ข่าวทั่วไทย » เชียงใหม่ ชาวบ้านเดือดร้อน ล่ารายชื่อยื่นนายกฯ มีนานทุนบุกรุกพื้นที่ป่าต้นน้ำ

เชียงใหม่ ชาวบ้านเดือดร้อน ล่ารายชื่อยื่นนายกฯ มีนานทุนบุกรุกพื้นที่ป่าต้นน้ำ

2 กุมภาพันธ์ 2021
685   0

Spread the love

ราษฎรอาศัยอยู่กินกับป่า อ.กัลยาณิวัฒนา เชียงใหม่ ล่ารายชื่อ ทำหนังสือ ร้องนายกรัฐมนตรี ให้จัดการกับกลุ่มนายทุนบุกรุกป่าต้นน้ำ ( ป่าสงวนแห่งชาติ ) ทำไร่สตอเบอรี่ กะหล่ำปลี ใช้สารเคมี กระทบต่อสิ่งมีชีวิตสัตว์คน เคยร้องศูนย์ดำรงธรรม เจ้าหน้าที่ป่าไม้ในพื้นที่หลายรอบ แต่ไร้ผล ขอพึ่งสื่อฯ เพื่อให้นายกสั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่ด่วน

ราษฎรบ้านนะโน หมู่ที่ 2 ต.แม่แดด อ.กัลยาณิวัฒนา จ.เชียงใหม่ กว่า 50 คน ได้รวมตัวกันล่ารายชื่อ เพื่อทำหนังสือถึง พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้สั่งการเจ้าหน้าที่ดำเนินการกับกลุ่มนายทุนได้มาบุกรุกพื้นที่ป่าต้นน้ำของบ้านนะโน ซึ่งเป็นที่ป่าสงวนแห่งชาติ โดยมีการบุกรุกพื้นที่ป่า จำนวนหลายจุด ร่วมกว่า 1,000 ไร่ เพื่อทำไร่ สตอเบอรี่ และไร่กะหล่ำปลี ได้โค่นต้นไม้ขนาดใหญ่ และใช้รถแบคโฮ ไถทำถนนเพื่อเข้าไปในสวนเป็นพื้นที่ป่าที่อุดมสมบูรณ์มาก นอกจากนั้นมีการใช้สารเคมียาฆ่าแมลงต่าง ๆ ได้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สิ่งมีชีวิตและสัตว์และมนุษย์ เนื่องจากราษฎรมีอีกหลายหมู่บ้านต้องใช้น้ำเพื่ออุปโภคบริโภคน้ำที่ไหลจากจุดนี้ และเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าอนุรักษ์หลายชนิด แต่เดิมพื้นที่ป่ายังคงความอุดมสมบูรณ์มาก ชาวบ้านบ้านนะโนได้ช่วยกันอนุรักษ์ไว้ให้เป็นป่าต้นต้นน้ำ โดยยึดหลักคนอยู่กับป่า ป่าอยู่กับน้ำและสัตว์ เพื่อคงความอุดมสมบูรณ์ของป่าจากรุ่นสู่รุ่นหลายชั่วอายุคนมาแล้ว และบรรพบุรุษตั้งแต่ในอดีตต้องการที่จะอนุรักษ์ไว้เป็นมรดกให้ลูกหลานไปสืบต่อไป

นายจะริ สภาวนากุล เปิดเผยว่า สำหรับ บ้านนะโน หมู่ 2 ต.แม่แดด อ.กัลยาณิวัฒนา จ.เชียงใหม่ เดิมหมู่บ้านนี้อยู่ในพื้นที่เขตอำเภอแม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ ต่อมา กระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศ จัดตั้ง อ.กัลยาณิวัฒนา ขึ้นเป็นอำเภอที่ 25 ของ จ.เชียงใหม่ หลังจากนั้นอีกไม่นาน ประมาณปี 2553 จังหวัดเชียงใหม่ ให้บ้านนะโน ไปมาขึ้นอยู่ในเขตพื้นที่ของ อ.กัลยาณิวัฒนา


สำหรับบ้านนะโน มีเขตติดต่อกับเขตหมู่บ้านแม่แจ๊ะ ต.แม่นาจร อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ ทิศใต้มีเขตติดต่อกับ ต.บ่อแก้ว อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ เมื่อหมู่บ้านขึ้นอยู่กับ อ.กัลยาฯ ไม่นานได้มีกลุ่มนายทุน เข้ามาการบุกรุกพื้นที่ป่าต้นน้ำของบ้านนะโน เพื่อถางพื้นที่ป่าสงวน ทำไร่ สตอเบอรี่และ สวนกะหล่ำปลี โดยใช้สารเคมีนานาชนิด ส่วนฤดูร้อนกลุ่มนายทุนเหล่านี้ ได้ต่อท่อประปาดูดน้ำเข้าสวนไปหมด ทำให้ประชาชนที่อยู่ปลายน้ำไม่มีน้ำกินน้ำใช้ ซึ่งได้สร้างความเสียหายและสร้างความเดือดร้อนให้แก่ชาวบ้านนะโนมานานกว่า 10 ปี รวมถึงสัตว์ป่าต่างๆ ที่อาศัยอยู่เป็นอย่างมาก นอกจากนั้นยังส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและการดำเนินชีวิตของชาวบ้านนะโน จากการใช้สารเคมีของกลุ่มนายทุนดังกล่าว ไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สัตว์ สิ่งมีชีวิต ทั้งคนแต่อย่างใด ทำให้สารเคมีตกค้างในพื้นที่ซึ่งเป็นพื้นที่ต้นน้ำ แล้วไหลลงสู่พื้นที่กลางน้ำที่ชาวบ้านบ้านนะโนได้อาศัยอยู่ ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อร่างกายชีวิตและทรัพย์ของชาวบ้านเป็นอย่างมาก

DCIM100MEDIADJI_0752.JPG

นายพะยะเง สมรโสภิตวงษ์ หนึ่งในคณะกรรมการหมู่บ้าน กล่าวว่า ตนประกอบอาชีพเป็นเกษตรกร ใช้ระบบอินทรีย์มาโดยตลอด ต่อมามีได้บาดแผลที่ขารักษาอย่างไรก็ไม่หาย จึงไปหาหมอที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ หมอบอกว่า เป็นการติดเชื้อแบบรื้อรัง สาเหตุมาจากการได้รับผลจากสารเคมีไม่ทราบชนิด ทั้งที่ไม่เคยใช้สารเคมีแต่อย่างใด จึงเชื่อว่าน่าจากเกิดจากสารเคมีที่กลุ่มนายทุนใช้ในป่าต้นน้ำและไหลลงสู่ตอนล่างและตนได้ไปสัมผัสมาอย่างแน่นอน

DCIM100MEDIADJI_0759.JPG

ปัญหาดังกล่าวนี้ คณะกรรมการบ้านนะโน ทั้งทำหนังสือร้องเรียนไปยัง หน่วยงานต่าง ๆ ไม่ว่า ผู้นำท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ศูนย์ดำรงธรรม ระดับอำเภอกัลยาฯและจังหวัดเชียงใหม่ มาแล้วหลายรอบก็ไม่เป็นผล สุดท้ายเรื่องก็เงียบหายไป ขณะนี้ชาวบ้านไม่รู้จะพึ่งใคร จึงต้องอาศัยสื่อมวลชนเพื่อเสนอข่าวให้สังคมรับทราบถึงปัญหาของชาวบ้าน บ้านนะโนอย่างแท้จริง และในครั้งนี้ ทางคณะกรรมการหมู่บ้าน ได้ทำหนังสือร้องเรียนไปถึง พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่ากระทรวงมหาดไทย นาย วราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนถึงหน่วยงานความมั่นคง ทหาร ตำรวจที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ อีกด้วย เพื่อให้ส่งเจ้าหน้าที่มาดำเนินการถอนกลุ่มนายทุนออกจากพื้นที่และจัดการเขตพื้นที่แต่ละหมู่บ้านอย่างชัดเจนต่อไป


สำหรับการบริหารจัดการป่าชุมชนของราษฎรบ้านนะโน ต.แม่แดด อ.กัลยาณิวัฒนา โดยบริหารในรูปแบบคณะกรรมการหมู่บ้านจำนวน 13 คน โดยแต่ละคนมีบาทบาทหน้าที่ตามที่ตกลงกันไว้ พื้นที่ป่าชุมชนประมาณ 8000 กว่าไร่ โดยแบ่งเป็นป่าอนุรักษ์ ทั้งป่า และพันธุ์สัตว์ป่า สำหรับป่าใช้สอย ลำห้วย แม่น้ำ ลำธาร สวน ไร่-นา ไร่หมุนเวียน ถนน และหมู่บ้าน เป็นต้นแบบที่ทำกันมากว่า 20 ปีแล้ว