม ยี่หร่า พริกแห้ง กระเทียม เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีพืชผักสมุนไพรหลากหลายชนิดที่ชาวบ้านมักนิยมจะมาทานกับลาบเหนือซึ่งเป็นผักที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ผักแผ่ว สะระแหน่ ผักแปม ช่วยแก้อาหารท้องอืด ชาวยให้เจริญอาหาร ผักคาวตอง (พลูคาว) ขับลมในกระเพาะ ดีปลากั้ง ช่วยแก้เบาหวาน หอมด่วนหลวง (หูเสือ) ช่วยขับลม ช่วยย่อย ช่วยเจริญอาหาร ฝักลิ้นไม้เผา (ฝักเพกา) ช่วยบำรุงรักษาสายตา เป็นต้น

เชียงใหม่ วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่ และวิทยาลัยเทคโนโลยีเมโทร สถาบันในเครือ CMT พาณิชย์ – เมโทร จัดพิธีมอบประกาศนียบัตรผู้สำเร็จการศึกษารุ่น“อภิรักษ์วัชราภรณ์”(คลิป)

วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการ

ที่อาคารมรกต วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่ ดร.กิตติพัฒน์ สุวรรณชิน รองประธานกรรมการบริหารสถาบันในเครือ CMT พาณิชย์-เมโทร เป็นประธานในพิธี มอบใบประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือ ป ว ช. และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือ ป ว ส. ให้กับนักศึกษาที่จบหลักสูตร ประจำปี 2567 จากวิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่ และวิทยาลัยเทคโนโลยีเมโทร สถาบันในเครือ CMT พาณิชย์ – เมโทร จำนวน 332 คน เป็นระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ จำนวน 142 คน และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง จำนวน 190 คน และทางสถาบัน ยังมอบรางวัลนักศึกษายอดเยี่ยม Best of the best เป็นรางวัลที่มอบให้แก่นักศึกษา ที่มีผลการเรียนดี มีความประพฤติเรียบร้อย ช่วยเหลือกิจกรรมของวิทยาลัยอย่างต่อเนื่อง และนักศึกษาที่ทำชื่อเสียงให้แก่วิทยาลัยด้วย รวมทั้งมอบใบประกาศเกียรติคุณให้กับศิษย์เก่าดีเด่น

โดยมีผู้ปกครอง มาร่วมแสดงความยินดี ด้วยความภาคภูมิใจ นำช่อดอกไม้ และมาลัยที่มีธนบัตรประดับ เพื่อเป็นรางวัลให้กับบุตรหลาน ที่สำเร็จการศึกษา ผู้ปกครองและนักศึกษาบางคน ต่างสวมกอดกัน ด้วยความตื้นตันใจ ที่ลูกจบการศึกษา และจะได้มีงานทำ เพื่อสร้างฐานะ หรือผู้ปกครองและญาติรวมเงินกัน ทำช่อเงินสดล้วนๆ นำมามอบให้นางสาว มลฤดี ไชยา หรือน้องสตางค์ ได้ทั้งมาลัยเงินสดหลายพวง และสวมมงกุฎเงิน รวมแล้วมากกว่า 5 หมื่นบาท ซึ่งน้องก็บอกดีใจมาก ที่มีครอบครัวและญาติๆ มาให้กำลังใจล้นหลาม แต่ขณะเดียวกัน ก็มี นาย ยอด แซ่ตั้ง เพื่อนของน้องนักศึกษา ที่อาจจะมาแหวกแปลกแนว กว่าคนอื่นๆ ทำมาลัยด้วยมะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ประมาณ 8 ซอง พร้อมเงินเหรียญใส่ในถุงพาสติก เย็บติดกับซองมาม่า อีก 6 บาท ใส่ไว้ในเป้ และนำมาเซอร์ไฟรส์ คล้องคอให้กับเพื่อนสาว ถึงกับเขินและอดอมยิ้ม หัวเราะไม่ได้ ทำให้วันนี้ มีแต่รอยยิ้ม และน้ำตาของความดีใจปลื้มใจ ที่น้องๆจบการศึกษา ออกไปรับใช้สังคม

เชียงใหม สหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธกส.เชียงใหม่ ประชุมใหญ่สามัญ ประจำปี 2567 ผลประกอบการดี เตรียมขยายจับคู่ธุรกิจ นำสินค้า จากต่างพื้นที่ มาแลกเปลี่ยนขาย สร้างรายได้ให้กับเกษตรกร(คลิป)

สหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธกส.เชียงใหม่ ประชุมใหญ่สามัญ ประจำปี 2567 ผลประกอบการดี เตรียมขยายจับคู่ธุรกิจ นำสินค้า จากต่างพื้นที่ มาแลกเปลี่ยนขาย สร้างรายได้ให้กับเกษตรกร ภายในงาน ยังมีการนำปุ๋ยอินทรีย์ไร้เคมี มาแจก ให้กับเกษตรกร ที่เป็นสมาชิกฟรี


ที่ ห้องประชุม 1 อาคารศูนย์สินค้าเกษตรภาคเหนือ ย่านคลองชลประทาน ตำบลช้างเผือก จังหวัดเชียงใหม่ นาย สมพร นันทะชัย ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ธกส. เชียงใหม่ เป็นการประธาน ประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2567 สิ้นสุด 31 มีนาคม 2568 มีเกษตรกรที่เป็นตัวแทนสมาชิก ทั้ง 25 อำเภอ มาร่วมประชุมกว่า 200 คน สหกรณ์ เริ่มดำเนินการ มาตั้งแต่ 9 พฤศจิกายน 2532 โดยจัดตั้งเป็นสหกรณ์การเกษตรระดับจังหวัด เพื่อช่วยเหลือ สมาชิกในด้าน การจัดหาวัสดุอุปกรณ์การเกษตร การรวบรวม ผลผลิตการเกษตร มีธุรกิจโรงสีข้าว ไว้คอยบริการ สมาชิกและบุคคลทั่วไป ครอบคลุมทั้งจังหวัดเชียงใหม่ ณ สิ้นปีบัญชี 2567 31 มีนาคม 2567 สตก.เชียงใหม่ จำกัด มีสมาชิก 111,046 คน ซึ่งมีกระจายทุกอำเภอ ในจังหวัดเชียงใหม่


ซึ่งในปีนี้ ทางสหกรณ์ฯ ได้เชิญ ด็อกเตอร์ คณิตสร หอมเย็น ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ปุ๋ยนาโนเทค ผู้ชนะสิบทิศ กรุ๊ป จำกัด มาแนะนำให้ความรู้ เกี่ยวกับเรื่องปุ๋ย ในการบำรุงพืชผล ทางการเกษตรทั้งข้าว พืชผักสวนครัว พืชผลไม้ ในกรณีดินสมบูรณ์ สามารถใช้เพียงครั้งเดียว ให้กับเกษตรกร ที่เป็นสมาชิก ให้สังเกตคุณภาพ และความสมบูรณ์ ของผลผลิตเป็นหลัก พร้อมทั้งนำปุ๋ยตรา ริส มาแจกให้กับสมาชิก ที่มาร่วมประชุม คนละ 1 กิโลกรัมฟรี เป็นปุ๋ยอินทรีย์ ไม่มีเคมีแม้แต่เม็ดเดียว เพื่อนำไปทดลองใช้ หากขายตามท้องตลาด กิโลกรัมละ 75 บาท กระสอบ 25 กิโลกรัม ราคา 875 บาท กระสอบขนาด 50 กิโลกรัมราคา 1,750 บาท และเตรียมขยายตลาดไปยังต่างอำเภอ ต้องการผู้ประกอบการ คลังปุ๋ยประจำอำเภอ เพื่อทำธุรกิจคู่กับสหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธกสเชียงใหม่ .และสหกรณ์การเกษตรทั่วประเทศ และเครือบริษัท ยังรับซื้อส่งเสริมปลูก แปรรูป เพื่อสินค้าส่งออก เป็นสินค้าออแกนิค เพื่อส่งออกเข้ายุโรป

ดร.ชรินทร์ สิมมะชาติ เลขานุการ สหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธกสเชียงใหม่ หรือ สกต. กล่าวว่าปีนี้ ผลประกอบการดี มีการค้าขายเพิ่มขึ้น มีการผลิตส้ม ลำไย ส่งสกต.ทั่วประเทศ มีการแลกเปลี่ยนการขายข้าว เอาส้มส่งบุรีรัมย์ และเอาข้าวจากบุรีรัมย์ มาขายให้กับสมาชิกราคาถูกกว่าท้องตลาด และปีนี้ มีโครงการร่วมกับบริษัทปุ๋ย นาโนเทค ผู้ชนะสิบทิศ กรุ๊ปจำกัด เพื่อให้สหกรณ์ฯเข้มแข็งขึ้น มีลูกค้าของสหกรณ์ฯ ต้องการปุ๋ยประเภทไหน มีปุ๋ยมีคุณภาพให้เลือกใช้ ให้ในเรื่องผลผลิตดี มีคุณภาพ และตอบโจทย์ของเกษตรกร

เชียงใหม่ รมช.เกษตรฯ เปิดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยี ปอยข้าวสาลีล้านนา ครั้งที่ 5 ที่ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่(คลิป)

รมช.เกษตรฯ เปิดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยี ปอยข้าวสาลีล้านนา ครั้งที่ 5 ที่ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมดันผลผลิตธัญพืชเมืองหนาวรองรับการผลิตสุราชุมชน เมื่อ พ.ร.บ.สุราชุมชน ผ่านการอนุมัติ

วันนี้ (5 มี.ค. 68) นายอัครา พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เดินทางมาเป็นประธานเปิด “งานวันถ่ายทอดเทคโนโลยี ปอยข้าวสาลีล้านนา ครั้งที่ 5“ ซึ่งกรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย ศูนย์วิจัยข้าวสะเมิง และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัดเชียงใหม่ได้ร่วมกันจัดขึ้น ที่ ศูนย์วิจัยข้าวสะเมิง อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อประชาสัมพันธ์การผลิตข้าวสาลีและธัญพืชเมืองหนาวในประเทศประเทศไทย และเป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิตและการแปรรูปผลิตภัณฑ์ต้นแบบจากธัญพืชเมืองหนาว โดยมี นายณัฏฐกิตติ์ ของทิพย์ อธิบดีกรมการข้าว พร้อมด้วย นายศิริพงษ์ นำภา นายอำเภอสะเมิง ส่วนราชการ ผู้ประกอบการ ตลอดจนประชาชนและเกษตรกรชาวอำเภอสะเมิง เข้าร่วมงาน

โดยในปีนี้ ศูนย์วิจัยข้าวสะเมิง อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ ได้เน้นไปที่การปลูกข้าวบาร์เลย์ พืชเมืองหนาวที่ก่อนหน้านี้ได้มีการนำเข้ามาจากต่างประเทศ และได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ให้มีความเหมาะกับสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศของภาคเหนือของไทย โดยผู้ร่วมงานจะได้สัมผัสกับบรรยากาศอันสวยงามของทุ่งข้าวบาร์เลย์สีทองอร่ามบนพื้นที่นับร้อยไร่ รวมถึงธัญพืชเมืองหนาวสายพันธุ์ต่างๆ ทั้งข้าวสาลี มอลต์ และข้าวโอ๊ต นอกจากนี้ภายในงานยังมีกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมาย อาทิ การจัดนิทรรศการแสดงเชื้อพันธุกรรมข้าวสาลีและธัญพืชเมืองหนาวกว่า 700 สายพันธุ์ การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตและการสาธิตการแปรรูปผลิตภัณฑ์ต้นแบบจากธัญพืชเมืองหนาวให้แก่เกษตรกรและผู้ประกอบการที่สนใจ การประกวดภาพถ่ายและการแข่งขันประกอบอาหารจากธัญพืชเมืองหนาว การสาธิตอาหารแนวใหม่สไตล์ฟิวชั่นล้านนา การเปิดกาดมั่วและตลาดนัดล้านนา เพื่อจำหน่ายสินค้าและผลผลิตทางการเกษตรในพื้นที่

นายอัครา พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีการนำเข้าธัญพืชเมืองหนาวจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะข้าวสาลีและข้าวบาร์เลย์ โดยในปีนี้กรมการข้าวและศูนย์วิจัยข้าวสะเมิงได้มีการเปิดตัวข้าวบาร์เลย์ ที่ได้มีการพัฒนาสายพันธุ์เป็นรุ่นที่ 2 จนมีความเหมาะสมกับประเทศไทย มีความแข็งแรง ทนต่อโรค และให้ผลผลิตต่อไร่ที่ดี ซึ่งในพื้นที่ภาคเหนือของไทยยังมีพื้นที่อีกมากสำหรับรองรับการส่งเสริมการปลูกพืชเมืองหนาว ดังนั้น กรมการข้าวจึงได้นำนโยบายของกระทรวงเกษตรสหกรณ์ในการขยายผลการปลูกพืชเมืองหนาวทดแทนการปลูกข้าวในช่วงฤดูหนาว ไม่ว่าจะเป็นข้าวบาร์เลย์ ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต และมอลต์ เพราะได้ราคาที่สูงกว่า และปัจจุบันกำลังเป็นที่ต้องการของตลาด ทั้งในส่วนที่เป็นเมล็ดพันธุ์และผลิตภัณฑ์แปรรูป โดยหากเกษตรกรสนใจก็สามารถมาซื้อเมล็ดพันธุ์ได้ที่กรมการข้าว หรือหากมีการรวมกลุ่มกันเป็นศูนย์ข้าวชุมชน หรือเกษตรกรแปลงใหญ่ กรมการข้าวก็จะสนับสนุนเมล็ดพันธุ์มาให้ในราคาที่ถูกลง หรือไม่มีค่าใช้จ่ายตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่

สำหรับในส่วนของตลาดรองรับ คาดว่าในอนาคตจะมีความต้องการธัญพืชเมืองหนาวเป็นจำนวนมาก เนื่องจากขณะนี้ พ.ร.บ.สุราชุมชน ได้ผ่านการพิจารณาจากสภาผู้แทนราษฎรแล้ว และกำลังอยู่ในขั้นตอนของการพิจารณาจากสมาชิกวุฒิสภา ทั้งนี้ เมื่อกฎหมาย พ.ร.บ.สุราชุมชน ได้รับการอนุมัติแล้ว กรมการข้าวจะช่วยส่งเสริมในการนำเมล็ดธัญพืชจากศูนย์ข้าวชุมชนและเกษตรกรแปลงใหญ่มาแปรรูปเป็นสุราชุมชน แถมยังมีการประกันราคาให้อีกด้วย ดังนั้นในวันนี้ต้องขอขอบคุณหน่วยงานทุกภาคส่วนที่ได้ให้ความสำคัญของการพัฒนางานวิจัยเกี่ยวกับพืชเมืองหนาว ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพการผลิตธัญพืชเมืองหนาวสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์มูลค่าสูงได้ในอนาคต

เชียงใหม่ ศอ.ปกป.ภาค 3 รายงานสถานการณ์ไฟป่าหมอกควันประจำเดือน ก.พ.68 พบจุดความร้อนกว่า 10,390 จุด(คลิป)

ศอ.ปกป.ภาค 3 รายงานสถานการณ์ไฟป่าหมอกควันประจำเดือน ก.พ.68 พบจุดความร้อนกว่า 10,390 จุดพร้อมสนับสนุนการใช้อากาศยาน.ดับไฟในพื้นที่เข้าถึงยาก


วันนี้(1 มี.ค.68) เวลา 09.00 น. พลตรีชายแดน กฤษณสุวรรณ รองผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองภาค 3 กล่าวว่าจากการติดตามสถานการณ์จุดความร้อนและค่าคุณภาพอากาศของภาคเหนือตลอดเดือนกุมภาพันธ์ พบว่า เกิดจุดความร้อนทั้งหมด 10,390 จุด เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับปี 2567 พบว่า ลดลงจำนวน 707 จุด คิดเป็นร้อยละ 6.37 โดยจุดตวามร้อนเดือนกุมภาพันธ์ 2568 พบมากในพื้นที่ จังหวัดตาก จำนวน 2,019 จุด , จังหวัดลำปาง 1,741 จุด และ จังหวัดเพชรบูรณ์ 1,055 จุด
สำหรับ

การตรวจคุณภาพอากาศ โดยเฉลี่ยตลอดทั้งเดือนที่ผ่านมา พบว่า PM 2.5 อยู่ระหว่าง 7.30 – 102.40 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และ AQI อยู่ระหว่าง 12 – 228 ภาพรวมคุณภาพอากาศอยู่ในระดับ ปานกลาง ถึง เริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพ โดยจังหวัดที่มีค่าคุณภาพอากาศสูงสุด ในระดับสีแดงและส่งผลกระทบต่อสุขภาพ มี 6 จังหวัดในเดือนนี้ คือ จังหวัดแพร่ พะเยา ลำปาง น่าน พิษณุโลก และ จังหวัดสุโขทัย ทั้งนี้ในช่วงปลายเดือนเกิดฝนตกในภาคเหนือส่งผลให้คุณภาพอากาศส่วนใหญ่อยู่ในระดับ ดี ถึง ดีมาก

สำหรับการปฏิบัติงานที่สำคัญในช่วงเดือนกุมภาพันธ์หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการวางแผนดับไฟป่าทั้งภาคพื้นดิน และปฏิบัติการบินทิ้งน้ำดับไฟป่าจากอากาศยาน จำนวน 34 เที่ยว ใช้น้ำกว่า 17,000 ลิตร โดยเฉพาะ พื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์บ้านโฮ่ง อ.ดอยเต่า จ.เชียงใหม่ ที่ทางเฮลิคอปเตอร์ KA-32 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สนับสนุนการปฏิบัติภารกิจแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควัน และฝุ่นละออง ส่วนที่จังหวัดตากได้บูรณาการทิ้งน้ำดับไฟป่า บริเวณอุทยานแห่งชาติดอยสอยมาลัย จำนวน 32 เที่ยว ปริมาณน้ำ 96,000 ลิตร และ ในพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์บ้านโฮ่ง อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน ใช้อากาศยานดับไฟจำนวน 39 เที่ยว ปริมาณน้ำ 117,000 ลิตร รวมปฏิบัติการดังกล่าว จำนวน 71 เที่ยว ปริมาณน้ำ 213,000 ลิตร

ในขณะที่เครื่องบิน BT 67 กองทัพอากาศ บินโปรยน้ำและสารควบคุมไฟป่า เพื่อสร้างแนวกันไฟ 1 เที่ยวบิน ปริมาณน้ำ 3,000 ลิตร พื้นที่เขตป่าสงวนแห่งชาติ อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน เฮลิคอปเตอร์ MI-17 ของกองทัพบก บินโปรยน้ำดับเพื่อควบคุมไฟป่า ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่หาด อ.ดอยเต่า จ.เชียงใหม่ 1 เที่ยวบิน ปริมาณน้ำ 3,500 ลิตร
ในส่วนของหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือ ขึ้นบินดัดแปรสภาพอากาศเพื่อดูซับละระบายฝุ่นละออง จำนวน 169 เที่ยวบิน ในพื้นที่ภาคเหนือ

สำหรับส่วนการปฏิบัติ ชุดรณรงค์ป้องกันแก้ไขปัญหาการบุกรุกและทำลายพื้นที่ป่าไม้ , ชุดลาดตระเวนเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละออง และ กอ.รมน. 17 จังหวัดภาคเหนือ ตลอดทั้งเดือนกุมภาพันธ์ มีจำนวนกว่า 8,164 ครั้ง

อย่างไรก็ตามจากการคาดการณ์ของศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือที่ว่าในช่วงวันที่ 3-5 มีนาคม นี้ จังหวัดที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้านอาจประสบกับปัญหาหมอกควันข้ามแดน ศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองภาค 3 จึงยกระดับการปฏิบัติงานให้มีความเข้มข้นยิ่งขึ้นโดยให้หน่วยทหารนำรถมาฉีดพ่นละอองน้ำในพื้นที่ชุมชนเมือง รวมทั้งมอบหมายให้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงแต่ละจังหวัดประสานสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตนำรถหุ่นยนต์พ่นละอองน้ำแรงดันสูงเพื่อลดการเกิดฝุ่นที่จะมีเข้ามาในช่วงเดือนมีนาคมนี้

เชียงใหม่ ภาครัฐ-เอกชน พร้อมภาคีเครือข่าย สานพลังอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และการจัดการไฟป่าฝุ่นละออง PM 2.5ตามหลักการ “PES”(คลิป)

ภาครัฐ-เอกชน พร้อมภาคีเครือข่าย สานพลังอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และการจัดการไฟป่าฝุ่นละออง PM 2.5ตามหลักการ “PES” ร่วมกิจกรรมทำแนวกันไฟจุดสูงสุด ยอดดอยสุเทพ-ปุย

วันนี้( 27 ก.พ. 68 )ที่เส้นทางศึกษาธรรมชาติยอดดอยปุย-ดอยหัวหมู อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จ.เชียงใหม่ นายอโณทัย เวทยากร กรรมการมูลนิธิรักษ์ไทย ภาคเหนือ, นางสาวพักตร์พิมล โชคดีปรีชากุล ผู้อำนวยการสำนักเผยแพร่และส่งเสริมการมีส่วนร่วมฯ, นายดิเรก เครือจินลิ ผู้ประสานงานโครงการ มูลนิธิรักษ์ไทย ภาคเหนือ, นายธงชัย นาราษฎร์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ร่วมกับเจ้าหน้าที่อุทยานฯ ผู้ใหญ่บ้านขุนช่างเคี่ยน ผู้นำชุมชน หน่วยงานภาคเอกชน สภาลมหายใจ เข้าร่วมกิจกรรมทำแนวกันไฟในครั้งนี้

กิจกรรมในครั้งนี้เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่าง สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 กับภาคีเครือข่ายเพื่อการปกป้องฟื้นฟู ความหลากหลายทางชีวภาพ และการจัดการไฟป่า ภายใต้กิจกรรม”การตอบแทนคุณระบบนิเวศ ตามหลักการ PES” ร่วมกับภารธุรกิจเอกชน โดยร่วมทำกิจกรรมทำแนวป้องกันไฟน้ำ กับชุมชุนบ้านขุนช่างเคี่ยน อช.ดอยสุเทพ-ปุย บ้านดอยปุย และร่วมส่งมอบวัสดุอุปกรณ์ เพื่อหนุนเสริมความเข้มแข็งของชุมชน ในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและจัดการไฟป้า ฝุ่นละออง PM 2.5 และนอกจากนี้ยังร่วมเปิดระบบกล้องวงจรปิดพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อเฝ้าระวังติดตามไฟป่า มอบวัสดุอุปกรณ์การทำแนวกันไฟและดับไฟป้า และมอบกองทุนเพื่ออนุรักษ์ป่า เป็นต้น

สำหรับกิจกรรม “การตอบแทนคุณระบบนิเวศ (PES)” เพื่ออนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและการจัดการไฟป่า มีหน่วยงานภาครัฐ ภาคธุรกิจ 22 องค์กร ภาคประชาสังคมภาควิชาการและผู้แทนจากชุมชน 17 แห่ง รวมกว่า 90 คน เข้าร่วมกิจกรรม โดย สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) เป็นหน่วยงานภายใต้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับ มูลนิธิรักษ์ไทย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ได้ร่วมกันจัดเวทีสัมมนา เพื่อสร้างการรับรู้และขยายเครือข่ายองค์กรการตอบแทนคุณระบบนิเวศ ซึ่งเป็นการสร้างกลไกให้ผู้ได้รับประโยชน์จากระบบนิเวศ มีส่วนร่วมในการสนับสนุน การดูแลและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน โดยการสนับสนุนชุมชนท้องถิ่น ผู้ปกป้อง ดูแล รักษาทรัพยากรธรรมชาติ เมื่อวันที่ 26 ก.พ.68 ที่ผ่านมา และในวันนี้ทางคณะฯ ได้เดินทางเข้าร่วมกิจกรรมทำแนวกันไฟ ในครั้งนี้.

เชียงใหม่ จัดเวทีสร้างการรับรู้และส่งเสริมเครือข่ายองค์กร”การตอบแทนคุณระบบนิเวศ (PES)”เพื่ออนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและการจัดการไฟป่า(คลิป)

เชียงใหม่จัดเวทีสร้างการรับรู้และส่งเสริมเครือข่ายองค์กร”การตอบแทนคุณระบบนิเวศ (PES)”เพื่ออนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและการจัดการไฟป่า มีผู้เข้าร่วมกว่า 90 คน จากชุมชน 17 แห่ง ภาคธุรกิจ 22 องค์กร และผู้เข้าร่วมจากหน่วยงานภาครัฐ ภาค ประชาสังคม ภาควิชาการ มีส่วนร่วมในการสนับสนุนชุมชนท้องถิ่นผู้ทำหน้าที่อนุรักษ์ เพื่อสร้างความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติ


วันนี้(26 กพ.68) เวลา 09.00 น. ที่โรงแรมอโมร่าท่าแพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัด.เชียงใหม่ สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจาก ฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) หรือ BEDO ร่วมกับ มูลนิธิรักษ์ไทย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย มีนายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการ จังหวัดเชียงใหม่ ประธานเปิดงานและบรรยายพิเศษ เรื่อง “สาน พลังภาคี กุญแจสำคัญในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และการจัดการไฟป่า” และบรรยายพิเศษเกี่ยวกับการสร้างความ ร่วมมือในการหนุนเสริมชุมชนท้องถิ่น ในการอนุรักษ์ความหลาก หลายทางชีวภาพตามหลักการร PES พร้อมด้วย นายสุวีร์ งานดี รองผู้ อำนวยการสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (BEDO) นาย พร้อมบุญ พานิชภักดิ์ เลขาธิการมูลนิธิรักษ์ไทย อาจารย์ไพสิฐ พาณิชย์กุล ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกฎหมาย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และบทบาทภาคธุรกิจเอกชนกับการหนุนเสริมชุมชนท้องถิ่น

 

โดย นายอโณทัย เวทยากร กรรมการผู้จัดการใหญ่ และผู้บริหารส่วน งานเทคโนโลยี บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย และเวทีเสวนาแลก เปลี่ยนประสบการณ์ และบทเรียนการทำงานด้านการอนุรักษ์ความ หลากหลากยทางชีวภาพและการจัดการไฟป่า โดยวิทยากรจาก ชุมชนท้องถิ่น นักวิชาการ ภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน ภาคประชา สังคม และสื่อมวลชน มีผู้เข้าร่วมกว่า 90 คน จากชุมชน 17 แห่ง ภาคธุรกิจ 22 องค์กร ที่อนุรักษ์ เพื่อสร้างความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติ
PES เพื่อความร่วมมือในการอนุรักษ์ป่า Payment for Ecosystem Services หรือ PES คือ การสร้างกลไกให้ผู้ได้ รับประโยชน์จากระบบนิเวศ มีส่วนร่วมในการสนับสนุนการดูแล และ ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน โดยการสนับสนุนชุมชนท้องถิ่นผู้ ปกป้อง ดูแล รักษาทรัพยากรธรรมชาติ โดยเวทีสัมมนาครั้งนี้จะเป็น พื้นที่สำหรับการแลกเปลี่ยนแนวคิด ประสบการณ์ และแนวทางความ ร่วมมือ จากหลากหลายภาคส่วนเพื่อนำไปสู่การพัฒนาแนวทางการ บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นรูปธรรมและยั่งยืนร่วมกัน

เชียงใหม่ กองพันสัตว์ต่าง กรมการสัตว์ทหารบกนำม้าลาดตระเวนรอยต่อพื้นที่อ่างเก็บน้ำห้วยตึงเฒ่าป้องกันแนวกันไฟ(คลิป)

กองพันสัตว์ต่าง กรมการสัตว์ทหารบกนำม้าลาดตระเวนรอยต่อพื้นที่อ่างเก็บน้ำห้วยตึงเฒ่าป้องกันแนวกันไฟ


วันนี้ (26 กพ.68) เวลา 09.00 น. ที่ กองพันสัตว์ต่าง กรมการสัตว์ทหารบก อ.แม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ พันโทสุขุม แพทยารักษ์ ผู้บังคับกองพันสัตว์ต่าง กรมการสัตว์ทหารบก เปิดเผยว่า กองพันสัตว์ต่าง กรมการสัตว์ทหารบก ได้นำม้ามาใช้ร่วมกับกำลังพลในการลาดตระเวนพื้นที่ภายในหน่วยและเขตรอยต่ออ่างเก็บน้ำห้วยตึงเฒ่า พร้อมการใช้อากาศยานไร้คนขับ (โดรน) เพื่อลาดตระเวนเฝ้าตรวจแนวกันไฟพื้นที่ดังกล่าว และยังได้รับภารกิจ จากมณฑลทหารบกที่ 33 ในการจัดชุดลาดตระเวนเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและฝุ่นละอองขนาดเล็ก ของศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองภาค 3 ส่วนหน้า ที่ร่วมปฏิบัติงานกับเจ้าหน้าที่อุทยานกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธ์พืชจัดชุดลาดตระเวนในพื้นที่รอยต่อของอุทยานจนถึง 31 พ.ค.2568

ขณะเดียวกันกองพันสัตว์ต่าง กรมการสัตว์ทหารบก ยังจัดกำลัง 3 ชุดปฏิบัติการร่วมกับเจ้าหน้าที่จากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติแม่ปิง และเจ้าหน้าที่ดับไฟป่าของสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 เพื่อลาดตระเวน และประชาสัมพันธ์รณรงค์ให้ประชาชนในพื้นที่ ชุมชนรอบป่างดการเผา ที่ บ้านเกาะหลวง ต.โปงทุ่ง ตลอดจนร่วมกับชาวบ้านทำแนวกันไฟ และดับไฟกับอาสาสมัครดับไฟป่า องค์การบริหารส่วนตำบลโปงทุ่ง ในพื้นที่ บ้านเกาะหลวง ต.โปงทุ่ง อ.ดอยเต่า จ.เชียงใหม่ อีกด้วย

เชียงใหม่ โครงการคนดีศรีเชียงใหม่ มอบใบประกาศเกียรติคุณ ให้กับบุคคลต้นแบบ ผู้ส่งเสริมการศึกษา บุคคลต้นแบบคนดีศรีแผ่นดินและบุคคลต้นแบบคนดีศรีเชียงใหม่(คลิป)

โครงการคนดีศรีเชียงใหม่ มอบใบประกาศเกียรติคุณ ให้กับบุคคลต้นแบบ ผู้ส่งเสริมการศึกษา บุคคลต้นแบบคนดีศรีแผ่นดิน และบุคคลต้นแบบคนดีศรีเชียงใหม่ รวมทั้งมอบทุนการศึกษา ให้กับนักเรียนที่เรียนดี แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ และนักเรียนด้อยโอกาส ในพื้นที่ห่างไกล



ที่หอประชุม มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น จังหวัดเชียงใหม่ พระเทพปริยัติ เจ้าอาวาสวัดเจ็ดยอด พระอารามหลวง จังหวัดเชียงใหม่ ที่ปรึกษา เจ้าคณะ ภาค 7 ประธาน โครงการ คนดีศรีเชียงใหม่ ให้โอวาทและให้พร พร้อมมอบใบประกาศเกียรติคุณ บุคคลต้นแบบที่เป็นแบบอย่างการทำความดีของสังคม มีภาวะผู้นำ จากหลากหลายอาชีพ แก่พระสงฆ์ และสามเณรผู้ได้รับ ใบประกาศเกียรติคุณต้นแบบคนดีศรีแผ่นดิน และคนดีศรีเชียงใหม่ ประจำปี 2568 จำนวน 9 รูป และมอบใบประกาศ แก่พระสงฆ์ ผู้ได้รับ เข็มเชิดชู เกียรติ และใบประกาศเกียรติคุณ ต้นแบบ คนดีศรีแผ่นดิน ประจำปี 2568 อีกจำนวน 2 รูป และมอบทุนการศึกษา ตามโครงการ มอบทุนการศึกษาแก่ นักเรียนเรียนดี เป็นคนดี แต่ยากจน จำนวน 18 ราย มอบใบประกาศ เกียรติคุณ แก่บุคคลต้นแบบ ผู้ส่งเสริม การศึกษา เยาวชน คนดี ศรีเชียงใหม่ จำนวน 30 ราย


จากนั้น ทาง พระวิมลมุนี ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดศรีโสดา พระอารามหลวงจังหวัดเชียงใหม่ และมีตำแหน่งรองเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ ให้โอวาท และเป็นประธานในพิธี มอบ ใบประกาศเชิดชูเกียรติ บุคคลต้นแบบ คนดีศรีแผ่นดิน และคนดีศรีเชียงใหม่ จำนวน 127 ราย เช่น นางผ่องศรี สิทธิแก้ว นาง ธนธร เหน่คำ นาง ศิรินทร สุ่มทอง นาย รณกร เลิศพงษ์ศักดา นาย วิชัย ทาเปรียว นายปรีชา ชมพะนันทน์ นางสาว ธิติลักษณ์ วรรณวงศ์ ผู้ทำคุณประโยชน์มากมายต่อสังคม เช่น เป็นจิตอาสา ช่วยเหลือการกุศล และช่วยเหลือสังคมด้านต่าง ๆ

จากนั้นมอบใบประกาศแก่บุคคล ผู้ได้รับใบประกาศเกียรติคุณต้นแบบ คนดีศรีเชียงใหม่ และเยาวชนผู้ได้รับใบประกาศเกียรติคุณต้นแบบ ลูกเสือดีศรีเชียงใหม่ จำนวน 98 องค์กร โดยมีบุคคลใกล้ชิด และที่รู้จัก รวมทั้งสถานศึกษา มาร่วมแสดงความยินดีและร่วมถ่ายภาพ