ข่าวทั่วไทย » เชียงใหม่ ผู้ใหญ่บ้าน ชาวบ้าน ทหาร และภาคเอกชน GULF CMWTE ร่วมกับชุมชนบ้านป่าตึงน้อย ทำแนวกันไฟป่า ลด PM 2.5(คลิป)

เชียงใหม่ ผู้ใหญ่บ้าน ชาวบ้าน ทหาร และภาคเอกชน GULF CMWTE ร่วมกับชุมชนบ้านป่าตึงน้อย ทำแนวกันไฟป่า ลด PM 2.5(คลิป)

26 มีนาคม 2025
144   0

Spread the love

ผู้ใหญ่บ้าน ชาวบ้าน ทหาร และภาคเอกชน GULF CMWTE ร่วมกับชุมชนบ้านป่าตึงน้อย ทำแนวกันไฟป่า ลด PM 2.5

เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2568 ที่สุสานบ้านป่าตึงน้อย หมู่ 1 ต.ป่าป้อง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ นางสาวจันทร์จิรา จำปาอิน ผู้ใหญ่บ้านบ้านป่าตึงน้อย หมู่ 1 พร้อม จ.ส.อ.ชยพล ปัญญาจันทร์ มทบ.33 กองทัพบก พร้อมทหารจิตอาสา ชาวบ้าน และ จนท.ทต.ป่าป้อง ภาคเอกชน คือ ดร.กฤษณ์ พงษ์เทพิน ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายชุมชนสัมพันธ์ บริษัท GULF และโครงการโรงไฟฟ้าขยะ บริษัทเชียงใหม่เวสท์ ทู เอ็นเนอร์จี จำกัด (CMWTE) นายจิรศักดิ์ มีสัตว์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายชุมชนสัมพันธ์ กลุ่มบริษัท กัลฟ์ ร่วมกันจัดโครงการ CSR “ ทำแนวกันไฟป่า และ คืนสมดุลให้ป่า ด้วยจุลินทรีย์ ” ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่อง จากปี พ.ศ.2567 ทางบริษัท CMWTE นำ องค์ความรู้ด้าน ฐานชีวภาพ และ จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพมาจัดอบรมให้กับผู้นำชุมชนและประชาชน รวมตัวกันจำนวนกว่า 200 คน ที่สุสาน แล้วลงพื้นที่เข้าทำแนวกันไฟในป่าชุมชนบ้านป่าตึงน้อย(หลังสุสานบ้านป่าตึงน้อย) เพื่อลดปัญหาหมอกควันไฟป่า ลดฝุ่น PM 2.5

นางสาว จันทร์จิรา จำปาอิน ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 1 บ้านป่าตึงน้อย กล่าวว่า ชุมชนให้ความสำคัญมากเพราะป่าชุมชนเป็นแหล่งอาหารทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในการดำรงชีวิตของชาวบ้านมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ปัญหาไฟป่ามีมาอย่างต่อเนื่อง ในป่าจะมีใบไม้แห้งจำนวนมากในช่วงหน้าแล้ง เป็นเชื้อเพลิงให้เกิดไฟป่าสร้างความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมจำนวนมาก และเกิด PM 2.5 เป็นที่มาของการรวมกลุ่มเพื่อเฝ้าระวังและป้องกันไฟป่าทำแนวกันไฟกันทุกปี และทางราชการมีนโยบายในการลดการเผาป่าและป้องกันไฟป่าเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมด้วย จึงได้ร่วมกันในการทำแนวกันไฟกันมาอย่างต่อเนื่อง และเราได้รับการสนับสนุนจาก โครงการโรงไฟฟ้าขยะฯ ของบริษัทเชียงใหม่เวสท์ ทู เอ็นเนอร์จี จำกัด(CMWTE) และกลุ่มบริษัท กัลฟ์ (GULF) นำพนักงานและประสานกองกำลังทหาร มทบ. 33 มาร่วมทำแนวกันไฟป่าช่วยทางชุมชน นอกจากนั้นบริษัทฯยังนำองค์ความรู้ด้าน ฐานชีวภาพ และ จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพมาจัดอบรมให้กับผู้นำชุมชนในโครงการ “ คืนสมดุลให้ป่าด้วยจุลินทรีย์“ และ สนับสนุนการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้และธนาคารจุลินทรีย์ชุมชนอยู่ระหว่างการพัฒนาศูนย์ฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ชุมชนมีองค์ความรู้เกี่ยวกับฐานชีวภาพและระบบนิเวศ ฯลฯ และสามารถเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ นำมาช่วยเสริมศักยภาพในการย่อยสลายสลายใบไม้จากการทำแนวกันไฟป่าให้มีการย่อยสลายได้ดียิ่งขึ้นลดการเป็นเชื้อเพลิงไฟป่าและจะสลายเป็นอินทรีย์วัตถุและธาตุอาหารสำหรับต้นไม้ในป่าจะช่วยให้ดินดีมีชีวิตและยังเสริมสร้างการกระจายเชื้อจุลินทรีย์ในป่าที่มีความเสื่อมโทรมจากไฟป่า การตัดไม้ทำลายป่าจนเสียสมดุลให้ฟื้นฟูได้ดีมากยิ่งขึ้น และกิจกรรมในการฟื้นฟูป่าด้วยเชื้อราไมคอร์ไรซ่า หรือเชื้อเห็ดป่าเพื่อปลูกป่าเพิ่มเติมและคืนสมดุลให้ป่าในระยะต่อไป ซึ่งเป็นแนวทางที่เสริมให้ชุมชนมีโอกาสทำงานอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าชุมชนได้ดีมากยิ่งขึ้น ต้องขอบคุณบริษัทฯ และทุกภาคส่วนที่มาร่วมสนับสนุนชุมชนของเรา ซึ่งจะเกิดประโยชน์ต่อพี่น้องประชาชนต่อไป

นางสาวจิรา ผู้ใหญ่บ้าน กล่าวอีกว่า บ้านป่าตึงน้อย เป็น 1 ใน 4 หมู่บ้านใน ต.ป่าป้อง ที่มีพื้นที่ป่า 670 ไร่ วันนี้ทำแนวกันไฟป่าประจำปี จำนวน 3 ไร่ พื้นที่ยาว 6 กม.ในป่าชุมชน และพื้นที่ป่าคาร์บอนเครดิต จำนวน 5 แปลง ป่าชุมชนบ้านป่าตึงน้อย ถือว่าความสมบูรณ์ มีต้นพยุง ไม้แดง ไม้สัก และต้นยางนา เป็นธนาคารอาหารของชาวบ้านทุกฤดูกาล มีทั้งไข่มดแดง ผักหวาน ผักกรูด แมงมัน ผักพ่อค้าตีเมีย เห็ดเพาะ เห็ดตับเต่า และเห็ดระโงก อยากกินก็เข้ามาหาเก็บไปบริโภคได้ โดยเฉพาะฤดูแล้วไม่ต้องเผาป่าก็มีผักหวานให้เก็บกิน“ ผู้ใหญ่บ้าน บ้านป่าตึงน้อย กล่าว

นายจิรศักดิ์ มีสัตย์ ผอ.บริหาร กลุ่มบริษัทกัลฟ์ กล่าวว่า “บริษัท GULF และ CMWTE เรามาตั้งในพื้นที่ชุมชน เราตระหนักว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน มีนโยบายชัดเจนในการร่วมกับชุมชนรักษาสิ่งแวดล้อมและพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของชุมชน ซึ่งป่าชุมชนนับเป็นแหล่งทรัพยากรทางเศรษฐกิจการอาชีพ และ เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของชุมชน เราจึงได้อาสาเข้ามาร่วมสนับสนุนชุมชน รวมทั้งการประสานองค์ความรู้จากนักวิชาการ และหน่วยงานต่างๆ เข้ามาเสริมสร้างศักยภาพในการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าชุมชนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นซึ่งจะสามารถพัฒนาต่อไปอย่างยั่งยืนได้ รู้สึกยินดีที่เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมชุมชนและยินดี สนับสนุนชุมชนต่อไป”

ดร.กฤษณ์ พงษ์เทพิน ผช.ผอ.ฝ่ายชุมชนสัมพันธ์ กลุ่มบริษัท กัลฟ์ (GULF ) กล่าวว่า กิจกรรมครั้งนี้เป็นโครงการ CSR เริ่มจากการทำแนวกันไฟป่า และในช่วงฤดูฝนที่จะมาถึงเราจะนำองค์ความรู้จากผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยทั้งในสากลและประเทศไทย เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเกษตรศาสตร์ เป็นต้น เกี่ยวกับเชื้อเห็ด ”ไมคอร์ไรซ่า ” ซึ่งเป็นเชื้อราที่มีความสำคัญต่อระบบเครือข่ายการเชื่อมโยงการเจริญเติบโตร่วมกันของรากพืชไม้ป่า และ จุลินทรีย์ในดินชนิดต่างๆ ที่จะช่วยการเจริญเติบโต และสร้างภูมิคุ้มกันโรคพืช ยังช่วยสลายอินทรีย์วัตถุต่างๆเป็นธาตุอาหารให้กับพืชผ่านการอาศัยเกื้อกันกับระบบรากพืชคือ เชื้อราไมคอร์ไรซ่า กับ รากต้นไม้ ซึ่งอาศัยอยู่ร่วมกันตลอดอายุขัยของพืช เป็นต้นกำเนิดของเห็ดป่านานาชนิด เช่น เห็ดเผาะ เห็ด ไคล ระโงก เห็ดตับเต่า เห็ดโคนปลวก ฯลฯ ซึ่งศูนย์เรียนรู้และธนาคารจุลินทรีย์ ได้ร่วมกับชุมชนวางแผนในการนำเชื้อเห็ดไมคอร์ไรซ่า กลับคืนสู่ป่าสร้างความสมดุล มีการเพาะเชื้อใส่ในกล้าไม้ปลูกเสริมในป่า และนำเชื้อเห็ดป่าไปกระจายสู่บริเวณรากต้นไม้ในป่าเพิ่มจุลินทรีย์ในผืนป่าเสื่อมโทรมและจะนำเมล็ดพันธุ์กล้าไม้ป่านำมาแช่จุลินทรีย์เพิ่มอัตราการงอกและนำมาใส่ปั้นกับก้อนดินจุลินทรีย์และเชื้อเห็ด เพื่อนำไปกระจายสู่ป่าในช่วงฤดูฝนด้วย

และ ยังมีแผนการนำเชื้อเห็ดป่าต่างๆให้ชุมชนนำไปเพาะในป่าใกล้ชุมชนและสวนไร่นา เพื่อเป็นแหล่งอาหารประเภทเห็ดในชุมชนครอบครัวจะสามารถทดแทนการเผาป่าหาเห็ดให้ลดลง อันเป็นสาเหตุหนึ่งในการเกิดไฟป่าด้วย เป็นแนวทางในการลดปัญหาไฟป่าและลดผลกระทบจาก PM 2.5 ได้ต่อไป ซึ่งความสำคัญอยู่ที่ความรู้และการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยเฉพาะศูนย์เรียนรู้ฯจะเป็นกลไกการขับเคลื่อนที่สำคัญในการปฏิบัติการและต่อเนื่องได้ อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป รวมถึงภาคีความร่วมมือของภาคส่วนต่างๆจะเสริมพลังได้มากยิ่งขึ้น


“กล่าวได้ว่า เป็นโครงการที่ดีมากท่ามกลางปัญหา PM 2.5 เกิดขึ้นอย่างมากในหลายพื้นที่ฯ และความมุ่งมั่นตั้งใจของ นางสาว จันทร์จิรา จำปาอิน ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 1 บ้านป่าตึงน้อย ฯ ที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจ เสียสละนำพาชุมชนป้องกันไฟป่ามาอย่างต่อเนื่องทุกปี และเกิดการสร้างเครือข่ายภาคราชการ องค์กรท้องถิ่น ทหาร และภาคเอกชน มาผนึกกำลังกันสร้างพลังขับเคลื่อนได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งจะสามารถอนุกรักษ์ฟื้นฟูป่าไม้ชุมชนให้อยู่คู่ชุมชน และลด PM 2.5 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้อย่างยั่งยืนต่อไป”

”ป่าที่เสื่อมโทรมจากน้ำป่ากัดเซาะ หรือไฟป่า ทำให้ป่าไม่เหมือนเดิม ต้นไม้ใหญ่ 1 ต้น มีเชื้อไมคอร์ไรซ่าขยายไปหลายกิโลเมตร หากต้นไม้ใหญ่ 1 ต้นล้มตายไป จะส่งผลเสียหายกับต้นไม้อื่นๆอีก 47 ต้น จะไม่สามารถมีเห็ดให้ได้เก็บกิน ห้ดจะตาย หากเปรียบต้นไม้ใหญ่คือเสาส่งสัญาณโทรศัพท์ หากหักลงก็จะไม่มีสัญญาณและไม่มีอินเตอร์เนตเลยนั้นเอง“ ดร.กฤษณ์ พงษ์เทพิน ผช.ผอ.ฝ่ายชุมชนสัมพันธ์ บริษัท กัลป์ และโครงการโรงฟฟ้าขยะ เชียงใหม่เวสเอ็นเนอร์จี จำกัด กล่าว.