เชียงใหม่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ Kick Off ขับเคลื่อนนโยบายสำคัญของรัฐบาล มาตรการรับมือสถานการณ์ ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง ปี 2568 (คลิป)

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ Kick Off ขับเคลื่อนนโยบายสำคัญของรัฐบาล มาตรการรับมือสถานการณ์ ไฟป่า หมอกควันและฝุ่นละออง ปี 2568 กรมส่งเสริมการเกษตร รัฐบาลได้ตระหนักปัญหาฝุ่นละออง โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมเร่งผลักดันขับเคลื่อนการดำเนินงานของ ทุกหน่วยงานให้เห็นผลเป็นรูปธรรม ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตรได้นำแนวทางดังกล่าว มาผนวกรวมกับแนวทางการดำเนินงาน ของกรมส่งเสริมการเกษตรกำหนดเป็นมาตรการเพื่อขับเคลื่อนในภาคเกษตร

เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2567 ที่ห้องประชุมทองกวาว (ชั้น2) สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดงานสัมมนาโครงการขับเคลื่อนแนวทางการบริหารจัดการมลพิษทางอากาศตามมาตรการ Pm2.5 ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ภาคการเกษตร ปี 2568 ของกรมส่งเสริมการเกษตร โดยมีนายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวรายงาน โดยมี นายชัชวาลย์ ปัญญา รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ และผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 1 ถึง 6 เกษตรจังหวัด เกษตรอำเภอและเกษตรตำบลใน 17 จังหวัดภาคเหนือ รวมทั้งสิ้น 286 คนเข้าร่วมในการสัมนาในครั้งนี้

ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า รัฐบาลต้องการให้ทุกหน่วยงาน ร่วมมือกันขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) อย่างจริงจัง ซึ่งกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ มีภารกิจที่สำคัญอย่างมากในการขับเคลื่อนนโยบายนี้โดยภาคการเกษตร เพื่อให้พี่น้องเกษตรกร สถาบัน เกษตรกร มีคุณภาพชีวิตที่ดี อยู่ดี มีสุข มีอากาศที่สะอาดหายใจ นอกจากนี้ยังต้องทำการส่งเสริมการทำการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทดแทนการเผาในพื้นที่เกษตรกรรม เป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการจัดการ ทรัพยากรทางการเกษตร เพื่อรองรับนโยบาย/มาตรการการค้าด้านสิ่งแวดล้อมโลก เช่น EUDR, CBAM และ Carbon Credit รวมถึงการสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรในการลดการเผาในพื้นที่เกษตร เช่น ส่งเสริมการใช้เครื่องจักรกลการเกษตร โดยบูรณาการ ทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ยังมีมาตรการต่างๆ ที่ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในสังกัดกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ดำเนินการ เช่น การเตรียมความพร้อม การประชาสัมพันธ์เชิงรุกนำไปปฏิบัติในพื้นที้

ทั้งนี้ กรมส่งเสริมการเกษตรได้ใช้ ข้อมูลจุดความร้อน (hotspot) จากGISTDA ในการติดตามตรวจสอบสถานการณ์การเผาในพื้นที่เกษตร ของประเทศไทย จากดาวเทียม TERRA และ AQUA ระบบ MODIS ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 31 พฤษภาคม 2567 พบจุดความร้อน (Hotspot) พื้นที่เกษตรในประเทศไทย จำนวน 3,255 จุด จากเดิมปี 2566 ในช่วงเวลาเดียวกัน จำนวน 3,647 จุด พบว่าลดลง จำนวน 392 จุด คิดเป็นร้อยละ 10.75 สำหรับผลการดำเนินงานบริหารจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ปี 2567 รายพืช 5 ชนิด ประกอบด้วย ข้าว ข้าวโพดเลี ้ยงสัตว์ อ้อย มันสำปะหลัง และไม้ผล ไม้ยืนต้น ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – เมษายน 2567 มีปริมาณเศษวัสดุเหลือใช้ ทางการเกษตรทั้งหมดประมาณ 48.6 ล้านตัน นำไปใช้แล้วประมาณ 33.54 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 69 เป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า
3.2 พันล้านบาท

นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่าสำหรับปี 2568 คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้รับทราบมาตรการและเห็นชอบแนวทางในการขับเคลื่อนมาตรการรับมือสถานการณ์ ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง ปี 2568 ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตรได้รับนโยบายและวางกรอบแนวทางการขับเคลื่อนมาตรการฯ และเน้นย้ำให้ทุกหน่วยงานขับเคลื่อนนโยบายสำคัญนี่ร่วมกัน โดยเฉพาะการขึ้นทะเบียนเกษตรกร เพื่อให้ครอบคลุมทุกเป้าหมาย เนื่องจากปัจจุบันการขึ้นทะเบียนเกษตรกร ยังเป็นภาคสมัครใจของเกษตร และประชาสัมพันธ์ข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในทุกเวที เช่น การประชุมกำนันผู้ใหญ่บ้านในระดับท้องถิ่นของทุกพื้นที่ด้วย
สำหรับแนวทางการขับเคลื่อนมาตรการรับมือสถานการณ์ ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง ปี 2568 ของกรมส่งเสริมการเกษตร ดังนี้
1. จัดทำฐานข้อมูลพื้นที่ที่ทำการเพาะปลูกรายชนิดของพืชเกษตร ที่เสี่ยงต่อการเผาโดยเฉพาะ ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อย โรงงาน เพื่อนำไปสู่การวางแผนในการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรที่เสี่ยงการเผาไหม้
2. จัดทำประกาศขึ้นทะเบียนรายชื่อเกษตรกรและจำนวนพื้นที่ที่มีความจำเป็นต้องใช้ไฟ เช่น พื้นที่เกษตรกรรม ที่อยู่ในพื้นที่สูง พื้นที่ที่ต้องการกำจัดศัตรูพืช ในช่วง ตั้งแต่ 15 พฤศจิกายน 2567 – 15 พฤษภาคม 2568 ผ่านระบบ Application เดือนพฤศจิกายน 2567 FireD หรือ Burn Check พร้อมกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขเพื่อควบคุมกำกับดูแลการเผา เช่น ต้องมีการย่อยแปลง
ดำเนินการในช่วงกลางวันที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี การไม่เผาข้ามคืน ให้จัดทำแนวกันไฟโดยรอบและควบคุมไม่ให้ไฟลุกลาม เป็นต้น
3. ร่วมขับเคลื่อนมาตรการกำหนดสิทธิ์และประโยชน์เพื่อสร้างแรงจูงใจแก่เกษตรกรที่ผลิตสินค้าเกษตรแบบไม่เผา หรือที่ได้ มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี โดยการผลิตพืชแบบเผา และสร้างช่องทางการจัดจำหน่ายให้ได้ราคาที่สูงกว่าสินค้าทั่วไป เริ่มจากข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ได้รับการรับรองกระบวนการผลิตแบบไม่เผาเพื่อลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 (PM 2.5 Free Plus) และเพิ่มสิทธิ์พิเศษต่อเอกชนที่รับซื้อสินค้าเกษตรแบบไม่เผา


4. จัดทำแผนการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแนวทาง 3R โมเดล ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่มีความสอดคล้อง กับบริบทของพื้นที่โดยเน้นหนักในพื้นที่การเกษตรที่เสี่ยงต่อการเผาไหม้หรือที่มีสถิติการเผาไหม้ซ้ำซาก โดยใช้ข้อมูลเทคโนโลยี ภาพถ่ายดาวเทียม จุดความร้อน ร่องรอยการเผาไหม้ มาใช้เป็นฐานในการขับเคลื่อนงาน
5. จัดทำฐานข้อมูลการประเมินวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร โดยใช้ฐานจากข้อมูลเดิมหรือฐานข้อมูลทะเบียนเกษตรกร แยกรายเดือนเน้นในช่วงเดือนมกราคม – พฤษภาคม 2568 ใน 3 พืชสำคัญ คือ ข้าว อ้อย ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
6. วิเคราะห์การบริหารจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร อุปสงค์ อุปทาน และศักยภาพ ในการบริหารจัดการตลาด ห่วงโซ่อุปทาน ข้อมูลพื้นที่เสี่ยงที่ไม่สามารถบริหารจัดการเศษวัสดุฯ ได้ พร้อมทั้งประสานขอความร่วมมือการขับเคลื่อนงานกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา
7. ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ผลการดำเนินงานและสรุปผลจากพื้นที่ที่สำเร็จในการบริหารจัดการในทุกเวทีที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะการประชุมในระดับหมู่บ้าน
8. ร่วมมือกับภาคเอกชนในการสนับสนุน มีส่วนร่วมในการจัดการปัญหาการเผาอย่างยั่งยืน เช่น การจัดการฟางข้าวและตอซัง และการเก็บเกี่ยวผลผลิต การตัดต้นอ้อยหรืออัดใบอ้อย ส่งโรงงานไฟฟ้าชีวมวลซึ่งจะช่วยลดการเผา การนำเศษวัสดุทางการเกษตร มาแปรรูปเป็นเชื้อเพลิง ในโรงงานอุตสาหกรรมและในโรงไฟฟ้า
9. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดชุดปฏิบัติการลงพื้นที่ สร้างความเข้าใจในระดับหมู่บ้าน โดยใช้ข้อมูลเทคโนโลยีภาพถ่าย ดาวเทียม จุดความร้อน ร่องรอยการเผาไหม้ปีที่ผ่านมา หรือจากการประเมินพื้นที่เสี่ยงที่ไม่สามารถบริหารจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ ทางการเกษตรได้ โดยแบ่งการดำเนินงานให้สอดคล้องตามช่วงเวลาเก็บเกี่ยวผลผลิต

“กรมส่งเสริมการเกษตรยังคงมุ่งสร้างจิตสำนึก ให้เกษตรกรตระหนักถึงข้อดีและข้อเสียของการเผาในพื้นที่เกษตร การทำ เกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา และภาคประชาชน สร้างแรงจูงใจ ให้เกษตรกรเพื่อเป็นเครือข่ายในการร่วมขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่การเกษตร และการนำเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรไปใช้ประโยชน์ทดแทนการเผาให้เกิดความยั ่ งยืน และพร้อมเป็นเพื่อนคู่คิด และมิตรแท้ของเกษตรกร ในทุกสถานการณ์ ที่เกิดประโยชน์สาธารณะ ที่มิได้คำนึงเพียงกาลปัจจุบัน” อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าว

ลำพูน “มูลนิธิรักษ์ไทย” ร่วมกับ “องค์การแคร์นานาชาติ” ประเทศสหรัฐอเมริกา ภายใต้การสนับสนุนจาก “มูลนิธิเป๊ปซี่โค” ถอดความสำเร็จ 3 ปี การดำเนินโครงการ “SHE FEEDS THE WORLD”(คลิป)

“มูลนิธิรักษ์ไทย” ร่วมกับ “องค์การแคร์นานาชาติ” ประเทศสหรัฐอเมริกา ภายใต้การสนับสนุนจาก “มูลนิธิเป๊ปซี่โค” ถอดความสำเร็จ 3 ปี การดำเนินโครงการ “SHE FEEDS THE WORLD” มุ่งส่งเสริมเครือข่ายพลังสตรีในชุมชนพร้อมสร้างเกษตรยั่งยืน

 
(ลำพูน) บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด หรือ “เป๊ปซี่โค ประเทศไทย”  ผู้ผลิต “เลย์” มันฝรั่งทอดกรอบซึ่งเป็นที่นิยมของเมืองไทย ในฐานะบริษัทอาหารและเครื่องดื่มแบรนด์ชั้นนำของโลก ได้ส่งเสริมการทำการเกษตรอย่างยั่งยืนมาอย่างต่อเนื่อง และให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรมาโดยตลอด โดยครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจาก “มูลนิธิเป๊ปซี่โค” และทำงานร่วมกับพันธมิตรหลัก “องค์การแคร์นานาชาติ” เพื่อต่อสู้กับความยากจนระดับโลก มาตั้งแต่ปี 2019 เพื่อสนับสนุนความต้องการด้านโภชนาการของประชากรโลกที่เพิ่มขึ้น และแก้ไขปัญหาความไม่เท่าเทียมทางเพศในภาคการเกษตร โครงการ “She Feeds The World ประเทศไทย” ทำงานร่วมกับมูลนิธิรักษ์ไทย เพื่อพัฒนากลุ่มเกษตรกรหญิงและครอบครัว พร้อมส่งเสริมความเท่าเทียมและสร้างความแข็งแกร่งให้กับเครือข่ายเกษตรกรในท้องถิ่น นอกจากนี้โครงการยังสนับสนุนกลุ่มเกษตรกรรุ่นใหม่ ที่มีอายุระหว่าง 17 – 45 ปี ในการพัฒนาระบบเกษตรกรรมแบบยั่งยืน โดยทำงานร่วมกับชุมชนใน 5 จังหวัด ภาคเหนือตอนบน ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน น่าน และพะเยา เพื่อให้เข้าถึงโภชนาการที่ดี มีน้ำสะอาดใช้อย่างเพียงพอเพื่อทำการเกษตรและอุปโภคบริโภค รวมถึงการสร้างความมั่นคงด้านอาหาร การเข้าถึงตลาดใหม่ๆ ความเสมอภาคทางเพศ และรายได้จากภาคการเกษตรอย่างยั่งยืน


ตลอดระยะเวลา 3 ปี ของการดำเนินโครงการตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2565-2567 โครงการ “She Feeds The World” ได้มุ่งเน้นส่งเสริมการสร้างระบบการเกษตรและการตลาดเพื่อเกษตรกรรายย่อย ซึ่งจากความสำเร็จของโครงการ ทางมูลนิธิรักษ์ไทย และ เป๊ปซี่โค ประเทศไทย ต้องการสร้างการรับรู้และนำเสนอความสำเร็จของโมเดลในการพัฒนาเกษตรกรในชุมชน ให้เป็นที่ประจักษ์ต่อสังคมและต่อยอดไปยังชุมชนอื่นของประเทศไทยให้มากยิ่งขึ้น จึงได้นำสื่อมวลชนเข้าร่วมกิจกรรม Media Educational Trip ณ ตำบลลี้ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เพื่อเปิดโอกาสในการพูดคุยและรับทราบถึงบทบาทของโครงการในการสนับสนุนเกษตรกรและชุมชนในพื้นที่ นอกจากนี้ยังได้พาสื่อมวลชนเยี่ยมชม แปลงเกษตรตัวอย่าง (Demo Farm) ซึ่งเป็นพื้นที่ต้นแบบการจัดการแปลง ระบบน้ำ และพืชหมุนเวียน เยี่ยมชมอ้อมเดือนฟาร์ม เพื่อศึกษานวัตกรรมการเกษตร เช่น การเลี้ยงไส้เดือน การทำปุ๋ยมูลไส้เดือน การเผาถ่านไบโอชาร์ พร้อมรับฟังการนำเสนอความสำเร็จจากแกนนำชุมชนหรือเทรนเนอร์ในการพัฒนาแปลงเกษตร ผลลัพธ์ที่ได้ การขยายผลในชุมชน และการวางแผนในอนาคตเพื่อต่อยอดความสำเร็จของโครงการ

 
มร.ฮาทิม คานน์ ผู้อำนวยการอาวุโส มูลนิธิเป๊ปซี่โค กล่าวว่า She Feeds The World นับเป็นหนึ่งในโครงการที่มีความสำคัญภายใต้เจตนารมณ์ในการส่งเสริมเกษตรยั่งยืนความรู้เชิงลึกกับเกษตรกรในพื้นที่ ทั้งการเพาะปลูก การปรับปรุงดิน การใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการส่งเสริมผลผลิตทั้งในแง่ของปริมาณและคุณภาพ โดยปลายทางของเป้าหมายคือการสร้างความมั่นคงทางอาหารสำหรับอนาคตให้กับประชากรโลกและสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรอย่างยั่งยืน ซึ่งตลอดระยะเวลา 3 ปี ของการดำเนินโครงการประสบความสำเร็จตามที่ได้ตั้งความเป้าหมายไว้ แต่ที่สำคัญไปยิ่งกว่านั้นคือการได้เห็นเกษตรกรได้พัฒนาความรู้และเปลี่ยนวิถีการเกษตรสู่การเกษตรยั่งยืน นอกจากนี้มูลนิธิเป๊ปซี่โคตั้งความหวังให้โครงการ “She Feeds The World” เป็นโมเดลการเกษตรยั่งยืนที่เปิดกว้างให้กับชุมชนอื่นๆ ของประเทศไทยได้เข้ามาเรียนรู้ รวมถึงร่วมแบ่งปันประสบการณ์การทำการเกษตรแต่ละพื้นที่ และไม่เพียงส่งเสริมเกษตรยั่งยืนเท่านั้น โครงการนี้ยังมุ่งมั่นส่งเสริมความเท่าเทียมและสนับสนุนพลังสตรีในภาคการเกษตรอีกด้วย

 
สำหรับโครงการ “She Feeds The World ประเทศไทย” ทำงานโดยประสานเครือข่ายเกษตรกรและกลุ่มสตรีที่แข็งแกร่งเพื่อพัฒนาแนวทางปฏิบัติด้านการเกษตรที่ยั่งยืนและการเกษตรแบบยืดหยุ่นต่อสภาพภูมิอากาศ โดยในช่วงฤดูฝนหรือเกิดเหตุอุทกภัย เครือข่ายได้ทำงานร่วมกันโดยการสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง รวมถึงสามารถหารือเกี่ยวกับวิธีช่วยเหลือผู้ประสบภัยและประสานงานความช่วยเหลือฉุกเฉินจากหน่วยงานท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนร่วมวางแผนเพื่อบรรเทาผลกระทบหลังจากน้ำลด และฟื้นฟูคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

 
เป๊ปซี่โค ประเทศไทย ให้ความสำคัญกับการพัฒนาแนวทางเกษตรยั่งยืนและการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก โครงการนี้สนับสนุน PepsiCo Positive (pep+) เพื่อขับเคลื่อนความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกต่อผู้คนตลอดทั้งห่วงโซ่การผลิตและห่วงโซ่ธุรกิจ เนื่องจากเล็งเห็นถึงความจำเป็นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกร ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตรของประเทศ โดยวางแผนร่วมกับมูลนิธิเป๊ปซี่โคในการขยายความร่วมไปสู่มูลนิธิ องค์กร และหน่วยงานต่าง ๆ ในการยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรไทยอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีความพร้อมและเป็นกำลังสำคัญในการสร้างสรรค์การเติบโตควบคู่ไปกับเป๊ปซี่โค ประเทศไทย ทั้งมูลค่าทางธุรกิจและคุณค่าสังคม

เชียงใหม่ เริ่มต้นอย่างยิ่งใหญ่สำหรับงาน “มหาลอยกระทง มิวสิค เฟสติวัล 2567” ตั้งแต่วันที่ 13-15 พฤศจิกายน 2567 (คลิป)

เริ่มแล้วสำหรับงาน “มหาลอยกระทง มิวสิค เฟสติวัล 2567” ตั้งแต่วันที่ 13-15 พฤศจิกายน 2567 มหกรรมการผสมผสานวัฒนธรรมล้านนาครั้งยิ่งใหญ่นี้ เป็นหนึ่งในกิจกรรมไฮไลท์ภายใต้โครงการ “CHIANG MAI FESTIVAL CITY” ด้วยความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและเอกชน ภายใต้แคมเปญ “THAILAND WINTER FESTIVAL” โดยมีเป้าหมายในการส่งเสริมการท่องเที่ยว กระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่น และสืบสานวัฒนธรรมล้านนาอันทรงคุณค่าสู่เทศกาลระดับโลก พร้อมมอบประสบการณ์ความบันเทิงแบบผสมผสานทั่วเชียงใหม่ งานจัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-17 พฤศจิกายน 2567 เชียงใหม่

นายกิตติพงษ์ ประพัฒน์ทอง รองผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยด้านดิจิทัล วิจัย และพัฒนา กล่าวว่า “งานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการกระตุ้นการท่องเที่ยวภาคเหนือเพื่อต้อนรับช่วงไฮซีซันที่กำลังเริ่มต้นขึ้น โดยได้รับแรงหนุนจากโครงการ ‘แอ่วเหนือคนละครึ่ง’ ซึ่งเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนรับสิทธิ์ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดีจากนักท่องเที่ยวชาวไทย โดยปัจจุบันมียอดผู้ลงทะเบียนรับสิทธิ์แล้วกว่า 6,458 ราย ปีนี้คาดว่าจะดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติให้หลั่งไหลเข้ามาสัมผัสประสบการณ์อันน่าประทับใจในงานนี้ ตลอดระยะเวลา 5 วันของแคมเปญ “THAILAND WINTER FESTIVAL” ซึ่งรวมถึงงานมหาลอยกระทง มิวสิค เฟสติวัล 2567 คาดว่าจะสร้างเม็ดเงินสะพัดในพื้นที่กว่า 2,000 ล้านบาท ทั้งนี้ ในช่วงเทศกาลลอยกระทงปีนี้ จังหวัดเชียงใหม่มีอัตราการจองที่พักล่วงหน้าสูงถึงร้อยละ 85 ซึ่งสะท้อนถึงความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวที่มีต่อจังหวัดเชียงใหม่”

ด้านนายศิวะ ธมิกานนท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า “ในนามของจังหวัดเชียงใหม่ รู้สึกเป็นเกียรติและยินดีอย่างยิ่งที่ได้ต้อนรับทุกท่านในงานมหาลอยกระทง มิวสิค เฟสติวัล งานที่ช่วยเติมเต็มและสร้างสีสันให้เทศกาลยี่เป็งเชียงใหม่ ซึ่งเป็นเทศกาลประจำเมืองที่สะท้อนอัตลักษณ์วัฒนธรรมล้านนาได้เป็นอย่างดี นอกจากเป็นเทศกาลระดับนานาชาติที่ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นอย่างยั่งยืนแล้ว ยังสอดคล้องกับนโยบาย 12 เดือน 12 เทศกาลของจังหวัด และตอบสนองนโยบาย IGNITE Tourism Thailand ในการกระตุ้นเศรษฐกิจช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2567”

“ผมขอขอบคุณการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยที่เลือกเชียงใหม่เป็นพื้นที่จัดกิจกรรม วันนี้เชียงใหม่พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวทุกท่านหลังผ่านพ้นเหตุอุทกภัยเมื่อเดือนกันยายน-ตุลาคมที่ผ่านมา จากสถิติล่าสุดพบว่า มีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสำคัญ ซึ่งงานลอยกระทงเป็นหนึ่งในไฮไลท์ที่ได้รับความสนใจอย่างมาก ผมเชื่อมั่นว่า การจัดงานครั้งนี้จะสร้างกระแสและดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติเพิ่มขึ้น พร้อมส่งมอบประสบการณ์ที่มีคุณค่าจนเกิดการบอกต่อให้กลับมาเที่ยวเชียงใหม่อีกในอนาคต” นายศิวะ กล่าวเพิ่มเติม

เทศกาลลอยกระทงปีนี้จัดยิ่งใหญ่เป็นพิเศษ กับงาน “มหาลอยกระทง มิวสิค เฟสติวัล 2567” ที่รวมพลังความร่วมมือจากหน่วยงานทุก ๆ หน่วยงานได้มีส่วนในการร่วมสร้างสรรค์งานครั้งนี้ ภายใต้แนวคิด “BLEND IN THAI FESTIVAL – EXCHANGE THAI CULTURE” นำเสนอดนตรี อาหาร และศิลปวัฒนธรรมไทยสู่ระดับสากล ด้วยรูปแบบงานเทศกาลดนตรี ที่นำศิลปินระดับประเทศ อาทิ KT กระแต, ป๊อป ปองกูล, SERIOUS BACON และ DJ BOOBY มามอบความบันเทิงควบคู่กับการแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองล้านนา ไม่ว่าจะเป็นการแสดงดนตรีพื้นเมืองเชียงใหม่ ที่สะท้อนวิถีชีวิตและประเพณี ความเชื่อของชาวเชียงใหม่ และนาฏศิลป์เชียงใหม่ที่สะท้อนวัฒนธรรมและประเพณีของชาวล้านนา ซึ่งแฝงไปด้วยความงดงามทางศิลปะที่ทรงคุณค่า

งานนี้มีไฮไลท์สำคัญประกอบด้วยกิจกรรมเชิงวัฒนธรรมที่ไม่ควรพลาด เช่น การลอยกระทงรักษ์โลกด้วยกระทงดิจิทัล และผู้ร่วมงานยังสามารถนำกระทงมาลอยที่บึงหนองเขียวได้ตั้งแต่เวลา 16.00 น. เป็นต้นไป นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมทำโคมล้านนาเสริมดวง, ร้อยกำไลตามสีมงคล และปิดไพ่ดูดวง โดยซุ้มกิจกรรม DIY เหล่านี้ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวอย่างล้นหลามในทุกค่ำคืน

ในส่วนของโซนอาหารท้องถิ่นที่รวบรวมร้านดังของเชียงใหม่มาให้ลิ้มลองในที่เดียว อาทิ ข้าวซอยลุงประกิจ กาดก้อม ข้าวซอยสูตรต้นตำหรับจากเชียงใหม่ ร้านมันเผา เชียงใหม่ ร้าน ต.เนื้อย่าง เป็นต้น ผู้สนใจสามารถร่วมสืบสานวัฒนธรรมล้านนาและสัมผัสประสบการณ์พิเศษนี้ได้ที่งานมหาลอยกระทง ระหว่างวันที่ 13-15 พฤศจิกายน 2567 สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เพจ MAHA LOY KRATHONG MUSIC FESTIVAL

เชียงใหม่ เทศบาลตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด พร้อมจัดงาน “เทศกาลโคมล้านนา ปู่จาผางประทีป” กับตรีมงาน “ลอยกระทงแห่งสายรุ้ง” แสดงออกถึงความเสมอภาคทางเพศ เพื่อชาว “LGBTQ” (คลิป)

เทศบาลตำบลเชิงดอย ลองไฟ “เทศกาลโคมล้านนา ปู่จาผางประทีป” กับตรีมงาน “ลอยกระทงแห่งสายรุ้ง” แสดงออกถึงความเสมอภาคทางเพศ เพื่อชาว “LGBTQ” ปล่อยโคม วันละ 5 พัน 2 วันติด รองรับนักท่องเที่ยวกระตุ้นเศรษฐกิจ จัดวันที่ 15-18 พ.ย.67

เมื่อค่ำคืนวันที่ 14 พ.ย.2567 ที่เทศบาลตำบลเชิงดอย อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ บริเวณหนองบัวพระเจ้าหลวง หนองน้ำหน้า สนง.ทต.เชิงดอย บรรยากาศลองไฟวันแรกของงานลอยกระทง “เทศกาลโคมล้านนา ปู่จาผางประทีป” มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติเดินทางมาเที่ยวชมงานกันจำนวนมาก

นางจิราภา ชินสรนันท์ ปลัดเทศบาลตำบลเชิงดอย เปิดเผยว่า ตรีมงานปีนี้ ลอยกระทงแห่งสายรุ้ง จัดแสง สี เสียง ซุ้มถ่ายรูปตกแต่งด้วยสีแห่งสายรุ้งทั่วพื้นที่ในงาน เพื่อเปิดกว้างกลุ่ม “LGBTQ” สร้างการยอมรับทุกเพศ ของกลุ่มคนหลากหลายทางเพศ เสมอภาคทางเพศ จัดงานยิ่งใหญ่ ในวันที่ 15-18 พ.ย.67 นี้

ที่จัดงานให้นักท่องเที่ยวปล่อยโคมลอยได้รวม 1 หมื่นลูก ปล่อยได้วันละ 5 พันลูก จำนวน 2 วันติดกัน ค่ำคืนวันที่ 15-16 พ.ย. ช่วงเวลา ตั้งแต่ 1 ทุ่มถึงเที่ยงคืน (หรือเวลา 19.00-24.00 น. )

ผู้สื่อข่าวรายงาน ขอแจ้งเตือน เรื่องการปล่อยโคมลอย ทาง ทต.เชิงดอย ขอให้นักท่องเที่ยวมาซื้อโคมลอยในที่จัดงานเท่านั้น ห้ามนำโคมลอยเข้ามาเอง เพราะ ทต.เชิงดอย ต้องควบคุมปริมาณการปล่อนโคมตามที่ได้ของอนุญาตไว้

ทางด้านนายมงคล ชัยวุฒิ นายกเทศมนตรีตำบลเชิงดอย ได้มอบหมายให้ นายอภิพงค์ คงสัมพันธ์ และนายศรัณย์วิทย์ ดาราศรี ทั้งสองท่านเป็นรองนายกเทศมนตรีตำบลเชิงดอย ร่วมกันแจ้งกับสื่อมวลชน อีกว่า ทต.เชิงดอย ขอเชิญชวนเที่ยวงานลอยกระทงที่หนองบัวพระเจ้าหลวง ปีนี้ ทต.เชิงดอย มีให้ชมแสง สี เสียง ที่สวยงานแล้ว ได้ตกแต่งบริเวณจัดงานทั้งหมดให้เป็นสีรุ้ง เปิดกว้างเพื่อกลุ่ม “LGBTQ” ดังกล่าวแล้วนั้น พร้อมยืนยันว่า การจัดงานยิ่งใหญ่เช่นทุกปี จะได้ชมมนต์เสน่ห์ที่น่าสนใจในงานเทศกาลดังกล่าว ชมความพิเศษ และตื่นตาตื่นใจดังกล่าวแล้ว ยังมีสินค้าหลากหลายประเภทให้ได้ซื้อกลับบ้าน ไม่ว่าจะเป็นอาหารที่อร่อย จากร้านค้าชื่อดัง และของที่ระลึกจำนวนมาก สินค้าเครื่องอุปโภคบริโภค ที่มีครบจบในงานเทศกาลลอยกระทงที่หนองบัวพระเจ้าหลวงแห่งนี้

นางจิราภา ชินสรนันท์ ปลัดเทศบาลตำบลเชิงดอย กล่าวอีกว่า กำหนดจัดเทศกาลโคมล้านนาปู่จาผางประทีป ที่หนองบัวพระเจ้าหลวง จัดขึ้นวันที่ 15-18 พ.ย.67 นี้ ส่วนผู้สนใจเข้าร่วมการประกวดเทพีจำแลง และเทพบุตรยี่เป็ง ประกวดร้องเพลงลูกทุ่ง รับสมัครผู้เข้าประกวดจากชาวบ้าน ประกวดหนูน้อยนพมาศ และชมวงดนตรีซายูริ ผู้สนใจเข้าประกวดการแสดงความสามารถต่างๆ ส่งตัวแทนเข้าประกวดได้โดยส่งใบสมัครได้ที่ : Inbox Messenger เทศบาลตำบลเชิงดอย

มีรางวัลให้มากมาย เช่น การประกวดเทพีจำแลง ชิงเงินรางวัลชนะเลิศ มากถึง 10,000 บาท ส่วนรางวัลเทพบุตรยี่เป็ง ได้รางวัลชนะเลิศ มากถึง 8,000 บาท และรางวัลอื่นๆอีกมากมาย เชิญชวนเข้าร่วมงานกันได้ วันที่ 15-18 พ.ย.2567 นี้.

เชียงใหม่ ฝูงนกกระยางขาวหลายหมื่นตัวบินหนีหนาวจากไซบีเรียมาปักหลักหาอาหารในพื้น อ.ดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่(คลิป)

ฝูงนกกระยางขาวหลายหมื่นตัวบินหนีหนาวจากไซบีเรียมาปักหลักหาอาหารในพื้น อ.ดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่

บรรดาฝูงนกกระยางขาวจำนวนหลายพันตัวที่บินอยู่บนฟ้าบริเวณบ้านต้นผึ้ง หมู่ 6 ตำบลแม่โป่ง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ มองแล้วเหมือนกับฝูงอีกแร้งที่บินโฉบหาเหยื่อ แต่ทั้งหมดนี้เป็นฝูงนอกกระยางขาว บินมาจากพื้นที่แถบไซบีเรียที่มีอากาศหนาวเย็นมายังพื้นที่บริเวณดังกล่าว โดยกลุ่มนกกระยางเหล่านี้ก็จะอาศัยอยู่ในบริเวณนี้ หาอาหารในท้องนาและบินกลับขึ้นไปอยู่บนต้นไม้ บางตันอยู่อาศัยอยู่ตามท้องนาในช่วฤดูหนาว หลังจากที่อากาศแถบไซบีเรียมีหิมะปกคลุมไม่สามารถออกมาหากินได้จำเป็นต้องอบพยบมีในพื้นที่อบอุ่น

อย่างไรก็ดีชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่ดังกล่าว บางคนก็ไม่ชอบที่นกบินวนในพื้นที่มาเกาะบนหลังคาบ้านและบางตัวก็จะเกาะอยู่ตามต้นไม้ปล่อยของเสียออกมาส่งกลิ่นเหม็น แต่ส่วนใหญ่ก็ตื่นตาที่จะได้พบฝูงนกกระยางขาวขนาดใหญ่ ซึ่งจะได้พบเห็นเพียงปีละครั้ง บรรดานักท่องเที่ยวต่างชาติผ่านมาเห็นก็ต้องหยิบกล้องมือถือออกมาถ่ายภาพประทับใจเอาไว้

เชียงใหม่ สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลาม แห่งประเทศไทยร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมสนับสนุนอาหารและปัจจัย มอบให้กับเจ้าอาวาสวัดดอนจั่นเชียงใหม่(คลิป)

สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลาม แห่งประเทศไทยร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมสนับสนุนอาหารและปัจจัย มอบให้กับเจ้าอาวาสวัดดอนจั่นเชียงใหม่ นำไปอุปการะ เด็กกำพร้าเกือบ 800 คน


ที่วัดดอนจั่น จังหวัดเชียงใหม่ นายยงยุทธ์ ยาณะ ประธานคณะกรรมอิสลามประจำจังหวัดเชียงใหม่ อิหม่าม มุสตอฟา หะซัน ผู้ทรงคุณวุฒิจุฬาราชมนตรี นาง รัตติฟาร์ สิมารักษ์ ประธานศูนย์ประสานงาน สภาเครือข่ายช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม สำนักจุฬาราชมาตรีภาคเหนือตอนบน และเภสัชกร อิศรา นานาวิชิต เป็นตัวแทน สำนักจุฬาราชมนตรี มอบปัจจัยและปัจจัยยังชีพ สนับสนุนเลี้ยงดู เด็กกำพร้า ซึ่งอยู่ในความดูแล ของเจ้าอาวาสวัดดอนจั่น เชียงใหม่ ถือเป็นภาระหนัก ที่ต้องช่วยเหลือแบ่งเบา โดยเฉพาะคำสอนของอิสลามให้ความสำคัญในเรื่องของเด็กกำพร้า ถือว่าเป็นอันดับต้นๆ ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่มาเยือนในวันนี้ โดยอิหม่านมุสตอฟา หะซัน ผู้ทรงคุณวุฒิจุฬาราชมนตรี บอกว่า ทางจุฬาราชมนตรี ฝากความห่วงใย มายังพี่น้องชาวเชียงใหม่ ที่ประสบอุทกภัยน้ำท่วม นำปัจจัยและปัจจัยยังชีพ มาช่วยเหลือพี่น้องชาวเชียงใหม่


พระประชานาถมุนี เจ้าอาวาสวัดดอนจั่น บอกว่า มีเด็กกำพร้าที่อุปการะดูแลทั้งอาหารการกิน ที่พัก และการศึกษา มากถึง 776 คน เพื่อให้เติบโตมีอนาคตที่ดี และให้ตอบแทนคุณของแผ่นดิน ซึ่งช่วงต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ทั้งวัดดอนจั่น และโรงเรียนวัดดอนจั่น ประสบอุทกภัยน้ำท่วม บางจุดระดับน้ำสูงถึงหน้าอก ซึ่งอยู่มา 40 ปี ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

เชียงใหม่ ผู้บริหารโรงเรียนอนุบาลดรุณนิมิต จังหวัดเชียงใหม่ ทำบุญใหญ่ ถวายผ้ากฐิน วัดป้านปิง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อนำปัจจัยไปบูรณะปฎิสังขร และเป็นค่าน้ำค่าไฟให้กับทางวัด(คลิป)

ผู้บริหารโรงเรียนอนุบาลดรุณนิมิต จังหวัดเชียงใหม่ บุญใหญ่ ถวายผ้ากฐิน วัดป้านปิง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อนำปัจจัยไปบูรณะปฎิสังขร และเป็นค่าน้ำค่าไฟให้กับทางวัด ได้บุญกันถ้วนหน้า และยังเปิดโรงทาน จัดเลี้ยงอาหาร ผู้ที่มาร่วมงานด้วย ได้ทั้งบุญและอิ่มทั้งท้อง


พ่อครู สมบูรณ์ กันทะปา นาย ธวัช บุญประเสริฐ นางพรรณี บุญประเสริฐ ผู้บริหารโรงเรียนอนุบาลดรุณนิมิต จังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานถวายผ้ากฐิน ที่วัดป้านปิง ในตัวเมืองชียงใหม่ พร้อมกับญาติธรรม และคณะครูโรงเรียนอนุบาลดรุณนิมิต ย่านถนนลอยเคราะห์ รวมทั้งผู้บริหารคณะครู โรงเรียนอนุบาลดรุณนิมิตวิทยา ตำบลป่าตัน ถวาย พระมหานพดล วชิรปญฺโญ อายุ 40 ปี เจ้าอาวาสวัดป้านปิง เพื่อนำปัจจัยทั้งหมด นำไปบูรณปฎิสังขรซ่อมแซม ศาสนสถานและเป็นค่าน้ำค่าไฟของวัด พร้อมทั้งจัดตั้ง โรงทาน อาหาร ขนม ลูกชิ้นทอด ผลไม้ ให้กับญาติธรรมที่มาร่วมงานทุกคน ได้บุญกันถ้วนหน้า และยังอิ่มท้อง


สำหรับวัดป้านปิง เชื่อว่าสร้างในสมัย ยุคต้นของอาณาจักรล้านนา ตั้งแต่สมัยพญามังราย ลงมาถึงพญาแสนเมืองมา ช่วง พ ศ 1839 – 1954 ดูได้จากพระพุทธรูป องค์พระประธานในพระวิหาร เป็นแบบพระสิงห์หนึ่ง และราว พ ศ 2121 อาณาจักรล้านนาล่มสลายวัดต่างๆชำรุดทรุดโทรม รวมทั้งวัดป้านปิง และจนถึง พ ศ 2324 อาณาจักรล้านนาได้มีการสถาปนาขึ้นมาใหม่ และราว พ ศ 2326 พระเจ้ากาวิละได้เป็นศรัทธา บูรณะวัดต่างๆ ขึ้นมาใหม่ รวมทั้งวัดป้านปิง ซึ่งตั้งอยู่ภายในคูเมืองเชียงใหม่ ถือว่าเป็นวัดสำคัญอีกแห่ง

เชียงใหม่ อุตสาหกรรมจังหวัดในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 จัดงานอุสาหกรรมแฟร์ล้านนา 2024(คลิป)

อุตสาหกรรมจังหวัดในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน ๑ (เชียงใหม่ ลำพูน แม่ฮ่องสอน) จัดงานอุสาหกรรมแฟร์ล้านนา 2024 ” LANNA INDUSTRY FAIR 2024 ภายใต้กิจกรรมการทดลโอกาสทางการตลาดของผู้ผลิตชุมชนล้านนา ค่าใช้จ่ายการยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนล้านนาสร้างมูลค่าทางการตลาดเชื่อมโยงเศรษฐกิจไทย

วันนี้ (8 พย.67 ) ที่บริเวณชั้น 1 แกรนด์ฮอลล์ เซ็นทรัล เชียงใหม่ แอร์พอร์ต อำเภอเมืองเชียงใหม่ อุตสาหกรรมจังหวัดในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 (เชียงใหม่ ลำพูน แม่ฮ่องสอน) จัดงานอุสาหกรรมแฟร์ล้านนา 2024″ LANNA INDUSTRY FAIR bob๔ ภายใต้กิจกรรมการทดลโอกาสทางการตลาดของผู้ผลิตชุมชนล้านนา ค่าใช้จ่ายการยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนล้านนาสร้างมูลค่าทางการตลาดเชื่อมโยงเศรษฐกิจไทย ตามโครงการสร้างความพร้อมให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการแข่งขันในบริบทใหม่ทางเศรษฐกิจ กิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 เพื่อทดสอบและสร้างโอกาสทางการตลาดของผู้ผลิตชุมชนล้านนาที่ได้รับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ จำนวน 22 กิจการ/22 ผลิตภัณฑ์

ทั้งนี้ นายประสิทธิ์ ศรีพรหม อุตสาหกรรมจังหวัดลำปาง กล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์ของการจัดงาน และ นายกฤษณะ พินิจ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง ให้เกียรติเป็นประธานพิธีเปิดงาน ภายในงานได้มีการโซนจัดแสดงนิทรรศการผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ต้นแบบที่ได้รับการพัฒนา จุดทดสอบและจำหน่ายสินค้ากกว่า จำนวน 22 บูธ พร้อมกับกิจกรรมส่งเสริมการขายต่าง ๆ มากมายตลอดงาน ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรม ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ยกระดับภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่ให้เติบโตอย่างยั่งยืนคู่ชุมชนต่อไป

เชียงใหม่ นบ.ยส.35 ร่วมกับ ปปส.ภาค 5 และศุลกากรภาคที่ 3 สกัดสารตั้งต้นผลิตยาเสพติดผ่านด่านชายแดนภาคเหนือ (คลิป)

นบ.ยส.35 ร่วมกับ ปปส.ภาค 5 และศุลกากรภาคที่ 3 สกัดสารตั้งต้นผลิตยาเสพติดผ่านด่านชายแดนภาคเหนือ


วันนี้ 8 พฤศจิกายน 2567 พลโท กิตติพงศ์ ชื่นใจชน แม่ทัพน้อยที่ 3 ในฐานะ ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสกัดกั้นและปราบปรามยาเสพติด สารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์ ชายแดนภาคเหนือ (ผบ.นบ.ยส.35) เปิดเผยว่า นบ.ยส.35 ร่วมกับสำนักงานป้องกันปราบปรามยาเสพติดภาค 5 และสำนักงานศุลกากรภาคที่ 3 ในการนำมาตรการสกัดกั้น การลักลอบนำเข้าและส่งออกสารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์ที่ใช้ในกระบวนการผลิตยาเสพติด ผ่านด่านชายแดนภาคเหนือ เพื่อสกัดกั้น ยับยั้ง และจับกุมผู้กระทำผิด ไม่ให้สารเคมีถูกลำเลียงไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อใช้ในการผลิตยาเสพติดส่งเข้ามายังประเทศไทย เนื่องจากปัจจุบันพบว่ากลุ่มขบวนการค้ายาเสพติดมีแนวโน้มที่จะนำไปเป็นสารตั้งต้นกว่า 30 ชนิด ใช้ในการผลิตยาเสพติดมากขึ้น


ขณะเดียวกัน นบ.ยส.35ยังให้ความสำคัญกับการสกัดยาเสพติดผ่านระบบโลจิสติกส์ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในพื้นที่ที่มีความจำเป็นเร่งด่วนเพิ่มเติม 7 อำเภอ ใน 4 จังหวัด ประกอบด้วย อำเภอปาย และปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน, อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย, อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา, อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน และ อำเภอแม่สอด, อำเภอพบพระ จังหวัดตาก เนื่องจากมีความเสี่ยงในการถูกจับกุมน้อย ต้นทุนต่ำรูปแบบมีทั้งการอำพรางในสินค้าที่จ้างเหมารถขนส่ง ทั้งที่คนขับรู้เห็นและถูกรับจ้างโดยไม่ทราบว่ามียาเสพติดแอบแฝง รวมทั้งยังตรวจพบในรูปแบบส่งพัสดุทางไปรษณีย์ ที่มีที่ตั้งอยู่ในอำเภอชายแดน หรืออำเภอใกล้เคียงเพื่อตบตาเจ้าหน้าที่

เชียงใหม่ ผู้สมัครนายกเทศมนตรีเมืองแม่เหียะ เชียงใหม่ เปิดเวทีปราศรัย โค้งสุดท้าย ถึงกับก้มลงกราบบนเวที อ้อนขอคะแนนจากชาวบ้านและผู้สนับสนุน (คลิป)

ผู้สมัครนายกเทศมนตรีเมืองแม่เหียะ เชียงใหม่ เปิดเวทีปราศรัย โค้งสุดท้าย ถึงกับก้มลงกราบบนเวที อ้อนขอคะแนนจากชาวบ้านและผู้สนับสนุน เพื่อต้องการเปลี่ยนแปลง ให้ดีขึ้น ชูนโยบาย เป็นแม่เหียะยุคใหม่ โปร่งใส ซึ่งจะมีการเลือกตั้ง ในวันที่ 10 พฤศจิกายนนี้ แทนคนเดิม ที่ลาออกก่อนหมดวาระ


ช่วงค่ำวันที่ 7 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา นาย กริณย์พล ไชยยาพิบูล ผู้สมัครลงชิงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองแม่เหียะ เชียงใหม่ เบอร์ 1 เปิดเวทีปราศรัยหาเสียงและแสดงนโยบาย พร้อมทั้งเปิดตัว ทีมงานผู้บริหาร ที่จะอาสาเข้ามาพัฒนาและดูแลพี่น้องประชาชน ในพื้นที่ตำบลแม่เหียะ โดยชูนโยบาย ทั้งด้านโครงสร้างมั่นคง เมืองอยู่ได้อย่างยั่งยืน ด้านสวัสดิการและสังคม ฝึกอาชีพให้ผู้ด้อยโอกาศ จัดตั้งตลาดชุมชน ด้านสาธารณสุขแข็งแกร่งชุมชนสุขภาพดี เศรษฐกิจแข็งแกร่งสร้างโอกาสให้ชุมชน ด้านเทคโนโลยีและความปลอดภัย และการศึกษาต้องแข็งแกร่งอนาคตชุมชนรุ่งเรือง ส่งเสริมการศึกษาในทุกระดับ ตั้งแต่การเรียนอนุบาลถึงประถมศึกษา จัดตั้งศูนย์สอนภาษาต่างประเทศ ซึ่งระหว่างการปราศรัย มีฝนตกลงมาตลอดเวลา โดยมีประชาชน ที่สนับสนุน ต้องสวมเสื้อกันฝน หรือกางร่มรับฟังนโยบายกันเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีทีมที่ปรึกษา มาร่วมชี้แจงนโยบายด้วย พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง เทศบาลเมืองแม่เหียะให้ดีขึ้น ซึ่งเทศบาลเมืองแม่เหียะ แต่ละปีมีงบประมาณ ในการจัดเก็บกว่า 200 ล้านบาทต่อปี วาระ 4 ปี มีเงินงบประมาณกว่า 800 ล้านบาท


โดยนาย กริณย์พล ถึงกับก้มลงกราบ กับพื้นเวที เพื่อขอคะแนนเสียง จากพี่น้องประชาชน ที่ให้การสนับสนุน โดยใช้เวลาขึ้นปราศรัยนานประมาณ 1 ชั่วโมง จากนั้นได้พากันแยกย้าย กันเดินทางกลับ สำหรับเทศบาลเมืองแม่เหียะ จะมีการเลือกตั้ง เฉพาะตำแหน่งนายกเทศมนตรี แทน นาย ธนวัฒน์ ยอดใจ ที่ลาออกก่อน หมดวาระ แต่ก็ยังลงสมัครเลือกตั้ง ในครั้งนี้ด้วย และมีผู้ลงสมัครเลือกตั้ง ครั้งนี้ทั้งหมด 4 คน


โดย เทศบาลเมืองแม่เหียะ มีประชากรจำนวน 14,271 ครัวเรือน ประชากรทั้งสิ้น 19,983 คน และมีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 16,052 คน ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้ง ประจำเทศบาลเมืองแม่เหียะ ตั้งเป้าไว้ว่า จะมีผู้มาใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 มีบัตรเสียไม่เกินร้อยละ 2 และทุกคะแนนเสียง ต้องเป็นคะแนนที่บริสุทธิ์ เป็นการลงคะแนนโดยอิสระ ไม่ถูกครอบงำ ไม่มีการซื้อสิทธิ ขายเสียง พร้อมขอเชิญชวน ให้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันอาทิตย์ที่ 10 พฤศจิกายน 2567 เวลา 08.00-17.00 น.