เชียงใหม่ กำนัน ชาวบ้าน ทหาร ผนึกกำลังเอกชน CMWTE ทำแนวกันไฟ ที่ป่าชุมชนบ้านทุ่งยาว ต.ป่าป้อง อ.ดอยสะเก็ด (คลิป)

กำนัน ชาวบ้าน ทหาร ผนึกกำลังเอกชน CMWTE ทำแนวกันไฟ ที่ป่าชุมชนบ้านทุ่งยาว ต.ป่าป้อง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ คืนสมดุลให้ป่าด้วยจุลินทรีย์


เมื่อวันที่ 23- 27 มีนาคม 2568 ที่ป่าชุมชนบ้านทุ่งยาว หมู่ 8 ต.ป่าป้อง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ นายสมพงค์ เจริญศิริ กำนันตำบลป่าป้อง อ.ดอยสะเก็ด พร้อม ร้อยตรี มีนา แก้ววรรณะ หัวหน้าชุดปฏิบัติการผาลาด ป.พัน 7 นำกำลังทหารจิตอาสาจำนวน กว่า 40 นาย ร่วมกับชาวบ้าน และภาคเอกชน โดย ดร.กฤษณ์ พงษ์เทพิน ผช.ผอ.ฝ่ายชุมชนสัมพันธ์ บริษัท GULF และโครงการโรงไฟฟ้าขยะฯ บริษัทเชียงใหม่เวสท์ ทู เอ็นเนอร์จี จำกัด (CMWTE) ร่วมกันทำโครงการทำแนวกันไฟ และคืนพื้นที่ป่าด้วยจุลลินทรีย์

ทั้งหมดร่วมกันนำอุปกรณ์ต่างๆ เครื่องเป่าลม ทำแนวกันไฟในผืนป่าชุมชน ระยะทาง 1.8 กิโลเมตร เริ่มตั้งแต่ด่านตรวจลงทะเบียนเข้าป่าชุมชน ยาวไปถึงเขตมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ศูนย์วนศาสตร์ ป่าไม้ที่ 1 เพื่อป้องกันการเกิดไฟป่าในช่วงฤดูแล้งและป้องกันปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนในชุมชน

โครงการ “ทำแนวกันไฟป่า และคืนสมดุลให้ป่าด้วยจุลินทรีย์” เป็นโครงการต่อเนื่อง จากเมื่อปี 2567 ทางบริษัท CMWTE นำ องค์ความรู้ด้านฐานชีวภาพ และจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพมาจัดอบรมให้กับผู้นำชุมชนและประชาชน หมู่ 8 บ้านทุ่งยาว ต.ป่าป้องแห่งนี้ เพื่อใช้ในการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าไม้ “คืนสมดุลให้ป่าด้วยจุลินทรีย์ “ และมีการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้และธนาคารจุลินทรีย์ชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ชุมชนมีองค์ความรู้ ในการเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ นำมาช่วยเสริมศักยภาพในการย่อยสลายสลายใบไม้จากการทำแนวกันไฟป่าให้มีการย่อยสลายได้ดียิ่งขึ้นลดการเป็นเชื้อเพลิงในป่า และจะสลายเป็นอินทรีย์วัตถุและธาตุอาหารสำหรับต้นไม้ในป่าจะช่วยให้ดินดีมีชีวิตและยังเสริมสร้างการกระจายเชื้อจุลินทรีย์ในป่าที่มีความเสื่อมโทรมจากไฟป่า น้ำหลาก และการตัดไม้ทำลายป่าจนเสียสมดุล

ดร.กฤษณ์ พงษ์เทพิน กล่าวว่า กิจกรรมครั้งนี้ในช่วงฤดูฝนที่จะมาถึงเราจะนำองค์ความรู้จากผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยทั้งในสากลและประเทศไทย เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเกษตรศาสตร์ เป็นต้น เกี่ยวกับเชื้อเห็ด ”ไมคอร์ไรซ่า” ซึ่งเป็นเชื้อราที่มีความสำคัญต่อระบบเครือข่ายการเชื่อมโยงการเจริญเติบโตร่วมกันของรากพืชไม้ป่า และ จุลินทรีย์ในดินชนิดต่างๆ ที่จะช่วยการเจริญเติบโต และสร้างภูมิคุ้มกันโรคพืช ยังช่วยสลายอินทรีย์วัตถุต่างๆเป็นธาตุอาหารให้กับพืชผ่านการอาศัยเกื้อกันกับระบบรากพืชคือ เชื้อราไมคอร์ไรซ่า กับ รากต้นไม้ ซึ่งอาศัยอยู่ร่วมกันตลอดอายุขัยของพืช เป็นต้นกำเนิดของเห็ดป่านานาชนิด เช่น เห็ดผาะ เห็ด ไคล ระโงก เห็ดตับเต่า เห็ดโคนปลวก ฯลฯ ซึ่งศูนย์เรียนรู้และธนาคารจุลินทรีย์ ได้ร่วมกับชุมชนวางแผนในการนำเชื้อเห็ดไมคอร์ไรซ่า กลับคืนสู่ป่าสร้างความสมดุล มีการเพาะเชื้อใส่ในกล้าไม้ปลูกเสริมในป่า และนำเชื้อเห็ดป่าไปกระจายสู่บริเวณรากต้นไม้ในป่าเพิ่มจุลินทรีย์ในผืนป่าเสื่อมโทรมและจะนำเมล็ดพันธุ์กล้าไม้ป่านำมาแช่จุลินทรีย์เพิ่มอัตราการงอกและนำมาใส่ปั้นกับก้อนดินจุลินทรีย์และเชื้อเห็ด เพื่อนำไปกระจายสู่ป่าในช่วงฤดูฝนด้วย และยังมีแผนการนำเชื้อเห็ดป่าต่างๆให้ชุมชนนำไปเพาะในป่าใกล้ชุมชนและสวนไร่นา เพื่อเป็นแหล่งอาหารประเภทเห็ดในชุมชนครอบครัวจะสามารถทดแทนการเผาป่าหาเห็ดให้ลดลง อันเป็นสาเหตุหนึ่งในการเกิดไฟป่าด้วย เป็นแนวทางในการลดปัญหาไฟป่าและลดผลกระทบจาก PM 2.5 ได้ต่อไป ซึ่งความสำคัญอยู่ที่ความรู้และการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยเฉพาะศูนย์เรียนรู้ฯจะเป็นกลไกการขับเคลื่อนที่สำคัญในการปฏิบัติการและต่อเนื่องได้ อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป รวมถึงภาคีความร่วมมือของภาคส่วนต่างๆจะเสริมพลังได้มากยิ่งขึ้น

นายพงษ์พิเชษฐ์ ไชยเวช เจ้าหน้าที่ชุมชนสัมพันธ์ บริษัท CMWTE กล่าวว่า เรามาตั้งในพื้นที่ชุมชน เราตระหนักว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน มีนโยบายชัดเจนในการร่วมกับชุมชนรักษาสิ่งแวดล้อมและพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของชุมชน ซึ่งป่าชุมชนนับเป็นแหล่งทรัพยากรทางเศรษฐกิจการอาชีพ และเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของชุมชน เราจึงได้อาสาเข้ามาร่วมสนับสนุนชุมชน รวมทั้งการประสานองค์ความรู้จากนักวิชาการ และหน่วยงานต่างๆเข้ามาเสริมสร้างศักยภาพในการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าชุมชนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นซึ่งจะสามารถพัฒนาต่อไปอย่างยั่งยืนได้ รู้สึกยินดีที่เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมชุมชนและยินดีสนับสนุนชุมชนต่อไป ครับ


นายสมพงค์ เจริญศิริ กำนันตำบลป่าป้อง กล่าวว่า ป่าชุมชนบ้านทุ่งยาว จำนวน 2,307 ไร่ ชุมชนของเรามีวิถีชีวิตอาศัยและพึ่งพาป่าชุมชนมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ป่าไม้คือชีวิตของพวกเราทุกคนช่วงที่ผ่านมามีปัญหาการทำลายป่า และเกิดความเสื่อมโทรม ฯ จึงได้รวมกลุ่มกันอนุรักษ์ฟื้นฟูป่ามาอย่างต่อเนื่องทั้งการทำแนวกันไฟป่า และการเฝ้าระวังการทำลายป่า ฯลฯ จนมีผลงานที่สามารถขึ้นทะเบียนผืนป่าแห่งนี้เป็นป่าชุมชนที่ดูแลโดยชุมชนได้ ตาม พรบ.ป่าชุมชนได้ และอยู่ระหว่างการทำโครงการคาร์บอนเครดิตรวมทั้งการทำแนวกันไฟป่าเป็นประจำทุกปี ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากหลายหน่วยงานทั้งภาคราชการ ท้องถิ่นและเอกชน ประการหนึ่งที่สำคัญในกิจกรรมครั้งนี้ และการส่งเสริมสนับสนุนจาก บริษัทเชียงใหม่ เวสท์ ทู เอ็นเนอร์จี จำกัด และหน่วยงานทางวิชาการ ที่นำองค์ความรู้ด้านฐานชีวภาพ และจุลินทรีย์ ฯลฯ เป็นมิติใหม่ที่เสริมการดำเนินงานเชิงคุณภาพต่อระบบนิเวศได้เป็นอย่างดี เพราะเดิมเรามองเชิงกายภาพและปฏิบัติการบนพื้นดินเป็นหลัก ยังไม่มีความรู้ในเชิงชีวภาพซึ่งเป็นกลไกที่สำคัญมากต่อระบบนิเวศ ทำให้เรามองมิติของการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าไม้และเข้าใจระบบนิเวศป่าไม้มากยิ่งขึ้นซึ่งมีแนวทางสู่การพัฒนาป่าชุมชนเชิงชีวนิเวศที่ยั่งยืนต่อไป ขอขอบคุณ CMWTE ทหารจิตอาสา ป.พัน 7 และหน่วยงานต่างๆที่เข้ามาร่วมสนับสนุนชุมชน ซึ่งเป็นกำลังใจและพลังที่จะขับเคลื่อนมากขึ้น

จากนั้นคณะเดินทางชมป่าที่สมบูรณ์ มีต้นยางนา ลำต้นสูงใหญ่ บางต้นขนาดใหญ่ 6 คนอบก็มี และป่าที่นี้จะมีการบวชป่าในช่วงเดือนสิงหาคมของทุกปี และที่สำคัญมีความอุดมสมบูรณ์มีอาหารจากป่า โดยเฉพาะเห็ดนานาชนิดออกฤดูฝน ส่วนฤดูแล้งนี้ผักหวานป่าที่ออกให้เก็บกินโดยไม่ต้องเผาป่า และไข่มดแดงที่ออกมาในฤดูนี้ก็มีให้ได้กินกันจำนวนมาก เปิดป่าให้ชาวบ้านลงทะเบียนและเข้าไปหาอาหารในป่าได้ด้วย.

เชียงใหม่ ผู้ใหญ่บ้านในอำเภอสารภี ใช้เวลาว่าง ช่วยครอบครัวขายก๋วยเตี๋ยว 5 บาท ลูกค้าแน่นร้านทุกวัน(คลิป)

ผู้ใหญ่บ้านในอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ใช้เวลาว่าง ช่วยครอบครัวขายก๋วยเตี๋ยว 5 บาท ลูกค้าแน่นร้านทุกวัน

ผู้สื่อข่าวพาไปที่ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน เลขที่ 32/1 หมู่ที่ 4 ตำบลยางเนิ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ เปิดร้าน “ก๋วยเตี๋ยวเฮา” ขายก๋วยเตี๋ยว 5 บาท ในบ้านตัวเอง มีลูกค้าที่ทราบข่าวต่างแวะเวียนมากินก๋วยเตี๋ยวกันเป็นจำนวนมาก

จากการสอบถามนายพงษ์กานต์ จันทร์เงิน หรือพ่อหลวงกานต์ อายุ 48 ปี ผู้ใหญ่บ้าน กล่าวว่าเริ่มต้นเปิดร้านมาตั้งแต่วันที่ 14 ก.พ.68 วันวาเลนไทน์ โดยจะขาย ในราคา ธรรมดา 5 บาท พิเศษ 20 บาท ใส่ถุงกลับบ้าน 30 ส่วนข้าวซอยมีข้าวซอยไก่กับข้าวซอยหมู ราคา 40 บาท โดยตนเองได้ใช้เวลาว่างหลังจากการปฏิบัติหน้าที่ดูแลทุกข์สุขของชาวบ้านมาช่วยครอบครัวขายก๋วยเตี๋ยว โดยเริ่มต้นราคา 5 บาท เพราะในอำเภอสารภียังไม่มีใครเปิดขาย เด็กตัวเล็กก็สามารถทานได้ปริมาณที่พอดี ส่วนลูกค้าบางคนกินคนเดียวถึง 20 ถ้วยก็มี ตอนนี้มีลูกค้าทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่ก็ต่างแวะเวียนมากินอย่างไม่ขาดสาย

ทั้งนี้ผู้ใหญ่กานต์บอกว่า โดยร้านจะปิดเฉพาะวันพุธ สำหรับการเดินทาง ใช้เส้นทางถนนสายต้นยางนาเชียงใหม่-ลำพูน มาจากในเมืองเชียงใหม่เลยที่ว่าการอำเภอสารภีมาประมาณ 1 กิโลเมตรถึงหน้าโรงเรียนวัดศรีโพธิ์ ก็เข้าซอยฝั่งตรงข้ามโรงเรียนมาจะเห็นป้ายติดในซอย ถ้ามาจากจ.ลำพูนเลี้ยวซ้ายลงซอยหน้าโรงเรียนวัดศรีโพธิ์ พอเข้ามาประมาณ 400 เมตรก็จะเจอป้ายร้าน “ก๋วยเตี๋ยวเฮา” และป้ายที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 4 ตำบลยางเนิ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่

เชียงใหม่ ชาวบ้านเชียงใหม่และแม่ฮ่องสอน ขอความช่วยเหลือ จากสภาทนายความ (คลิป)

ชาวบ้านเชียงใหม่และแม่ฮ่องสอน ขอความช่วยเหลือ จากสภาทนายความ ให้ช่วยเหลือ รายแรกขายควายได้เงิน นำไปเข้าธนาคาร 50,000 บาท สุดท้ายกลายเป็นหนี้กู้ยืมเงิน ส่วนอีกรายไม่ได้กู้เงินรับสภาพหนี้แทนสามี 30,000 บาท อ่านเขียนภาษาไทยไม่ได้ ใช้ปั้มลายมือ สุดท้ายเป็นหนี้เพิ่มเกือบ 200,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย


เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2568 หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา อบจ.เชียงใหม่ นาง จันดี จุ๊ก่อ อายุ 57 ปี ชาวบ้านในจังหวัดเชียงใหม่ เข้ายื่นหนังสือ ขอความเป็นธรรม และขอความช่วยเหลือ กับ นายวิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่เดินทางมาประชุมทนายความ ที่หอประชุมองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อให้ช่วยเหลือ ในเรื่องคดีความ หลังเป็นหนี้ธนาคารแห่งหนึ่ง โดยเจ้าตัวได้รับ สภาพหนี้ของสามี เป็นเงินจำนวน 30,000 บาท กับธนาคารแห่งหนึ่ง ตั้งแต่ปี 2552 และได้มีเจ้าหน้าที่ของธนาคาร มาขอให้กู้เงินเพิ่มแต่ตนเองไม่กู้ ทางเจ้าหน้าที่ธนาคารยังให้เซ็นเอกสารอีกครั้ง โดยอ้างว่ามีเงินช่วยเหลือจากรัฐบาล 5,000 บาท พร้อมให้เซ็นต์เอกสาร และให้ไปรับเงินที่ธนาคารในวันศุกร์

แต่เมื่อไป กลับไม่ได้รับเงินตามนัด จึงบอกว่าไม่เป็นไร และหลายปีผ่านมา ทำให้นางจันดี เป็นหนี้ธนาคาร 150,000 บาท และยังได้รับหนังสือทวงถาม ให้ชำระหนี้จากธนาคาร โดยให้ชำระเงินต้น จำนวน 150,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอีก 29,067 บาท ซึ่งเป็นจำนวนไม่ถูกต้อง และไม่เคยกู้ยืมเงินดังกล่าว แม้ธนาคารมีหลักฐาน เป็นสัญญาเงินกู้ยืมเงิน แต่เนื่องจากไม่มีความรู้ และไม่สามารถอ่าน และเขียนภาษาไทยได้ จึงได้พิมพ์ลายนิ้วมือ ที่ธนาคารจัดเตรียมไว้ โดยตนเองไม่ได้รับเงิน จำนวนดังกล่าวแต่อย่างใด ตามสัญญากู้ ทำให้ได้รับความเดือดร้อน และทุกข์ใจอย่างมาก ประกอบกับเป็นคนยากจน จึงมาขอความช่วยเหลือ ด้านกฎหมายหรือคดี ให้ได้รับความยุติธรรม

ส่วนอีกรายที่เข้าขอความช่วยเหลือคือ นาง จุรีรัตน์ บุญชูโชคชัยกุล อายุ 48 ปี ชาวบ้านจังหวัดแม่ฮ่องสอน นำหลักฐานสมุดบัญชีเงินฝาก ธนาคารแห่งหนึ่ง มาเข้าขอความเป็นธรรม โดยเจ้าตัวยืนยันว่า ขายควายได้เงินมา 50,000 บาท เดือนกันยายน ปี 2561 นำเงินไปฝากธนาคาร แต่กลับกลายเป็น การกู้ยืมเงินจากธนาคาร ทำให้กลายเป็นหนี้ โดยไม่รู้ตัว แม้ว่าก่อนหน้านี้ จะเคยกู้ยืมเงินธนาคาร มา 3 ครั้ง แต่ครั้งที่ 4 ไม่ได้กู้เงิน แต่เป็นเงินที่ได้จากการขายควาย นำไปเข้าธนาคาร แต่กลายเป็นว่าเป็นเงินกู้ ของธนาคารที่ตนเองไปกู้ และสุดท้ายจำเป็นต้อง นำเงินไปใช้หนี้ธนาคาร และยังติดใจไม่หาย เพราะไม่รู้จะไปพึ่งใครได้ สอบถามธนาคารก็อ้างว่า เอกสารได้ทำลายทิ้งไปแล้ว จึงไม่มีข้อมูล ทำให้ทุกข์และเสียใจมาก กินไม่ได้นอนไม่หลับ มานานมาก จนสุดท้ายต้องจำยอมใช้หนี้


ทางด้าน นาย วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ รับปากว่า จะดูแลและสอบข้อเท็จจริงทั้งหมดก่อน แต่ก็จะให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ซึ่งสภาทนายความถือเป็นที่พึ่งของประชาชน โดยจะไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น ทำให้ชาวบ้านยกมือไหว้ขอบคุณ และไม่มีอะไรตอบแทน ได้มอบเสื้อของชนเผ่าให้ไป เป็นการแสดงความขอบคุณ.

ลำพูน “กลุ่มลำพูนพัฒนา” เปิดบ้านแถลงข่าวเปิดตัวชิงนายกเทศมนตรีเมืองลำพูน(คลิป)

“กลุ่มลำพูนพัฒนา” เปิดบ้านแถลงข่าวเปิดตัวชิงนายกเทศมนตรีเมืองลำพูน

เมื่อเช้าวันที่ 22 มีนาคม 2568 ที่บ้านนายณรัศมิน เทพมณี (มิ้น) ว่าที่ผู้สมัครนายกเทศมนตรีเมืองลำพูน (หลังวัดพระธาตุหริภุญไชยวรมหาวิหาร) อ.เมือง จ.ลำพูน เปิดบ้านแถลงข่าวเปิดตัวชิงนายกเทศมนตรีเมืองลำพูน จากคนเดิมคือนายประภัสร์ ภู่เจริญ นายกเทศมนตรีเมืองลำพูน ที่ครองตำแหน่งนี้มานาน 30 ปี


พร้อมเปิดตัวว่าที่ผู้สมัครสมาชิกสภาเทศบาลเมืองลำพูน (สท.) ครบทั้ง 3 เขต เขตละ 6 คน เขต 1 ประกอบด้วย 1.นางปุณยวีร์ เพิ่มมี (รา) 2.นายสุริยา บุญนาคค้า (แบงค์) 3.นายพงศ์วิทย์ ไชยลังการ์ (โค้ชบอย) 4.นายเทวินทร์ พิริยพงศ์พิทักษ์ (บีท) 5.นางสุกัญญา เมธาวงศ์ (ยา) 6.นายศุภชัย เรืองศิริ (ช่างกบ)

ส่วน เขต 2 ประกอบด้วย 1.นายพนารัตน์ กันถา(อ้ายโบ) 2.พันโท.อนรรฆชฎิล ศรีบุรี (ผู้พันโหน่ง) 3.นายสำรวม ธรกิจ 4.นายจักรพงษ์ ปัญญาวงศ์ (เบสท์) 5.นายธรรมนูญ พิมสาร (โอ) 6.นายชรินทร์ นาวาวิจิต (ไก่ ออมสิน)

ส่วน เขต 3 ประกอบด้วย 1.นายอุดม แก้วมา (หนานอู๊ด) 2.นายพหล แสนสมชัย (ดร.บิ๊ก) 3.น.ส.นัฐกุล อินทะจักร์ (เอิร์น)4.นางสุทธิลักษณ์ ปินธง (ครูบุญ) 5.นายมงคล วงศ์วาร (ตั้ม) 6.นายชูพงศ์ เพชรรักษ์

นายณรัศมิน เทพมณี ว่าที่ผู้สมัครนายกเทศมนตรีเมืองลำพูน นำแถลงข่าวเปิดตัว “กลุ่มลำพูนพัฒนา” กล่าวถึง 3 พัฒนา พัฒนาคุณภาพชีวิต พัฒนาการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน พัฒนาเศรษฐกิจ 1.ตลาดเทศบาลสะอาด -ปรับปรุงระบบบริการให้สะอาดปลอดภัยและมีมาตรฐาน 2.ปรับปรุงภูมิทัศน์เมือง – พื้นที่สีเขียว น้ำสะอาด ปลากินได้ หายใจสะดวก และ 3.ถนนคนเดินใหม่ – Hariphunchai Walk Street

นายณรัศมิน ว่าที่ผู้สมัครนายกเทศมนตรีเมืองลำพูน กล่าวว่า ตนมีคุณหญิง สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ผู้ก่อตั้งและหัวหน้าพรรคไทยสร้างไทย และประธานมูลนิธิไทยพึ่งไทย เป็นที่ปรึกษามาโดยตลอด

ต่อข้อถามสื่อมวลชน ถึงแนวนโยบายการบริหารงาน นายณรัศมิน กล่าวว่า ที่ผ่านมาการทำงานพัฒนาเฉพาะกลุ่ม วันนี้ผมได้นำบุคคลหลากหลายอาชีพมาทำหน้าที่ื สท.เพื่อทำงานพัฒนาเมืองลำพูน จะทำได้หรือไม่ก็ต้องดูว่าการที่ทุกท่านสมัครใจเป็นจิตอาสามาทำงานร่วมกัน ก็ถือว่ามีจิตอาสาที่สุดแล้ว ไม่ได้เห็นแบบนี้ง่ายๆ และผมได้คัดเลือกเพชรแต่ละเม็ดมาอย่างดีที่สุดแล้ว และมั่นในทีมงานทั้ง 3 เขต“

ว่าที่ผู้สมัครนายกเทศมนตรีเมืองลำพูน กล่าวอีกว่า ถนนคนเดิน ที่มีกระแสข่าวว่า ผมจะยกเลิกถนนคนเดิมนั้น ไม่เป็นความจริง ผมมีแนวนโยบายพัฒนาถนนคนเดินใหม่ Hariphunchai Walk Street เปิดบ้านเมืองเก่าให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ จะเปิดถนนคนเดินแห่งใหม่เพิ่ม หรือพัฒนาถนนคนเดิมที่มีอยู่เดิมพร้อมเปิดบ้านเก่าโบราณเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งต้องทำประชาวิจารณ์ก่อนเท่านั้น

“ปัญหาในเขตเทศบาลเมืองลำพูน มีปัญหาสะสม คือ จะเห็นช่วงใกล้เลือกตั้งจะเห็นเมืองสะอาด ไฟสว่าง หญ้าไม่มี แต่ทั้งปีที่ผ่านมาท่านทำอะไรกันอยู่ ผมต้องการเห็นคุณภาพชีวิตที่ดีของทุกเพศทุกวัย ความเป็นอยู่ของประชาชนต้องสำคัญ ไม่ปล่อยทิ้งปล่อยขว้าง วันนี้คูเมืองลำพูนเน่าเหม็นปลาตาย สื่อมวลชนนำเสนอข่าวไปแล้วก่อนหน้านี้ ถ้าเป็นผมจะพัฒนาน้ำในคูเมืองสวยใสสะอาด ปลากินได้ ตามประเพณีของคูเมืองลำพูนทุกปีมีการจับปลามากินปีละ 1 ครั้ง จากนั้นเลี้ยงปลาไว้ทั้งปี พร้อมดูแลน้ำคูเมืองให้สวยสะอาดตลอดทั้งปี ใกล้ถึงสงกรานต์แล้วน้ำในคูเมืองลำพูนวันนี้ยังไม่สะอาดเลย”

นายณรัศมิน เทพมณี (มิ้น) ว่าที่ผู้สมัครนายกเทศมนตรีเมืองลำพูน กล่าวทิ้งท้ายว่า ขอเชิญชวนชาวเมืองลำพูนออกจากบ้านมาเลือกตั้งกันมากๆ และ สท.ทุนคนพร้อมทำงาน ขาดเพียงคะแนนเสียงเท่านั้น ส่วนการลงสมัครครั้งนี้ ตนมั่นใจเกิน 100% ซึ่งความยาวนานของผู้ทำหน้าที่นายกเทศมนตรีเมืองลำพูนคนปัจจุบัน อยู่มาตั้งแต่ พ.ศ.2538 มาถึงปัจจุบัน 30 ปีแล้ว และ สท.บางคนกว่า 20 ปีแล้ว วันนี้ผมต้องการให้ความคิดใหม่ๆ เข้ามาพัฒนาเมืองลำพูน จากคนที่เคยอยู่ข้างหลังให้มาทำงานเพื่อชาวเมืองลำพูน ขอให้ประชาชนทุกเพศทุกวัยเลือกกลุ่มพัฒนาลำพูน เลือกแนวคิดใหม่ๆที่ดีกว่า 30 ปีที่ผ่านมา“ นายณรัศมิน เทพมณี ว่าที่ผู้สมัครนายกเทศมนตรีเมืองลำพูน กล่าว.

เชียงใหม่ มูลนิธิกวนอินธรรมทาน เชียงใหม่ ได้จัดงานฉลอง 50 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูต ไทย-จีน และพิธีรับตำแหน่งคณะกรรมการสมัยที่ 27 มูลนิธิธรรมทานเชียงใหม่ (คลิป)

มูลนิธิกวนอินธรรมทาน เชียงใหม่ ได้จัดงานฉลอง 50 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูต ไทย-จีน และพิธีรับตำแหน่งคณะกรรมการสมัยที่ 27 มูลนิธิธรรมทานเชียงใหม่

วันนี้ 09.0.0 น. (21 มี.ค.68) ที่อาคารธรรมะยินดี มูลนิธิกวนอิมธรรมทาน อำเภอเมือง เชียงใหม่ มูลนิธิกวนอินธรรมทาน ได้จัดงานฉลอง 50 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูต ไทย-จีน และพิธีรับตำแหน่งคณะกรรมการสมัยที่ 27 มูลนิธิธรรมทานเชียงใหม่ โดยมี กงสุลใหญ่แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำเชียงใหม่ ท่านเฉินไห่ผิง เป็นประธานฝ่ายจีน นายอัศนี บูรณุปกรณ์ นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ เป็นประธานฝ่ายไทย นายพีรพงศ์ เชิดสถิรกุล นายกสมาคมนักธุรกิจไทยจีนเชียงใหม่ ในนามหัวหน้าผู้ประสานงานองค์กนจีนในเชียงใหม่ ทั้ง 40 องค์กร และนายสุรศักดิ์ ประสพเกียรติโภคา ประธานกรรมการ มูลนิธิกวนอิมธรรมทาน พร้อมแขกผู้มีเกีบรติมาร่วมงานจำนวนมาก

นายสุรศักดิ์ ประสพเกียรติโภคา ประธานกรรมการ มูลนิธิกวนอิมธรรมทาน กล่าวว่า มูลนิธิกวนอิมธรรมทาน จดทะเบียนถูกต้อง เป็นองค์กรศาสนา อยู่บนผืนแผ่นดินไทย มีร่มโพธิ์ของคณะสงฆ์จีนแห่งประเทศไทย ใต้พระบรมโพธิสมภารแห่งบูรพกษัตริย์ การจัดงานในวันนี้ ยึดตามหักการแผ่นดินจีน ดินแดนมาตุภูมิแห่งบรรพชน อันเป็นรากเหง้าสายเลือดของบรรพบุรุษ ชาวไทยเชื้อสายจีน อย่างปฏิเสธไม่ได้เลย “ กำรธำรงไว้ซึ่งสถาบันหลักของชาติ ” 3 แถบสี แดงขาว น้ำเงิน บนธงชาติไทย คือ สถาบัน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ในพุทธชาดก มีบันทึกว่า มีชาติจึงมีศาสนา สัญลักษณ์ วงล้อธรรมจักรหมุดไม่มีสิ้นสุด จงดลบนดาลให้มิตรภาพของสองประเทศีความชอบธรรมและยั่งยืนสถาพรตลอดกาล


เชียงใหม่ นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ ตรวจคุณภาพน้ำคูเมือง พร้อมต้อนรับ”ปี๋ใหม่เมืองเจียงใหม่”(คลิป)

นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ ตรวจคุณภาพน้ำคูเมือง พร้อมต้อนรับ “ปี๋ใหม่เมืองเจียงใหม่”

วันนี้(21 มีค.68 ) 09.00 น. นายอัศนี บูรณุปกรณ์ นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ ลงพื้นที่ตรวจคุณภาพน้ำคูเมือง หน้าโรงเรียนเทศบาลดอกเงิน เตรียมพร้อมรับเทศกาลสงกรานต์ 2568 ซึ่งจากการตรวจวัดคุณภาพน้ำในคูเมือง อยู่ในเกณฑ์สะอาดสามารถใช้เล่นน้ำในช่วงเทศกาลสงกรานต์โดยน้ำในคูเมืองได้รับการผันน้ำจากเขื่อนแม่งัด และในรอบวันที่ 1 เมษายนนี้ ทางชลประทานได้ผันน้ำดิบเข้าสู่คูเมืองอีกรอบหนึ่งก็จะทำให้น้ำสะอาดขึ้น

นายอัศนี บูรณุปกรณ์ นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ กล่าวอีกว่า จากการตรวจสอบคุณภาพน้ำคูเมืองในวันนี้ คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ที่ดีสะอาด แต่เนื่องจากเป็นน้ำดิบไม่สามารถนำไปใช้ดื่มและรับประทานได้ ซึ่งทางเทศบาลเตรียมจัดงานประเวณีปี๋ใหม่เมืองเชียงใหม่ อย่างยิ่งใหญ่ เพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยว

ส่วนในวันที่ 23 มีนาคมนี้ ทางเทศบาลนครเชียงใหม่จะได้จัดแถลงข่าวป๋าเวณีปีใหม่เมืองเชียงใหม่ ประจำปี 2568 เริ่มลงทะเบียนเวลา 17.00 น. ณ บริเวณลานหน้าหอพื้นถิ่นล้านนา (ตรงข้ามพระบรมราชานุเสาวรีย์สามกษัตริย์).

ลำพูน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการท่องเที่ยว สถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แถลงข่าวเปิดตัวแอปพลิเคชัน “Visit Lamphun”และร่วมเรียนรู้/รู้จักลำพูนผ่านประสบการณ์ “รู้จักลำพูนใน 4 ชั่วโมง”(คลิป)

ศูนย์วิจัยและพัฒนาการท่องเที่ยว สถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ “แถลงข่าวเปิดตัวแอปพลิเคชัน Visit Lamphun และร่วมเรียนรู้/รู้จักลำพูนผ่านประสบการณ์ ‘รู้จักลำพูนใน 4 ชั่วโมง’” เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดลำพูน พร้อมชวนทุกคนไปทำความรู้จักกับเมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมเสน่ห์และเรื่องราวน่าสนใจให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นและเข้าถึงง่ายกว่าที่เคย

(20 มี.ค.68) ที่สวนสาธารณะม่วนใจ๋ (กู่ช้าง) ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน จัดการแถลงข่าวเปิดตัวแอปพลิเคชัน Visit Lamphun อย่างเป็นทางการ โดยได้รับเกียรติจาก นายประภัสร์ ภู่เจริญ นายกเทศมนตรี เทศบาลเมืองลำพูน, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จุฑาทิพย์ เฉลิมผล ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ดร.กรวรรณ สังขกร นักวิจัย ชำนาญการพิเศษ สถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หัวหน้าโครงการการยกระดับและสนับสนุนองค์ความรู้เมืองต้นแบบเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดด้วยแนวคิดเมืองเศรษฐกิจ สีเขียว เมืองเศรษฐกิจใหม่จากฐานมรดกทางประวัติศาสตร์และเมืองแห่งสุขภาวะ, ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ นักวิจัย ชำนาญการพิเศษ สถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หัวหน้าโครงการยกระดับเศรษฐกิจชุมชนและการพัฒนานิเวศเมืองน่าอยู่สำหรับทุกช่วงวัยด้วยโมเดลเทศกาลบนฐานวัฒนธรรมเมืองเก่าลำพูน และอาจารย์ ดร.เทพฤทธิ์ สินธำรงรักษ์ อาจารย์ประจำวิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หัวหน้าทีมผู้พัฒนาแอปพลิเคชันส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดลำพูน ร่วมแถลงข่าว

 

เป็นการบอกกล่าวถึงความตั้งใจในการพัฒนาแอปพลิเคชัน Visit Lamphun เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดลำพูน บนแนวคิด “Brown City” หรือ “เมืองเศรษฐกิจใหม่จากฐานมรดกทางประวัติศาสตร์” ที่ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์มรดกทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม กอปรกับนำเทคโนโลยีและกิจกรรมใหม่ๆ มาใช้เป็นเครื่องมือในการฟื้นฟูเมือง ควบคู่เสริมศักยภาพทางเศรษฐกิจและยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนให้ดีขึ้น จากนี้ทางโครงการจะทำการส่งมอบแอปพลิเคชัน Visit Lamphun ให้แก่เทศบาลเมืองลำพูนได้นำไปใช้งานจริง โดยเชื่อมั่นว่า สิ่งนี้จะเป็นเครื่องมือส่งเสริมการท่องเที่ยวและช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน ผ่านสีสันความสนุกใหม่ในการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาเป็นพลังดึงดูดให้นักท่องเที่ยวอยากออกเดินทางไปสัมผัสประสบการณ์ท้องถิ่น เรียนรู้ และทำรู้จักลำพูนในมิติที่แตกต่างและสร้างสรรค์ยิ่งกว่าเดิม

สำหรับโครงการการยกระดับและสนับสนุนองค์ความรู้เมืองต้นแบบเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดด้วยแนวคิดเมืองเศรษฐกิจ สีเขียว เมืองเศรษฐกิจใหม่จากฐานมรดกทางประวัติศาสตร์และเมืองแห่งสุขภาวะ พร้อมด้วยโครงการยกระดับเศรษฐกิจชุมชนและการพัฒนานิเวศเมืองน่าอยู่สำหรับทุกช่วงวัยด้วยโมเดลเทศกาลบนฐานวัฒนธรรมเมืองเก่าลำพูน ภายใต้แผนงาน “พัฒนาเมืองน่าอยู่ที่เชื่อมโยงกับการพัฒนาชุมชน/ท้องถิ่น” ซึ่งสนับสนุนทุนการวิจัยจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับเทศบาลเมืองลำพูน เปิดตัวแอปพลิเคชัน Visit Lamphun และร่วมเรียนรู้/รู้จักลำพูนผ่านประสบการณ์ ‘รู้จักลำพูนใน 4 ชั่วโมง’ โดยภายในงานมีกิจกรรมทดสอบการใช้งานแอปพลิเคชัน สำรวจแลนด์มาร์คการท่องเที่ยวสำคัญและหลากจุดเช็คอินที่ไม่ควรพลาด เปิดประสบการณ์ใหม่ ๆ ในการทำความรู้จักลำพูน ระหว่างเส้นทางนั่งรถรางชมเมืองอย่างสร้างสรรค์

https://cmu.to/lamphun

 

 

 

เชียงใหม่ “พด”.ชูเมืองพร้าวโมเดลแก้ปัญหาชะล้างพังทลายของดิน วางเป้าลดการชะล้างพังทลายของดินทั่วประเทศปีละ 1 ล้านไร่(คลิป)

“พด.” ชูเมืองพร้าวพื้นที่ต้นแบบแก้ปัญหา “ชะล้างพังทลายของดิน” ด้วย “ระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ” พร้อมหนุนเป็นโมเดลต้นแบบการในแก้ปัญหาขยายผลไปยังพื้นที่เสี่ยงทั่วประเทศ วางเป้าลดการชะล้างพังทลายของดิน เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำในภาคการเกษตรทั่วประเทศ 1 ล้านไร่ต่อปี


(16 มี.ค.68) ดร.อาทิตย์ ศุขเกษม รองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 6 ร่วมกับสำนักวิศวกรรมเพื่อการพัฒนาที่ดินและสถานีพัฒนาที่ดินเชียงใหม่ ลงพื้นที่ ต.เขื่อนผาก อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ ติดตามความคืบหน้าโครงการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ
โดยพื้นที่ตำบลเขื่อนผาก อำเภอพร้าว เป็นพื้นที่ต้นแบบที่ประสบความสำเร็จในแก้ปัญหาชะล้างพังทลายของดินด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำและพัฒนาฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยการบริหารจัดการน้ำ เกิดประโยชน์แก่พื้นที่ชลประทานรวมทั้งสิ้น 435,700 ไร่ และ ลดปัญหาการขาดแคลนน้ำด้านการเกษตรและอุปโภคบริโภคในพื้นที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่กวงฯ ที่เพิ่มสูงขึ้น จึงได้กำหนดพื้นที่เป้าหมายในการจัดทำแผนแม่บทในลุ่มน้ำแม่งัดฝั่งตะวันตก อันเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่รับน้ำฝนของอ่างเก็บน้ำแม่งัดในเขตอำเภอพร้าว มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบและใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ดร.อาทิตย์ ศุขเกษม รองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน กล่าวว่า กรมพัฒนาที่ดิน มีนโยบายเร่งขับเคลื่อนโครงการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรม

ด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำในภูมิภาคต่าง ๆ เพื่อลดปัญหาชะล้างพังทลายของดินและอนุรักษ์ดินและน้ำและปรับโครงสร้างพื้นฐานของดินในแต่พื้นที่ให้เหมาะสมกับการเพาะปลูกพืช ตลอดจนช่วยรักษาระบบนิเวศดินให้เกิดการใช้ที่ดินได้อย่างยั่งยืน รวมทั้งยังช่วยพัฒนาฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบและใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดอีกด้วย เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ที่มีการสูญเสียดินเกินกว่าระดับที่ยอมรับได้ (มากกว่า 2 ตันต่อไร่ต่อปี) ร้อยละ 24.38 ของพื้นที่ประเทศ และมีระดับการชะล้างรุนแรงถึงรุนแรงมากที่สุด ร้อยละ 10.02 ของเนื้อที่ประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่กระจายอยู่ในพื้นที่ลาดชันสูงจาก สถานการณ์ดังกล่าวหากไม่เร่งแก้ไขจะส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรมของประเทศในอนาคตได้


กรมพัฒนาที่ดินมีภารกิจสำคัญเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาทรัพยากรดินด้วยการพัฒนาที่ดินและอนุรักษ์ดินและน้ำ โดยเร่งรัดแผนงานให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) ที่ได้กำหนดเป้าหมายลดการชะล้างพังทลายของดินทั่วประเทศ ไม่น้อยกว่า 20 ล้านไร่ภายใน 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) หรือประมาณ 1 ล้านไร่ต่อปี ซึ่งปัจจุบันหลายพื้นที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก เกษตรกรสามารถใช้ประโยชน์ที่ดินได้คุ้มค่ามากขึ้น ลดการสูญเสียหน้าดินที่เป็นประโยชน์ต่อการผลิตภาคการเกษตร และเก็บรักษาความชุ่มชื้นให้กับดินได้เป็นอย่างดี อีกทั้งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำในภาคการเกษตร ซึ่งทั้งหมดนี้ส่งผลให้เกษตรกรสามารถใช้ประโยชน์ที่ดินได้อย่างเหมาะสมตรงตามศักยภาพของพื้นที่ และยังช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร และเพิ่มรายได้ในครัวเรือนให้กับเกษตรกรอีกด้วย จากผลสำเร็จของโครงการนี้ จะนำไปเป็นโมเดลต้นแบบการแก้ปัญหาการ ชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่เกษตรกรรมทั่วประเทศในอนาคต


ด้านนายนายนิลภัทร คงพ่วง ผู้อำนวยการสถานีพัฒนาที่ดินเชียงใหม่ กล่าวว่า การดำเนินการแบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 ส่วน คือ พื้นที่ต้นน้ำ ปรับพื้นที่ทำขั้นบันไดดินแบบต่อเนื่อง เพื่อปลูกพืช // พื้นที่กลางน้ำ จัดทำทำบ่อดักตะกอนดิน ทางลำเลียงและขุดลอกลำห้วย และ พื้นที่ปลายน้ำ ปรับรูปแปลงนา ให้เป็นผืนใหญ่และราบเรียบ รวมถึงระบบส่งน้ำด้วยโซล่าเซลล์ ปรับเปลี่ยนรูปแบบการปลูกพืชจากพืชไร่เป็นไม้ผล พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการปรับปรุงบำรุงดินด้วยปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ ทำให้เกิดการพัฒนาที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน


ปัจจุบันอำเภอพร้าว ประมาณร้อยละ 98 ประกอบอาชีพทางการเกษตร มีพื้นที่ทั้งหมด 798,308 ไร่ ทำการเกษตร 157,856 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 17.77 พืชเศรษฐกิจหลักสำคัญของอำเภอพร้าว ได้แก่ ข้าว มะม่วง และ ลำไย การขับเคลื่อนโครงการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำของกรมพัฒนาที่ดิน สร้างประโยชน์ให้กับกับประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งเป็นพื้นที่ต้นแบบแหล่งเรียนรู้การป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศต่อไป

เชียงใหม่ มท.4 “ธีรรัตน์” เดินช็อปม่วนใจ๋ดันโอท็อปภูมิภาคกระตุ้นเศรษฐกิจ คาดยอดขายทะลุ 20 ล้านบาท(คลิป)

นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เปิดงาน “OTOP ภูมิภาค 2568” จ.เชียงใหม่ ชวนช้อปสินค้า OTOP คุณภาพดีจากทุกภูมิภาค พร้อมลิ้มรสอาหารเหนือ และ OTOP ชวนชิมจากทั่วไทยเพื่อเป็นกำลังใจให้กับผู้ผลิตผู้ประกอบการ และส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากของประเทศให้เกิดความเข้มแข็งต่อไป


วันที่ 12 มีนาคม นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานเปิดงาน “OTOP ภูมิภาค 2568 จ.เชียงใหม่” ซึ่งจัดขึ้นที่ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา จ.เชียงใหม่ โดยมี นายสยาม ศิริมงคล อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน และ นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมเปิดงาน ท่ามกลางประชาชนจำนวนมากที่พากันเข้ามาเลือกซื้อสินค้า บรรยากาศเต็มไปด้วยความคึกคัก

ขณะที่นางสาวธีรรัตน์ยังได้เดินชมและเลือกซื้อสินค้าช่วยอุดหนุนและเป็นกำลังใจให้กับผู้ประกอบการไปหลายชิ้น
นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า การจัดงาน OTOP ภูมิภาค มุ่งสร้างช่องทางการตลาดและสร้างรายได้ให้แก่ผู้ผลิต ผู้ประกอบการสินค้า OTOP พร้อมทั้งเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สินค้าดีจากภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่ผู้บริโภค ซึ่งสินค้าที่นำมาจัดแสดงและจำหน่าย ในงาน OTOP ภูมิภาค ล้วนเป็นสินค้าดี มีคุณภาพ ที่เกิดจากการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาคิดและสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์ ซึ่งไม่เพียงมีส่วนช่วยให้เกิดการสร้างงานสร้างรายได้ในพื้นที่ แต่ยังเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศด้วย จึงขอเชิญชวนทุกท่านมาชม ชิม ช้อปสินค้าในงาน ที่มีทั้งของใช้ของตกแต่งของที่ระลึก ผ้าและเครื่องแต่งกาย อาทิ เสื้อผ้าฝ้ายใยกัญชง กระเป๋าผ้าทอลายปัก และอิ่มอร่อยกับอาหารท้องถิ่นภาคเหนือหลากเมนู เช่น ข้าวซอย ไส้อั่ว แคปหมู น้ำพริกหนุ่ม และเมนูอาหารคาวหวาน เครื่องดื่ม อีกมากมายจากทั่วไทย รวมกว่า 300 ร้านค้าภายในงาน

นายสยาม ศิริมงคล อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวว่า โครงการ OTOP ภูมิภาค เป็นโครงการหนึ่งที่ช่วยเพิ่มช่องทางการตลาดและเปิดโอกาสให้ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP จากทุกจังหวัดทั่วประเทศ นำผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาและทรัพยากรท้องถิ่น มาร่วมแสดงและจำหน่ายให้แก่ประชาชนทุกภูมิภาคได้ชม และเลือกซื้อสินค้า เพื่อเผยแพร่และเชื่อมโยงภูมิปัญญาในแต่ละถิ่น ซึ่งในปี 2568 นี้ กรมการพัฒนาชุมชน ได้ร่วมกับจังหวัดเชียงใหม่จัดงาน OTOP ภูมิภาค เป็นจุดดำเนินการที่ 4 ซึ่งงานจะมีไปจนถึงวันที่ 16 มีนาคม 2568


โดยคาดว่าจะมียอดจำหน่ายสินค้าไม่ต่ำกว่า 20 ล้านบาท เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในภูมิภาคได้เป็นอย่างดี หลังจากนี้ยังเหลือการจัดงานอีกเพียง 1 ครั้ง คือ ครั้งที่ 5 กำหนดจัดช่วงวันที่ 1 – 7 พฤษภาคม 2568 ณ ลานข้างบึงพระราม ด้านหลังวัดมหาธาตุ จ.พระนครศรีอยุธยา

ลำพูน สีสันการแข่งขันทำลาบเมือง เทศกาลหอการค้าชวนชิมธงฟ้าราคาประหยัด ในงานมีการแข่งขันจัดผักกับลาบ การแข่งขันปรุงลาบเหนือ(คลิป)

สีสันการแข่งขันทำลาบเมือง เทศกาลหอการค้าชวนชิมธงฟ้าราคาประหยัด ในงานมีการแข่งขันจัดผักกับลาบ การแข่งขันปรุงลาบเหนือ และไฮไลท์ในงานอยู่ที่การแข่งขันลาบลีลา ซึ่งผู้เข้าแข่งขันแต่ล่ะทีมโชว์ลีลาการสับลานทั้งเต้นตามจังหวะเพลง ส่วนกองเชียร์แต่ล่ะทีมสนุกสนานไปกับการเชียร์ของผู้เข้าแข่งขันลาบเนียนของแต่ล่ะทีม หันมาดูพิธีกรชายอินเนอร์มาเต็มๆแบบ นันสต็อป พอแข็งขันเสร็จดูสภาพปาดเหงื่อแทบไม่ทันแบบนี้เขาถึงเรียกว่าเต้นมันส์จนลืมเหนื่อย

นางสุกลรัตน์ จันทร์มณี หัวหน้าสำนักงานจังหวัดลำพูน ได้เป็นประธานพิธีเปิดกิจกรรมการแข่งขัน ลาบลำหล่ะปูน โดยมีนางสาวกุลฌาณัฐฏ์ วงศ์สุรดาพร หรือดีเจแหม่มยอง ประธานกรรมการแข่งขัน เป็นผู้กล่าวคำรายงาน ภายในงานเทศกาลหอการค้าชวนชิม ธงฟ้าราคาประหยัด ซึ่งได้มีการจัดขึ้นลายกิจกรรมเอกชน บ้านแม่สารป่าแดด ต.เวียงยอง อ.เมือง จ.ลำพูน ที่หอการค้าจังหวัดลำพูน ร่วมกับสำนักงานพาณิชย์จังหวัดลำพูน จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในงานเทศกาลอาหารหอการค้าชวนชิมฯ ,เผยแพร่วัฒนธรรมอาหารพื้นเมือง และตามหาสุดยอดสล่าลาบลำพูน ในกิจกรรม ลาบลำหล่ะปูน มีการแข่งขันการปรุงลาบ การแข่งขันจัดผักกับลาบหรือ เครื่องเคียงที่กินกับลาบเหนือ ซึ่งมีทีมลาบ และร้านอาหารชื่อดังในจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง รวม 21 ทีมเข้าแข่งขัน ส่วนไฮไลท์การแข่งขันอยู่ที่การแข่งขันลาบลีลา หรือลาบเนียน กติกาผู้เข้าแข่งขันต้องสับเนื้อให้ละเอียดและมีความเหนียวตามเวลาที่กำหนดไว้ นอกจากนี้ยังมีคะแนนจากลีลาการสับเนื้อลาบของผู้เข้าแข่งขันแต่ล่ะทีม

หลังจากเปิดงานแล้วท่านหัวหน้าสำนักงานจังหวัดบอกว่าท่านเป็นคนจังหวัดลำปาง ปรกติก็ชอบทานลาบเหนืออยู่แล้วจึงขอโชว์ลีลาการสับลาบเป็นการเปิดงานก่อนที่จะเริ่มการแข่งขันลาบลีลาขึ้น หลังจากนั้นกรรมการก็เริ่มการแข่งขันลาบลีลาขึ้นผู้เข้าแข่งขันต่างโชว์ลีลาควงมีดบรรเลงการสับลาบตามจังหว่ะเสียงเพลงที่ดีเจ เปิดแบบนันสต็อป ส่วนกองเชียร์แต่ล่ะทีมก็ไม่น้อยหน้าทั้งเต้นทั้งโยก ทั้งส่าย ส่งเสียงเชียร์กันอย่างสนุกสนาน งานนี้ทำเอาทั้งพิธีกรหญิง คุณแว่นแก้ว แม่ค้าส้มตำเงาเสียงคุณสุนทรี เวชานนท์ และพิธีกรชายน้องเอ็กซ์ วัวหันอินเตอร์ ต่างเต้นโยก ย้ายไปกับกองเชียร์ พอหลังจากการแข่งขันลาบลีลาเสร็จ หันมากลับมาที่น้องเอ็กซ์พิธีการชายของเราถึงกับต้องถอดแว่นตาเอาเสื้อเช็ดเหงื่อกันเลยทีเดียว แบบนี้เขาถึงเรียกว่าเต้นมันส์จนลืมเหนื่อยหลังจากนั้นจึงมีการแข่งขันการปรุงลาบและการประกวดผผักกับลาบกันต่อไป

ซึ่งหลังจากที่มีการแข่งขันทั้งลาบลีลา และการแข่งขันปรุงลาบเสร็จ นางสุกลรัตน์ จันทร์มณี หัวหน้าสำนักงานจังหวัดลำพูน ได้สาธิตการปรุงลาบคั่วหรือลาบสุกเพื่อส่งเสริมให้รับประทานอาหารถูกตามลักษณะอนามัยก่อนที่จะมีการมอบรางวัลให้กับทีมลาบที่ชนะเลิศการแข่งขันประเภทต่างๆต่อไป

สำหรับ ลาบเมือง ในอดีตจะหากินกันได้ก็ต่อเมื่อมีประเพณีสำคัญ ทำบุญใหญ่ ๆ เพราะการทำลาบของชาวเมืองเหนือในแต่ละครั้งไม่ได้หมายถึงการทำอาหารการกินเพียงอย่างเดียว แต่หมายถึงการทำกิจกรรมร่วมลงแรง ลงไม้ลงมือร่วมกันด้วย เพราะการทำลาบแต่ละครั้งนั้นมีหลายขั้นตอนที่จะได้ช่วยกัน มีความเชื่อว่า “ลาบ” อยู่ในประเพณีสำคัญนั้นก็เพราะพ้องเสียงกับคำว่า “ลาภ” ที่แปลว่าโชคลาภด้วย ส่วนประกอบของลาบเหนือหลักๆจะมีเนื้อหมู เนื้อควาย ปลา หรือเนื้อไก่เมือง ส่วนผสมของพริกลาบนั้น มีเครื่องเทศนับสิบชนิด ขึ้นอยู่กับท้องถิ่นและพื้นเพ เช่น ลูกผักชี มะแขว่น (หมากมาศ) ดีปลี ลูกจันท์ จันทร์แปดกลีบ (โป๊ยกั๊ก) เทียนข้าวเปลือก เทียนแกลบ (ยี่หร่า) มะแหลบ (เมล็ดผักชีลาว) อบเชย กระวาน เปราะหอม ยี่หร่า พริกแห้ง กระเทียม เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีพืชผักสมุนไพรหลากหลายชนิดที่ชาวบ้านมักนิยมจะมาทานกับลาบเหนือซึ่งเป็นผักที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ผักแผ่ว สะระแหน่ ผักแปม ช่วยแก้อาหารท้องอืด ชาวยให้เจริญอาหาร ผักคาวตอง (พลูคาว) ขับลมในกระเพาะ ดีปลากั้ง ช่วยแก้เบาหวาน หอมด่วนหลวง (หูเสือ) ช่วยขับลม ช่วยย่อย ช่วยเจริญอาหาร ฝักลิ้นไม้เผา (ฝักเพกา) ช่วยบำรุงรักษาสายตา เป็นต้น