แม่ฮ่องสอน อำเภอขุนยวม ร่วมปลูกผัก ปลูกรัก ชาวขุนยวม ขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการ Quick win 90 วัน

แม่ฮ่องสอน อำเภอขุนยวม ร่วมปลูกผัก ปลูกรัก ชาวขุนยวม ขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการ Quick win 90 วัน ปลูกผักสวนครัว เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ว่าที่ร้อยตรี ณรงค์ชัย จินดาพันธ์ นายอำเภอขุนยวม เป็นประธาน “ปลูกผัก ปลูกรัก ชาวขุนยวม” ขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการ Quick win 90 วัน ปลูกผักสวนครัว เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร ณ บริเวณรอบ ที่ว่าการอำเภอขุนยวม โดยมีนางสาวภารดี ประไม พัฒนาการอำเภอขุนยวม พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการอำเภอขุนยวม ข้าราชการ/เจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วนเข้าร่วมกันอย่างพร้อมเพรียง โดยมีมาตรการจัดกิจกรรมแบบเว้นระยะห่าง (Social Distancing)


ในการนี้ มีกิจกรรมมอบพันธุ์ผักสวนครัว และการเอามื้อสามัคคี ปลูกผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร ร่วมด้วยช่วยกันจัดโซนผักสวนครัว บริเวณรอบที่ว่าการอำเภอ โดยแบ่งเป็นล็อค ล็อคละส่วนราชการ จำนวน 14 ล็อก/14 ส่วนราชการ ประกอบด้วยพัฒนาชุมชนอำเภอ ,ปกครองอำเภอ ,เกษตรอำเภอ, กศน.อำเภอ ,ธนาคารกรุงไทย สาขาขุนยวม, โรงเรียนขุนยวมวิทยา ,สรรพากรอำเภอ ,สาธารณสุขอำเภอ, สหกรณ์อำเภอ ,ท้องถิ่นอำเภอ, ปศุสัตว์อำเภอ, ประมงอำเภอ ,สัสดีอำเภอ ,กองร้อย อส.

สำหรับส่วนผักทีปลูก ประกอบด้วย ผักชี ,ผักบุ้ง ,คะน้า, กวางตุ้ง, ต้นหอม, ถั่วฝักยาว ,มะเขือม่วงยาว, พริก เพื่อเป็นการสร้างกระแส และกระตุ้นให้กิจกรรมการปลูกผักสวนครัวขับเคลื่อนไปอย่างรวดเร็ว อีกทั้งเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนในพื้นที่ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ได้บริโภคพืชผักปลอดภัย รวมทั้งช่วยลดรายจ่ายในการดำรงชีวิตในครัวเรือนในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และเป็นต้นแบบขยายผลไปสู่ตำบล หมู่บ้าน และครัวเรือน พร้อมกันนี้ได้มอบแนวทางในการจัดเก็บเมล็ดพันธุ์เข้าสู่กองทุนต่อไป… #ผู้นำต้องทำก่อน………

 

######บัวตองบาน ธารน้ำใสน้ำใจงาม นามขุนยวม#######

เชียงราย ชาวบ้านเดือดร้อนถูกหลอกให้ซื้อที่ดินรวม 500 ไร่ กว่า 10 ปี สูญเงินกว่า 20 ล้าน

ชาวบ้านในพื้นที่อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย เดือดร้อนถูกหลอกให้ซื้อที่ดินรวม 500 ไร่ กว่า 10 ปี สูญเงินกว่า 20 ล้าน

นายวงศ์ศิริ วโรสัน ประธานสหพันธ์ม้งและชนเผ่าแห่งสยาม ชาวบ้านหมู่ 9 ต.ดงมหาวัน อ.เวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย พร้อมตัวแทนชาวบ้าน มีนายลีป๋อ แซ่ว่าง อายุ 49 ปี เป็นชาวบ้านใน ต.ดงมหาวัน และชาวบ้านจำนวนหนึ่ง ได้ทำหนังสือถึงนายไพจิตร ศรีวรขาน ประธานคณะกรรมาธิการการปกครองสภาผู้แทนราษฏร โดยมีตัวแทนมารับหนังสือ คือนายวีระวุฒิ เทพเรือง (พ่อเลี้ยงโปงลาง) กรรมาธิการการปกครองสภาผู้แทนราษฎร และเป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ชมรมทหารกองหนุน และทหารผ่านศึก (ชุดปฏิบัติการ) อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ พร้อม พ.อ.จงกล บุญเรือง ประธานชมรมทหารกองหนุนและทหารผ่านศึก (ชุดปฏิบัติการ) อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ โดยนายวีระวุฒิ และ พ.อ.จงกล รับทราบความเดือดร้อนจากชาวบ้านที่ถูกหลอกให้ซื้อที่ดินทั้งหมด รวมประมาณกว่า 500 ไร่ เป็นเวลานานประมาณกว่า 10 ปี เริ่มตั้งแต่ พ.ศ.2552 จนถึงปัจจุบัน โดยในราคาเริ่มต้นปี พ.ศ.2553 ไร่ละ 35,000 บาท และปัจจุบันราคาไร่ละ 50,000 บาทถึง 100,000 บาท อยู่ที่ว่าพื้นที่ดินมีทำเลดีหรือไม่ ที่ดินทั้งหมดอยู่ หมู่ 9 ต.ดงมหาวัน อ.เวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย รวมแล้วมูลค่าเสียหายมากกว่า 20 ล้านบาท


สำหรับปัญหาดังกล่าว สืบเนื่องจากสหพันธ์ม้งและชนเผ่าแห่งสยาม มีสมาชิกชนเผ่า จำนวน 22 ชนเผ่าจากทั่วประเทศ ได้จัดทำโครงการ “คนไทยไม่ทิ้งกัน” ในช่วงที่เกิดปัญหาวิกฤตโรคระบาด โควิด-19 สมาชิกชนเผ่าระดมข้าวสารและอาหารแห้ง จำนวนประมาณ 5 ตัน พร้อมอุปกรณ์ทางการแพทย์ส่วนหนึ่งนำส่งมอบให้ชาวบ้านและสถานพยาบาล ในพื้นที่ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ ไปเมื่อวันที่ 23 เม.ย.2563 และส่งมอบข้าวสารและอาหารแห้งอุปกรณ์การแพทย์ดังกล่าวส่งให้ชาวบ้านใน อ.ดอยสะเก็ด ไปเมื่อวันที่ 24 เม.ย.ที่ผ่านมา จึงมีโอกาสได้พูดคุยถึงปัญหาของชนเผ่าและชาติพันธุ์ต่างๆในภาคเหนือ


กรรมาธิการการปกครองสภาผู้แทนราษฎร จึงทราบปัญหาจากชนเผ่าต่างๆในพื้นที่ภาคเหนือ พบปัญหาดังกล่าวล่าสุดนี้ว่า มีผู้นำชาวบ้านในหมู่บ้าน ต.ดงมหาวัน อ.เวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย โดยชาวบ้านได้ถูกชักชวนให้มาจับจองและซื้อที่ดินอยู่อาศัยถาวร โดยผู้นำชุมชนได้เป็นผู้ขายให้ และชาวบ้านจากพื้นที่ต่างๆทั่วภาคเหนือใน จ.ตาก จ.พะเยา จ.น่าน และ จ.เชียงราย ก็ขายบ้านตนเองในพื้นที่ต่างๆ มาซื้อที่ดินที่ ต.ดงมหาวัน ดังกล่าว เพื่อหวังว่าจะอยู่อาศัยไปชั่วชีวิต ตั้งแต่ พ.ศ.2552 หรือประมาณกว่า 11 ปีที่ผ่านมา ในราคาเริ่มต้นเพียง 1 ไร่ ราคาจับจองและซื้อราคา 35,000 บาท และต่อมาราคาแพงขึ้น ไร่ละ 50,000-100,000 บาท ชาวบ้านได้ซื้อไปแล้วจำนวนประมาณ 500 ไร่ คนละ 1-2 ไร่


ต่อมาในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา พบปัญหาว่ามีนายทุนชาวจีน นำเครื่องจักรและรถไถ และรถแม็คโคร จะมาทำการรื้อถอนบ้านชาวบ้าน จึงนำเรื่องดังกล่าวแจ้งความกับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจถึงปัญหาดังกล่าว รวมทั้งทำหนังสือถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถึงผู้ว่าราชการจังหวัด และทางกำนันผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่รับผิดชอบหมดแล้ว แต่เกิดปัญหาโรคระบาดไวรัสโคโรน่า โควิด-19 ระบาดเสียก่อน ปัญหาและเรื่องดังกล่าวจึงชะลอไว้ก่อน


นายลีป๋อ แซ่ว่าง อายุ 49 ปี เป็นชาวบ้านใน ต.ดงมหาวัน ผู้เดือดร้อนคนหนึ่ง เปิดเผยทั้งน้ำตา ว่า ได้ซื้อที่ดินไว้จำนวน 2 ไร่ ในราคา 70,000 บาท (เจ็ดหมื่นบาท) เมื่อ พ.ศ.2552 โดยซื้อจากนายบัญฑิต แสงเสรีธรรม และนายไทธชา แสงเสรีธรรม สองคนพี่น้องอ้างว่าเป็นเจ้าที่ดินได้เชิญชวนชาวเขาเผ่าต่างๆ มาซื้อจะขายในราคาถูกและให้ปลูกพืชผักขายได้ มีการโฆษณาทางสื่อวิทยุชนเผ่าอีกด้วย ซึ่งก็พบว่ามีชาวเขาเผ่าต่างๆ มาซื้อที่ดินในพื้นที่ปัญหาดังกล่าว จากที่ตนได้มีบ้านเดิมอยู่ จ.ตาก ได้ขายที่ดินจาก จ.ตากแล้วมาซื้อที่ จ.เชียงราย แต่ก็มาพบปัญหาในช่วงหลายปีที่ผ่านมาก็ถูกนายทุนชาวจีนนำเครื่องจักร เครื่องยนต์ รถไถ มาจะรื้อบ้านเรือนของตน อ้างว่าได้ซื้อจากเจ้าของที่ดินแล้ว ตนก็วิ่งเต้นถามถึงที่ดินที่ซื้อกับนายบัญฑิต และนายไทธชา สองพี่น้อง เพราะต้องการทราบว่าใครเป็นเจ้าของตัวจริง ร้องไปที่กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และแจ้งความกับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ และร้องไปที่ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดเชียงใหม่ไปหมดแล้ว ซึ่งล่าสุดก็มีการข่มขู่จะรื้อถอนบ้านอีก จึงนำเรื่องแจ้งที่สหพันธ์ม้งและชนเผ่าแห่งสยาม และร้องนายไพจิตร ศรีวรขาน ประธานคณะกรรมาธิการการปกครองสภาผู้แทนราษฏร ให้ทราบปัญหาดังกล่าว

ล่าสุดนายวีระวุฒิ เทพเรือง กรรมาธิการการปกครองสภาผู้แทนราษฎร จึงได้รับเรื่องปัญหาความเดือดร้อนของชาวบ้านดังกล่าว เพื่อนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมาธิการการปกครองสภาผู้แทนราษฏร ในวันที่ 22 พ.ค.2563 กรณีปัญหาความเดือดร้อนของชาวบ้านเพื่อให้หน่วยงานที่ทราบปัญหาแก้ไขต่อไป เพราะชาวบ้านมีความเดือดร้อนมานานกว่า 10 ปีแล้วต่อไป.

แม่ฮ่องสอน กรมทหารพรานที่ 36 แม่สะเรียง ช่วยเหลือราษฎรในพื้นที่รับผิดชอบ

แม่ฮ่องสอน กรมทหารพรานที่ 36 แม่สะเรียง ช่วยเหลือราษฎรในพื้นที่รับผิดชอบ ที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19

วันที่ 28 เม.ย. 63 พ.อ.สมรรถชัย แปงสาย ผบ.ฉก.ทพ.36 มอบหมายให้ผช.น.ฝกร.ฯ เป็นผู้แทนฯ มอบเงินสดจำนวนหนึ่ง และน้ำดื่มจำนวน 2 โหล ฯลฯ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน เบื้องต้นให้กับ นางสาวศรีสม ปันภิมล อายุ 72 ปี อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 136/4 ต.แม่สะเรียง อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งมีอาชีพรับซัก รีดผ้า ที่ผ่านมาได้รับผลกระทบ เนื่องจากไม่มีลูกค้ามาอุดหนุน ทำให้เกิดอาการเครียด และร้องขอความช่วยเหลือไปยังหน่วยงานต่าง ๆ

นอกจากนี้ กรมทหารพรานที่.36 ยังได้ช่วยเหลือในการให้ ประชาชน ราษฎรที่เป็นลูกค้าเดิมอยู่แล้ว และลูกค้ารายใหม่ ให้ไปใช้บริการซัก รีด ที่ร้านได้ตามปกติ ซึ่งทางร้านได้มีมาตรการป้องกันโรคโควิด-19 ตามคำแนะนำของสาธารณสุขอำเภอแม่สะเรียง อย่างเคร่งครัด โดย ปชส.ผ่านสถานีวิทยุสามหมอกเรดิโอฯ ระบบ FM.100 MH.z ออกอากาศจากค่ายเทพสิงห์ ต.บ้านกาศ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอนทุกเช้าเย็นอีกด้วย

เชียงใหม่ รองแม่ทัพภาคที่ 3 ตรวจเยี่ยมให้กำลังใจ ทีม UAV อากาศยานไร้คนขับ

รองแม่ทัพภาคที่ 3 ตรวจเยี่ยมให้กำลังใจ ทีม UAV : อากาศยานไร้คนขับ กองทัพบก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

พล.ท.ฉลองชัย ชัยยะคำ แม่ทัพภาคที่ 3 / ผู้บัญชาการกองบัญชาการควบคุมสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควันภาคเหนือ กองทัพภาคที่ 3 ส่วนหน้า มอบหมายให้ พล.ต. จิรเดช กมลเพ็ชร รองแม่ทัพภาคที่ 3 ในฐานะรองผู้บัญชาการกองบัญชาการควบคุมสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควันภาคเหนือ กองทัพภาคที่ 3 ส่วนหน้า พร้อมคณะตรวจเยี่ยมให้กำลังใจ ทีม UAV : อากาศยานไร้คนขับ เพื่อใช้ในการบินลาดตะเวนตรวจจุดความร้อนในห้วงที่เกิดจุดความร้อนในพื้นที่ภาคเหนือ ที่กองบิน 41 จังหวัดเชียงใหม่


ด้าน พ.ต.จิตรกร พุกเนียม ผบ.ชุดอากาศยานไร้ขนขับ กล่าวว่า กองทัพบก ส่งอากาศยานไร้คนขับ (UAV: Unmanned Aerial Vehicle) แบบ Hermes 450 สนับสนุนภารกิจให้กับ กองบัญชาการควบคุมสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควัน ภาคเหนือ กองทัพภาคที่ 3 ส่วนหน้า ตั้งแต่วันที่ 13 เม.ย. 63 จนถึงปัจจุบันได้ขึ้นบินลาดตะเวนตรวจจุดความร้อน จำนวน 6 วัน 30.45 ชั่วโมง ตรวจบพบจุดความร้อน 152 เป้าหมาย

ทั้งนี้อากาศยานไร้คนขับ Hermes 450 สามารถปฏิบัติการได้ทั้งกลางวันและกลางคืน มีเพดานบินสูงสุด 18,000 feet บินได้นาน 18 ชั่วโมง พิสัยปฏิบัติการ 250 กิโลเมตร น้ำหนักระบบ 345 กิโลกรัม สามารถวิ่งขึ้นด้วยน้ำหนักบรรทุกสูงสุดได้ 490 กิโลกรัม

 

แม่ฮ่องสอน นายอำเภอแม่สะเรียงรับมอบข่าวสาร-ผักปลอดสารพิษจากกำนันไปแจกผู้ได้รับผลกระทบโควิด-19

นายอำเภอและกิ่งกาดชาดอำเภอแม่สะเรียงรับมอบข้าวสารและผักปลอดสารพิษ จากกำนันตำบลป่าแป๋ เพื่อนำไปแจกจ่ายผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 28 เมษายน 2563 นายสังคม คัดเชียงแสน นายอำเภอแม่สะเรียง นางวิลาวัณย์ คัดเชียงแสน นายกกิ่งกาชาดอำเภอแม่สะเรียง พร้อมด้วยกรรมการสมาชิกกิ่งกาชาดอำเภอแม่สะเรียง รับมอบข้าวสารจำนวน 2 ตัน และผักปลอดสารพิษ จำนวน 500 กก.จากกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และชาวบ้าน ต.ป่าแป๋ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอนเพื่อนำไปจ่ายแจกให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากไววัสโควิด-19 ต่อไป

เชียงใหม่ รองแม่ทัพภาคที่ 3 ขอบคุณทุกหน่วยฯช่วยแก้ไขปัญหาไฟป่า

รองแม่ทัพภาคที่ 3 ขอบคุณหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันในพื้นที่ ส่งผลให้วันนี้คุณภาพอากาศดีขึ้นเป็นวันที่ 2

วันนี้(28 เม.ย.) เวลา 09.00 พล.ต. จิรเดช กมลเพ็ชร รองแม่ทัพภาคที่ 3 รองผู้บัญชาการกองบัญชาการควบคุมสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควันภาคเหนือ กองทัพภาคที่ 3 ส่วนหน้าเป็นประธานการประชุมผ่าน VTC ร่วมกับ 9 จังหวัดภาคเหนือ เพื่อติดตามสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควันที่จังหวัดเชียงใหม่ ภายหลังช่วงนี้สภาพอากาศทางภาคเหนือมีคุณภาพอากาศดีขึ้นเนื่องจากหลายจังหวัดเกิดฝนตก

รองแม่ทัพภาคที่ 3 รองผู้บัญชาการกองบัญชาการควบคุมสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควันภาคเหนือ กองทัพภาคที่ 3 ส่วนหน้า กล่าวว่า เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อน และแห้งแล้ง ในปีนี้เริ่มตั้งแต่ ธ.ค. 62 เป็นต้นมา ประกอบกับสภาพภูมิประเทศเป็นแอ่งกระทะ และความกดอากาศสูงอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ ม.ค. 63 ทำให้ค่าคุณภาพอากาศ เกิดผลกระทบมากกว่าปีที่แล้ว แต่ด้วยการทำงานร่วมกันอย่างบูรณาการ ทำให้ความรุนแรงของสถานการณ์น้อยกว่า จึงขอขอบคุณทุกท่านที่มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันในพื้นที่ ให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี


รองแม่ทัพภาคที่ 3 รองผู้บัญชาการกองบัญชาการควบคุมสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควันภาคเหนือ กองทัพภาคที่ 3 ส่วนหน้า กล่าวต่อว่า ในส่วนของการบริหารจัดการเชื้อเพลิง หลังห้วงประกาศห้ามเผา( 30 เม.ย.63 ) ขอให้แต่ละจังหวัดดูความเหมาะสมของสถานการณ์ค่าอากาศในพื้นที่ด้วย หากมีค่าคุณภาพอากาศที่เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน ก็ควรพิจารณาหยุดเผาในทันที


อย่างไรก็ตามกองบัญชาการควบคุมสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควันภาคเหนือ กองทัพภาคที่ 3 ส่วนหน้า เตรียมจัดทำแผนบทเรียน ผลการดำเนินงานการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน ประจำปี 2563 ของแต่ละจังหวัด เพื่อรอจัดทำแผนบทเรียนระดับประเทศ ร่วมกับ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในห้วงวันที่ 19 – 20 พ.ค. 63 ที่ จังหวัดเชียงใหม่

(คลิป)เชียงใหม่ มอบไข่ไก่ให้ ตร.ภ. 5 เป็นขวัญกำลังใจสู้โควิด-19

เทศบาลตำบลสำราญราษฏร์ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ นำไข่ไก่จำนวน 3,000 ฟอง เป็นไข่ไก่ที่มีคุณภาพ แม่ไก่เลี้ยงด้วยโปรตีนของถั่วเหลือง นำมามอบให้กับผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 เพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้กับตำรวจสังกัดตำรวจภูธรภาค 5 ดูแลประชาชนต่อสู้การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19

ที่กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 อำเภอเมือง เชียงใหม่ ดร.เกษม ปารมีศิลป์ขจร นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลสำราญราษฏร์ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมเจ้าหน้าที่เทศบาล นำไข่ไก่จำนวน 3,000 ฟอง มามอบให้กับ พลตำรวจโทประจวบ วงศ์สุข ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 เพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้กับตำรวจสังกัดตำรวจภูธรภาค 5 ที่ต้องเหน็ดเหนื่อยในการทำงานในช่วงการระบาดของไวรรัสโควิด-19 ซึ่งจะจัดเวรยามตั้งจุดตรวจร่วมกับฝ่ายปกครองคัดกรองผู้ที่เดินทางระหว่างจังหวัด และในยามค่ำคืนต้องจัดเวรออกมาตั้งจุดตรวจในช่วงเคอร์ฟิวในแต่ละวัน ขณะที่หน่วยงานอื่นๆ โดยเฉพาะบุคลากรทางการแพทย์ ก็มีผู้มีจิตศรัทธาหลั่งไหลช่วยกันบริจาคอุปกรณ์ทางการแพทย์และสิ่งของต่างๆ จำนวนมากแล้ว จึงเห็นว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งทำงานหนักเช่นกันก็ควรที่จะได้รับอาหารที่มีโปรตีนไปรับประทาน ซึ่งไข่ไก่ที่ได้จัดเตรียมมาจำนวน 3,000 ฟองนั้น ก็ได้เลือกไข่ไก่จากฟาร์มที่มีคุณภาพ เป็นฟาร์มไก่ไข่ที่ใช้โปรตีนจากถั่วเหลืองเลี้ยงแม่ไก่เป็นโปรตีนธรรมชาติ จึงไม่มีสารพิษใดๆ ตกค้าง


ด้านพลตำรวจโทประจวบ วงศ์สุข ผู้บัญชาการจำรวจภูธรภาค 5 กล่าวว่า ขอขอบคุณนายกทศมนตรีเทศบาลตำบลสำราญราษฏร์ที่ได้นำไข่ไก่ที่มีคุณภาพมามออบให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรภาค 5 ซึ่งหลังจากรับเอาไว้ก็จะนำไปแจกจ่ายให้กับข้าราชการตำรวจที่ทำหน้าที่ดูแลพี่น้องประชาชน เพื่อมิให้มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งตำรวจก็จะทำงานเพื่อประชาชนต่อไป

เชียงใหม่ น้ำใจสหพันธ์ม้งและชนเผ่าแห่งสยามจับมือชมรม ทหารกองหนุนชาวเหลือชาวบ้าน

น้ำใจ สหพันธ์ม้งและชนเผ่าแห่งสยาม จับมือ ชมรม ทหารกองหนุน ทหารผ่านศึก อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ช่วยเหลือชาวบ้าน อำเภอดอยสะเก็ด กว่า 300 ครัวเรือน ในยามวิกฤตไวรัสโควิด-19

ที่สนามกีฬา เทศบาลตำบลแม่โป่ง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ สหพันธ์ม้งและชนเผ่าแห่งสยาม ร่วมกับ ชมรมทหารกองหนุนและทหารผ่านศึกอำเภอดอยสะเก็ด ได้นำถุงยังชีพ มาแจกจ่ายให้กับประชาชน ในตำบลแม่โป่ง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ รวม 10 หมู่บ้าน เพื่อเป็นการ ช่วยเหลือเยียวยาประชาชน ที่ได้รับผลกระทบ จากวิกฤตไวรัสโควิด-19 ซึ่งมีทั้งผู้ป่วยติดเตียง ผู้ยากไร้ที่ทางสหพันธ์ ม้งและชนเผ่าแห่งสยาม และคณะ ได้นำถุงยังชีพ มามอบให้ ซึ่งมีทั้ง ข้าวสารอาหารแห้ง มาม่าปลากระป๋อง น้ำมันพืช รวมถึงเจลเเอนกอฮอล์ และหน้ากากอนามัย โดยก่อนหน้านั้นได้มอบถุงยังชีพให้กับ ผู้ป่วยติดเตียงไปแล้ว จำนวน 200 กว่าชุด

ล่าสุดได้มอบให้กับประชาชน อีกจำนวน 320 ชุด ถุงยังชีพ จาก นายวงศ์ศิริ วโรสัน ประธานสหพันธ์ มุ้งและชนเผ่าแห่งสยาม ณ คริสตจักรความเชื่อพระเยซู อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย และ สมาชิก ชมรมทหารกองหนุน ทหารผ่านศึก อำเภอดอยสะเก็ด ร่วมบริจาค สมทบ


ทั้งนี้ ทางสหพันธ์ฯและชมรม ทหารกองหนุนและทหารผ่านศึก อำเภอดอยสะเก็ด ยังเปิดรับบริจาค และให้ความช่วยเหลือแก่พี่น้องประชาชนในพื้นที่อื่นๆ จนกว่าจะพ้น สภาวะวิกฤตการแพร่เชื้อไวรัสโควิด-19

สำหรับความเป็นมาของ สหพันธ์ม้งและชนเผ่าแห่งสยาม เมื่อครั้งอดีต นายใสดัว เเซ่ว่าง หรือนายเพียะ และภรรยา นางเคียะหรือนางเอียะ ทั้งสองเป็นบิดาและมารดาของนาย วงศ์ศิริ วโรสัน ประธานสหพันธ์ม้งและชนเผ่าแห่งสยามในปัจจุบัน ย้อนกลับไปเมื่อช่วง 40 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยได้เกิดสงคราม ระหว่าง กลุ่มคอมมิวนิสต์จีนแดงกับกองทัพไทย ในช่วงเวลานั้น นายใสดัวแซ่ว่าง หรือนายเพียะ ได้เข้าร่วม กองทัพ ต่อต้านระบบคอมมิวนิสต์ จีนแดง ในพื้นที่เขตเขาค้อจังหวัดเพชรบูรณ์ และเขาหินร่องกล้า, ภูสอยดาว, บ้านร่มเกล้าจังหวัดพิษณุโลก ขณะนั้น พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เป็น ผบ.ทบ

ในช่วงก่อนสิ้นสุดสงคราม พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ได้แต่งตั้งให้ นายใสดัว แซ่ว่าง(เพียะ) เป็นผู้นำกลุ่มชาวม้ง โดยตรง เพื่อใช้แผนเจรจาต่อรอง ด้วย ม.66/23 ของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เนื่องจากช่วงเวลานั้น กลุ่มคอมมิวนิสต์จีนแดงที่อยู่ในป่าส่วนใหญ่ ก็เป็นชาวม้งด้วยกันทั้งสิ้น โดยกลุ่มชาวม้งซึ่งนำโดย นายเพียะ ได้เข้าเจรจาหยุดยิง และเข้ามอบตัวร่วมกับกองทัพไทย สงครามก็ได้ยุติลง ต่างแยกย้ายกันกลับภูมิลำเนาเดิมของตน

(คลิปภาพ )

ต่อมาเมื่อพ.ศ 2556 นายวงศ์ศิริ วโรสัน( บุตรชายนายเพียะ) ได้ตระหนักและเกิดความห่วงใย ต่อพี่น้องชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง และชนเผ่าอื่นๆ ที่อยู่อาศัยในประเทศไทยมานานหลายสิบปี แต่ยังไม่ได้รับสัญชาติไทย ที่ถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งๆที่ทราบกันดีว่า ที่ผ่านมาครั้งอดีต กลุ่มคนเหล่านี้ ได้ร่วมรบสงคราม ปกป้องประเทศชาติ และบางส่วนก็ยัง ไม่มีที่อยู่อาศัย เป็นของตัวเอง

ด้วยเหตุนี้ นายวงศ์ศิริ วโรสัน จึงได้ขอคำแนะนำ จากบิดา(นายเพียะ) ซึ่งปัจจุบันอายุ 80 ปี โดยหาช่องทางเพื่อเข้าพบกับพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เพื่อกลับมาแก้ไขปัญหาดังกล่าวตาม ม.66/23 ตามที่ได้ตกลงกัน หลังสงครามยุติ โดยพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ก็ได้แนะนำให้นาย วงศ์ศิริ วโรสัน ก่อตั้งโครงการใดโครงการหนึ่ง เพื่อเป็นการรวบรวมกลุ่มสมาชิกชาติติพันธ์ ที่ยังไม่มีสัญชาติและที่อยู่อาศัย สหพันธ์ม้งและชนเผ่าแห่งสยาม จึงได้ถือกำเนิดก่อตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ 2558 จนถึงปัจจุบัน สหพันธ์ม้งและชนเผ่าแห่งสยาม ได้มีสมาชิกเพิ่มขึ้น เป็น 22 ชนเผ่า อันได้แก่ 1 .ชนเผ่าม้ง 2 .ชนเผ่าเมี่ยน 3 ชนเผ่าลาหู่ 4 .ชนเผ่าลีซู 5 .ชนเผ่าอาข่า 6 ชนเผ่าไทยยูนาน 7 .ชนเผ่าไทยใหญ่ 8 .ชนเผ่าปกาเกอะญอ 9 .ชนเผ่าไทลื้อ 10 .ชนเผ่าขมุ 11 .ชนเผ่าถิ่น 12 .ชนเผ่าปะหล่อง 13 .ชนเผ่าคะฉิ่น 14 .ชนเผ่าดอยสาม จีม 15. ชนเผ่าลัวะ 16 .ชนเผ่าไทยลาวซ่ง 17 ชนเผ่านากะ 18 .ชนเผ่ามอแกน 19. ชนเผ่าชีน 20 .ชน เผ่าซาไก 21 .ชนเผ่าโมิเกล 22. ชนเผ่ากะยันบะตอง

ต่อมาเมื่อวันที่ 23 พ.ย. 2560 สหพันธ์ม้งและชนเผ่าแห่งสยาม ได้จัดงาน ปฏิญาณตนต่อสถาบัน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ที่หมู่บ้านผาแตก ตำบลพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย โดยมี พลโท อนุธัช บุนนาค หัวหน้าศูนย์ประสานงานประเทศเพื่อนบ้านศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก)มาเป็นประธานเปิดงานปฏิญาณตนและได้เชิญท่านณรงค์ศักดิ์โอสถธนากร(ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย)มาร่วมเป็นพยานด้วยว่าเรากลุ่มชาติพันธ์รวบรวมเป็นกลุ่มเป็นก้อนเป็นปึกแผ่นน้ำหนึ่งใจเดียวร่วมใจสร้างคุณงามความดีให้กับประเทศชาติบ้านเมืองอย่างถุกต้องต่อไปนับแต่นั้นมาสหพันธ์จึ่งได้ออกบัตรสมาชิกให้สมาชิกผู้ที่จะร่วมจิตอาสาสร้างคุณงามความดี


ในเดือนมีนาคม พศ 2561 สหพันธ์ม้งและชนเผ่าแห่งสยามได้รับหนังสือเชิญร่วมทำบุญทอดผ้าป่าด้วยร่วมใจบริจาคระหว่าง 4 ประเทศเพื่อนบ้านเช่น 1. ประเทศกัมพูชา เมื่วันที่ 7 มิถุนายน พศ.2561  2. ประเทศเมียนมา 3. ประเทศมาเลเซีย 4. ประเทศลาว ครั้งนี้สมาชิกทุกเผ่าก็ได้ร่วมใจสมทบทำบุญ100,000 บาท


ต่อมาวันที่ 13 สิงหาคม พศ. 2561 กลุ่มสหพันธ์ม้งและชนเผ่าแห่งสยามได้ร่วมการปลูกป่ากับเจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติเขตรับผิดชอบสำนักบริหารพื้นี่อนุรักษ์ที่ 15 เชียงราย จำนวน200 กว่าไร่ในพื้นที่บ้านต้นฝาง ต.ออย อ.ปง จ.พะเยาทำให้สหพันธ์ได้มีโอกาสรับโล่เกียรติคุณสร้างความคุณงามความดีให้ประเทศชาติจากท่านอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ และขณะนี้ก็เป็นช่วงที่ ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ได้รับผลกระทบจากการแพร่เชื้อไวรัสโควิด-19 ทางกลุ่มสหพันธ์ม้งและชนเผ่าแห่งสยาม จึงได้ร่วมกับทหารกองหนุน และทหารผ่านศึก อำเภอดอยสะเก็ด ร่วมใจกันบริจาคถุงยังชีพ ช่วยเหลือพี่น้องชาวไทย ที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่ชุมชนต่างๆ นับว่า ทางกลุ่มสหพันธ์ฯ ได้เข้ามามีบทบาท ช่วยเหลือพี่น้องชาวไทย ทั้งในยามสงบ และยามทุกข์ สร้างคุณประโยชน์ต่อชาติบ้านเมืองมาโดยตลอด


ส่วนปัญหาที่ทางพี่น้องสหพันธ์ม้งและชนเผ่าแห่งสยาม ต้องการ ให้ภาครัฐ เข้ามาช่วย เหลือในตอนนี้ คือ 1. การขอสัญชาติไทยให้กับพี่น้องชนเผ่าที่ยังไม่มีสัญชาติ ซึ่งอาศัยอยู่ในประเทศไทยมาเป็นเวลานานแล้ว 2. เรื่องที่อยู่อาศัยกับกลุ่มที่ยังไม่มีที่อยู่อาศัย ถูกต้องตามกฎหมาย ส่วนมากจะอยู่บนภูเขา 3. การเข้าร่วมกับภาครัฐช่วยปลูกป่าเพื่อประเทศชาติ 4. การเข้าร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ปกป้อง ประเทศ ไม่ให้ สิ่งผิดกฎหมาย เช่น ยาเสพติด ไม่ให้เข้ามาในดินแดนประเทศไทยได้

เชียงใหม่ พ่อเฒ่าชาวลำพูนชะตาขาด ฟ้าผ่าสายไฟแรงสูงขาดพาดโดนรถไฟไหม้ดับ

พ่อเฒ่าชาวจังหวัดลำพูนชะตาขาด ขับรถกระบะมาโรงงานที่เชียงใหม่เพื่อจะรับกระเทียมไปแกะที่บ้าน ขณะจอดรถเพื่อเปิดประตูโรงงาน ฟ้าผ่าสายไฟฟ้าแรงสูงขาดมาพาดตัวเองถูกช็อตจนตัวไหม้เกรียม และกระแสไฟยังช็อตรถจนไฟไหม้ทั้งคัน

เหตุดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อเวลา 14.30 น. วันนี้(25 เม.ย.) เจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ รับแจ้งมีเหตุไฟไหม้รถ และมีผู้เสียชีวิตถูกเพลิงไหม้ในที่เกิดเหตุ บริเวณประตูปากทางเข้าโรงงานแกะหอม-กระเทียม เลขที่ 191 ตำบลสันพระเนตร ริมถนนสายเชียงใหม่-ดอยสะเก็ดขาเข้าเมือง ห่างจากวงแหวนแยกแม่กวงไปประมาณ 200 เมตร จึงประสานไปยังรถดับเพลิงของเทศบาลตำบลสันพระเนตรและเทศบาลตำบลสันนาเม็ง เดินทางไปยังจุดเกิดเหตุ


เมื่อไปถึงพบไฟกำลังลุกไหม้รถยนต์กระบะโตโยต้ารุ่นไมตี้เอ็ก ทะเบียน บฉ-1738 ลำพูน บริเวณข้างประตูคนขับรถพบศพชายนอนคว่ำหน้าเสียชีวิต สภาพศพถูกไฟไหม้จนเกรียมไปทั้งตัว ขณะที่เจ้าหน้าที่กำลังจะใช้น้ำเพื่อฉีดสกัดไฟที่ไหม้รถก็ได้รับแจ้งว่า มีสายไฟฟ้าแรงสูงขาดอยู่ใกล้กับศพ หากฉีดน้ำก็เกรงว่าจะถูกกระแสไฟฟ้าแรงสูงช็อต จึงต้องรอให้เจ้าหน้าที่จากการไฟฟ้าสันทราย เดินทางมาเพื่อตัดกระแสไฟ โดยใช้เวลาประมาณ 30 นาที จึงสามารถเข้าสกัดเพลิงที่ไหม้รถเอาไว้ได้

ผู้สื่อข่าวได้สอบถามนายประทิน เทศชม ชาวบ้านที่อยู่ใกล้กับจุดเกิดเหตุเล่าให้ฟังว่า ขณะที่เกิดฝนตกลงมาอย่างหนัก และมีลมกระโชกแรง ได้เกิดเสียงฟ้าผ่าขึ้นเสียงดังสนั่น ไม่นานนักก็พบกลุ่มควันขึ้นริมถนน จึงได้รีบวิ่งออกมาดูก็พบว่า รถยนต์กระบะเกิดเพลิงลุกไหม้ มีเสียงไฟฟ้าช็อตออกมาจากรถหลายครั้ง และพบว่ามีผู้เสียชีวิตถูกไฟไหม้อยู่บริเวณรถ แต่ก็ไม่สามารถช่วยเหลืออะไรได้เลยเพราะเกรงจะถูกไฟไฟาแรงสูงช็อตเช่นกัน


จากการสอบสวนเบื้องต้นทราบว่า ผู้ตายชื่อแดง อายุประมาณ 62 ปี เป็นชาวจังหวัดลำพูน ก่อนเกิดเหตุผู้ตายได้เดินทางมารับกระเทียมโรงงานบริเวณจุดเกิดเหตุ เพื่อนำไปแกะที่บ้าน ขณะที่เดินลงจากรถเพื่อมาเปิดประตูหน้าโรงงาน สายไฟฟ้าแรงสูงก็ได้ขาดลงมาพาดไปที่รถกระบะและผู้ตาย จนทำให้ถูกไฟฟ้าแรงสูงช็อตจนเสียชีวิต ส่วนรถกระบะก็เกิดเพลิงลุกไหม้ดังกล่าว


สำหรับบริเวณจุดเกิดเหตุอยู่ริมถนน เส้นทางสายเชียงใหม่-ดอยสะเก็ด ที่มุ่งหน้าไปยังจังหวัดเชียงราย ซึ่งกำลังในระหว่างการขยายถนน และจุดดังกล่าวพึ่งมีการย้ายเสาไฟฟ้าแรงสูง ซึ่งยังดำเนินการไม่เสร็จ แต่ก็มาเกิดเหตุสลดดังกล่าวขึ้น โดยทางเจ้าหน้าที่จะได้สืบสวนหาสาเหตุกันต่อไป

เชียงใหม่ สมเด็จพระสังฆราช โปรดประทานน้ำสรงและผ้าไตร ประกอบพิธีสรงน้ำพระธาตุจ๋อมสะหลีปุรีนามน่างรั้ว ณ วัดยางกวง

สมเด็จพระสังฆราช โปรดประทานน้ำสรงและผ้าไตร ประกอบพิธีสรงน้ำพระธาตุจ๋อมสะหลีปุรีนามน่างรั้ว ณ วัดยางกวง อำเภอเมือง เชียงใหม่

นายคมสัน สุวรรณอัมพา รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธาน

พระครูปลัดสุรเดช สิริสุวัณโณ เจ้าอาวาสวัดยางกวงจ๋อมสะหลีปุรีนามน่างรั้ว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เจริญพรมาว่า ที่ผ่านมาเมื่อเร็วๆนี้ เจ้าพระคุณสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก โปรดประทานน้ำสรงและผ้าไตร เพื่อประกอบพิธีสรงน้ำพระธาตุจ๋อมสะหลีปุรีนามน่างรั้ว ณ วัดยางกวง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 16 เมษายน 2563 ที่ผ่านมา ในการนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ มอบให้ นายคมสัน สุวรรณอัมพา รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานในพิธี (การประกอบพิธีแบบภายใน จำนวน ผู้ร่วมงาน 10 คน)

พระครูปลัดสุรเดช เจริญพรอีกว่า ในการประกอบพิธีมงคลดังกล่าว ขออนุโมทนา สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเชียงใหม่ กรมอนามัยเชียงใหม่ กระทรวงสาธารณสุขมาตรวจสุขภาพ ณ จุดคัดกรอง ทหารจิตอาสา ญาติโยมทุกสายบุญทุกคณะ เจ้าหน้าที่คนงานเทศบาลฯคนงานก่อสร้างวิหารลายคำฯที่ได้ร่วมปฏิบัติงานในการประกอบพิธีมงคลดังกล่าว.