ข่าวทั่วไทย » เชียงใหม่ เล่าตำนานประเพณีเลี้ยงดง ปู่แสะ-ย่าแสะ ยักษ์กินคนที่ปกปักรักษาพระธาตุดอยคำ

เชียงใหม่ เล่าตำนานประเพณีเลี้ยงดง ปู่แสะ-ย่าแสะ ยักษ์กินคนที่ปกปักรักษาพระธาตุดอยคำ

10 มิถุนายน 2020
1749   0

Spread the love

เจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยคำ เล่าตำนานของยักษ์ปู่แสะ ย่าแสะ เป็นยักษ์กินคนที่ปกปักรักษาวัดพระธาตุดอยคำที่มีอายุกว่า 1,333 ปี ขณะที่นายกเทศมนตรีเมืองแม่เหียะ เผยประเพณีเลี้ยงดง ซึ่งปีนี้จัดแบบเรียบง่ายป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 แต่ยังคงทำพิธีบวงสรวงครบตามประเพณีที่สืบมา โดยปีนี้ก็ได้อัญเชิญพระบฏขึ้นบนต้นไม้เหมือนเดิม พระบฏก็ยังแกว่งไกวขณะที่ไม่มีลม ซึ่งพระบฏแกว่งไกวก็หมายถึง การทำนายทายทักว่า ฝนฟ้าจะตกต้องตามฤดูกาล พี่น้องประชาชนก็จะมีความสุขทำการเกษตรก็จะได้ผลดี

พระครูสุนทร เจติยารักษ์ หรือครูบาพิน เจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยคำเจริญพรเล่าถึงตำนานของยักษ์ปู่แสะ-ย่าแสะ เป็นยักษ์ที่ปกปักรักษาวัดพระธาตุดอยคำแห่งนี้ว่า ในอดีตกาลตำนานพระเจ้าเลียบโลก คำว่า เลียบโลกหมายถึงพระพุทธองค์ได้เสด็จมานี่ก็พบกับยักษ์ 3 พ่อแม่ลูก คือปู่แสะ ย่าแสะ และสุเทพฤาษี ยักษ์ 3 พ่อแม่ลูกนี้ชอบกินเนื้อมนุษย์เป็นอาหาร เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมายังดอยคำแห่งนี้ ก็มาโปรดยักษ์ทั้ง 3 พ่อแม่ลูก เทศนาธรรมให้ฟังและขอร้องยักษ์ทั้ง 3 ให้เลิกกินเนื้อมนุษย์ แต่ยักษ์ทั้ง 3 ก็ยังอยากกินเนื้ออยู่จึงขอกินเนื้อสัตว์แทน พระพุทธเจ้าก็ไม่ตอบไม่อนุญาตบอกว่า ให้ไปถามเจ้าเมือง ยักษ์จึงไปขอกับเจ้าเมืองโดยขอกินควายปีละ 1 ตัว จนมาถึงปัจจุบันนี้ สมัยก่อนชาวบ้านที่อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ มาร่วมเลี้ยงปู่แสะย่าแสะกันทั้งเมืองเลย เรียกว่าประเพณีเลี้ยงยักษ์ หรือเลี้ยงดง มีการฆ่าควายบวงสรวงเลี้ยงยักษ์ มีร่างสรงมาประทับ ร่างสรงก็จะกินเนื้อสดๆ เลือดสดๆ การทำแบบนี้เพื่อไม่ให้ปู่แสะ ย่าแสะให้ดลบันดาลฟ้าฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล สมัยก่อนคนชอบทำการเกษตรเป็นอาชีพต้องอาศัยน้ำฝนหล่อเลี้ยง เพราะฉะนั้นเมื่อเข้าสู่ฤดูฝนก็จะมีการเลี้ยงปู่แสะย่าแสะ จะมีการบวงสรงด้วยเนื้อสดๆ นี้คือที่มาของปู่แสะย่าแสะยัดษ์ที่ชอบกินเนื้อมนุษย์เป็นอาหาร


สำหรับประวัตินั้น ยักษ์ปู่แสะย่าแสะเป็นยักษ์ผู้ดูแลพระธาตุดอยคำ เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมาที่นี่ เทศนาโปรดยักษ์แล้วก็ทรงประธานพระเกษาให้ยักษ์ทั้ง 3 ตนก็บอกว่าให้นำมาบรรจุไว้ที่พระธาตุดอยคำแห่งนี้ ต่อไปในอนาคตก็จะเป็นสถานที่กราบไว้ของประชาชน เรียกว่า วัดพระธาตุดอยคำ ซึ่งยักษ์ผู้เป็นลูกหลังจากที่ได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าก็เกิดความเลื่อมใสศรัทธา จึงขออนุญาตจากพ่อแม่ไปบวชเป็นฤาษีเรียกว่า ฤาษีสุเทพ อาศัยอยู่ในถ่ำใต้วัดพระธาตุดอยคำแห่งนี้ และสุดท้ายฤาษีสุเทพก็ไปเป็นประธานในการก่อสร้างเมืองลำพูน โดยวัดพระธาตุดอยคำแห่งนี้มีอายุถึง 1,333 ปี หลังจากนับจากที่บรรจุพระธาตุเรียบร้อยมา

ด้านนายธนวัฒน์ ยอดใจ นายกเทศมนตรีเมืองแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า ในส่วนการจัดงานประเพณีเลี้ยงดง หรือเลี้ยงปู่แสะย่าแสะ ในปีนี้เทศบาลเมืองแม่เหียะได้ร่วมกับสภาวัฒนธรรมเมืองแม่เหียะพร้อมด้วยชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้าน แต่ในปีนี้เนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทางเทศบาลยังคงจัดประเพณีเลี้ยงดงปู่แสะย่าแสะอยู่ แต่จัดพิธีกันแบบเรียบง่าย เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไวรัสโควิด-19 แต่ก็ได้ทำการบวงสรวง ทำบุญ และประเพณีเลี้ยงครบทุกขั้นตอน ซึ่งในส่วนของพิธีบวงสรวงก็ดำเนินการทำพิธีที่เชิงวัดพระธาตุดอยคำ งดการฆ่าควายเนื่องจากมาตราการป้องกันโควิด-19 มาตราการของการเว้นระยะห่าง จึงได้เชิญผู้นำหมู่บ้าน,ผู้นำตำบลแม่เหียะเข้าร่วมพิธีเท่านั้นไม่เกิน 40 คน โดยทำประเพณีนี้เหมือนเดิมทุกอย่าง อันเชิญดวงวิญญาณของปู่แสะย่าแสะมารับเครื่องเส้น ซึ่งเครื่องเส้นไหว้ของปีนี้ก็เป็นเนื้อควายและเลือดสดๆ เหมือนเดิมแต่ยกเว้นการฆ่า

นายกเทศบาลเมืองแม่เหียะกล่าวอีกว่า สำหรับปีนี้ก็ได้อัญเชิญพระบฏขึ้นบนต้นไม้เหมือนเดิม และในปีนี้พระบฏก็ยังแกว่งไกวขณะที่ไม่มีลม ซึ่งพระบฏแกว่งไกวก็หมายถึง การทำนายทายทักว่า ถ้าพระบฏแกว่งไกวก็หมายถึงฝนฟ้าจะตกต้องตามฤดูกาล พี่น้องประชาชนก็จะมีความสุขทำการเกษตรก็จะได้ผลดี ซึ่งทางคณะผู้จัดงานก็ได้ขอพรจากปู่แสะย่าแสะขอให้เชื้อโรคโควิด-19 ขอให้หายไปจากประเทศไทย ขอให้หายไปจากจังหวัดเชียงใหม่ ไม่ให้มีการแพร่ระบาด และก็ต้องขอโทษประชาชนและสื่อมวลชนที่มีความนับถือในประเพณีเลี้ยงดงปู่แสะย่าแสะ ซึ่งทุกๆปี จะมีการมาร่วมงานหลายพันคนมาไหว้ปู่แสะย่าแสะ แต่ปีนี้ดำเนินการแบบเงียบๆ แต่ก็ทำถูกต้องตามประเพณีทุกอย่าง ซึ่งการจัดงานประเพณีเลี้ยงดงจะจัดขึ้นในวัน 14 ค่ำเดือน 8 ในปีนี้ตรงกับวันที่ 4 มิถุนายน 2563

ภาพการจัดงานปีที่ผ่านมา