พิษณุโลก กองทัพบกปรับปรุงและดัดแปลงเฮลิคอปเตอร์ สำหรับภารกิจทางการแพทย์ฉุกเฉิน เพื่อประชาชน

กองทัพบกการปรับปรุงและดัดแปลงเฮลิคอปเตอร์ สำหรับภารกิจทางการแพทย์ฉุกเฉิน เพื่อประชาชน

ตามที่ พลเอก ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผู้บัญชาการทหารบก มีนโยบายในการใช้อากาศยานของกองทัพบกในการสนับสนุนภารกิจส่งกลับสายแพทย์ทางอากาศ ทั้งในยามปกติและในสนาม โดยมุ่งหมายให้สามารถเคลื่อนย้ายและลำเลียงผู้ป่วยเจ็บให้ได้รับการรักษาพยาบาลอย่างรวดเร็ว ลดอัตราการเสียชีวิต รวมทั้งเพื่อเป็นการเพิ่มขีดความสามารถด้านบริการทางการแพทย์ของกองทัพบกในการช่วยชีวิตได้มากขึ้น นั้น

กองทัพบก ได้ดำเนินการปรับปรุงและดัดแปลง อากาศยานเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปขนาดเบา H145 หรือ ฮ.ท.145 จำนวน 4 เครื่อง ที่เดิมใช้สำหรับการปฏิบัติทางธุรการทั่วไป สำหรับ ฮ.ท.145 เป็นอากาศยานมาตรฐานที่มีความเหมาะสมในการนำมาดัดแปลงเป็น เฮลิคอปเตอร์สำหรับบริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน การค้นหาและกู้ภัย เนื่องจากมีขนาดเล็ก คล่องตัว และสามารถติดตั้งอุปกรณ์เสริมทางการแพทย์ เช่น เครื่องกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้า, เครื่องช่วยหายใจ, กระเป๋าพร้อมอุปกรณ์ช่วยชีวิตฉุกเฉิน, เครื่องควบคุมการให้ยา และสารละลายทางหลอดเลือดดำ และเปลสำหรับการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 23 – 24 พฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา กรมแพทย์ทหารบก จัดฝึกอบรม “การลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศยาน” โดยมีโรงพยาบาลกองทัพบก จำนวน 13 แห่ง จาก 4 กองทัพภาค ส่งทีมปฏิบัติการ 18 ทีม ซึ่งประกอบไปด้วย นายแพทย์ พยาบาล และนายสิบพยาบาลเข้าอบรม โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับ ความรู้เรื่องพื้นฐานสรีรวิทยาการบิน พื้นฐานการลำเลียงทางอากาศการใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ในอากาศยาน การลำเลียงผู้ป่วย การวางแผนการส่งกลับ และการประสานงาน ซึ่งทีมปฏิบัติการที่เข้าร่วมอบรมจะได้รับทราบแนวทางการปฏิบัติการลำเลียงผู้ป่วยเจ็บส่งกลับทางอากาศทั้งก่อน-ระหว่าง-หลัง-กรณีเหตุฉุกเฉิน รวมถึงสามารถดำเนินการส่งกลับและประสานหน่วยเกี่ยวข้อง พร้อมสนับสนุนการลำเลียงทางอากาศได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยต่อกำลังพล การนำยุทโธปกรณ์ของกองทัพบกมาพัฒนา เพื่อไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการช่วยเหลือประชาชน ให้เข้าสู่ระบบการรักษาได้อย่างรวดเร็ว สำหรับ ฮ.ท.145 ทั้ง 4 ลำ ได้เตรียมบรรจุเข้าประจำการพร้อมรับภารกิจในพื้นที่ต่างๆ แล้ว ดังนี้

1. ฮ.ท.145/128 ประจำการ ณ หน่วยบินทหารบกยุทธวิธีที่ 1 จังหวัดลพบุรี
2. ฮ.ท.145/129 ประจำการ ณ หน่วยบินทหารบกยุทธวิธีที่ 2 จังหวัดนครราชสีมา
3. ฮ.ท.145/069 ประจำการ ณ กองกำลังผาเมือง จังหวัดเชียงใหม่
4. ฮ.ท.145/080 ประจำการ ณ หน่วยบินทหารบกอโณทัย จังหวัดปัตตานี


ทั้งนี้ จึงขอเรียนให้พี่น้องประชาชน ในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือทราบ เพื่อให้เกิดความมั่นใจได้ว่า กองทัพบก โดย กองทัพภาคที่ 3 มีความพร้อมที่จะสนับสนุนกำลังพลและยุทโธปกรณ์ทางทหารในการช่วยเหลือประชาชนยามวิกฤตทุกโอกาส

 

พิษณุโลก กองทัพภาคที่ 3 สกั้ดการปราบปรามการลักลอบปลูกฝิ่น

กองทัพภาคที่ 3 สกั้ดการปราบปรามการลักลอบปลูกฝิ่นในพื้นที่ภาคเหนือ

ตามที่ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี/ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ได้มีนโยบายให้มีการบูรณาการงานด้านการข่าวเพื่อความมั่นคงของพลเรือน ตำรวจ ทหาร และทุกภาคส่วน ในการดำเนินการ สกัดกั้น ปราบปราม และจับกุมขบวนการค้ายาเสพติดอย่างจริงจัง ตั้งแต่พื้นที่แนวชายแดน จนถึงพื้นที่ตอนในของประเทศ นั้น มีการปราบปรามยาเสพติดที่สำคัญ ดังนี้


เหตุการณ์ที่ 1 เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2565 เวลาประมาณ 14.00 น. ขณะที่เจ้าหน้าที่ทหารจาก กองร้อยทหารราบที่ 723 จำนวน 1 ชุดปฏิบัติการ กำลังลาดตระเวนตรวจพื้นที่รับผิดชอบเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายอยู่ในเขตพื้นที่ ตำบลโป่งสา อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้พบการลักลอบปลูกต้นฝิ่นปะปนอยู่ในแปลงผักกาด จำนวน 1 แปลง มีพื้นที่ประมาณ 25 ตารางเมตร ต้นฝิ่นมีความสูงประมาณ 100 เซนติเมตร เจ้าหน้าที่จึงตัดและทำลายต้นฝิ่นดังกล่าวทั้งหมด

เหตุการณ์ที่ 2 เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2565 เวลาประมาณ 09.00 น. ขณะที่เจ้าหน้าที่ทหารจาก กองร้อยทหารราบที่ 723 จำนวน 1 ชุดปฏิบัติการ กำลังลาดตระเวนตรวจพื้นที่รับผิดชอบเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายอยู่ในเขตพื้นที่ ตำบลโป่งสา อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้พบการลักลอบปลูกต้นฝิ่นปะปนอยู่ในแปลงผักกาด จำนวน 1 แปลง มีพื้นที่ความกว้าง 30 เมตร และความยาว 50 เมตร ต้นฝิ่นมีความสูงประมาณ 55 – 70 เซนติเมตร ความหนาแน่นร้อยละ 80 เจ้าหน้าที่จึงตัดและทำลายต้นฝิ่นดังกล่าวทั้งหมด

ทั้งนี้ หากพี่น้องประชาชนพบเห็นการกระทำที่ผิดกฎหมายหรือมีเบาะแสข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ขอความกรุณาได้แจ้งแก่เจ้าหน้าที่ทหารในพื้นที่ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติในการปราบปรามและจับกุม อย่างเป็นรูปธรรมตามกฎหมาย อีกทั้งหากพี่น้องประชาชนมีความประสงค์จะส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด โดยตรง ให้กับ พลโท อภิเชษฐ์ ซื่อสัตย์ แม่ทัพภาคที่ 3/ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 สามารถส่งข้อมูลผ่านระบบ Applications Line ชื่อ “สายตรงแม่ทัพภาคที่ 3” ID Line : ISOC3 เพื่อรับทราบข้อมูลและนำไปสู่การปฏิบัติตามกรอบของกฎหมาย สร้างความมั่นคงให้สังคมไทยสืบไป

พิษณุโลก แม่ทัพภาคที่ 3 สั่งการปราบปรามการนำเข้าเมล็ดข้าวโพดผิดกฎหมาย ในพื้นที่กองกำลังนเรศวร จังหวัดตาก

แม่ทัพภาคที่ 3 สั่งการปราบปรามการนำเข้าเมล็ดข้าวโพดผิดกฎหมาย ในพื้นที่กองกำลังนเรศวร จังหวัดตาก

ตามที่ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี/ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ได้มีนโยบายให้มีการบูรณาการในการดำเนินการ สกัดกั้น ปราบปราม และจับกุมขบวนการการลักลอบนำเข้าสินค้าทางการเกษตรผิดกฎหมายอย่างจริงจัง นั้น มีผลสรุปการปราบปรามการลักลอบนำเข้าสินค้าทางการเกษตรผิดกฎหมาย เพื่อพิทักษ์ผลประโยชน์ของชาติ ในพื้นที่กองกำลังนเรศวร จังหวัดตาก โดยมีเหตุการณ์การจับกุมและปราบปรามที่สำคัญในห้วงที่ผ่านมา ดังนี้

เหตุการณ์ที่ 1 เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2564 เวลาประมาณ 06.00 น. ขณะที่เจ้าหน้าที่ทหารจาก กองร้อยทหารราบที่ 1431 หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ 14 จำนวน 1 ชุดปฏิบัติการ กำลังลาดตระเวนตรวจ โดยใช้รถยนต์เป็นพาหนะมาตามถนนใกล้ถึงช่องทางธรรมชาติ/ท่าข้ามแห่งหนึ่งในพื้นที่บ้านยะพอ ตำบลวาเล่ย์ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก นั้น ได้พบรถใช้งานทางเกษตรกรรม จำนวน 5 คัน ขับตามกันมาจากทางท่าข้าม ท่าทางมีพิรุธ เจ้าหน้าที่จึงสั่งให้หยุดรถและทำการตรวจสอบ จากการตรวจสอบพบว่า รถทั้ง 5 คัน บรรทุกเมล็ดข้าวโพดมาเต็มคัน มีน้ำหนักรวมกันประมาณ 40 ตัน โดยผู้ขับรถทุกคันไม่มีเอกสารหลักฐานแสดงแหล่งที่มาของสินค้าที่บรรทุกมา เจ้าหน้าที่เชื่อว่า เมล็ดข้าวโพดดังกล่าวถูกนำเข้ามาจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยไม่ผ่านขั้นตอนทางศุลกากร จึงทำการตรวจยึดเมล็ดข้าวโพด พร้อมนำตัวคนขับรถส่งด่านศุลกากรดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป

เหตุการณ์ที่ 2 เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2564 เวลาประมาณ 15.00 น. ขณะที่เจ้าหน้าที่ทหารจาก กองร้อยทหารราบที่ 1431 หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ 14 จำนวน 1 ชุดปฏิบัติการ กำลังลาดตระเวนตรวจ โดยใช้รถยนต์เป็นพาหนะมาตามถนนใกล้ถึงช่องทางธรรมชาติ/ท่าข้ามแห่งหนึ่งในพื้นที่บ้านทหารผ่านศึก ตำบลรวมไทยพัฒนา อำเภอพบพระ จังหวัดตาก นั้น ได้พบรถยนต์บรรทุก จำนวน 2 คัน ขับตามกันมาจากทางท่าข้าม ท่าทางมีพิรุธ เจ้าหน้าที่จึงสั่งให้หยุดรถและทำการตรวจสอบ จากการตรวจสอบพบว่า รถทั้ง 2 คัน บรรทุกเมล็ดข้าวโพดมาเต็มคัน มีน้ำหนักรวมกันประมาณ 31 ตัน โดยผู้ขับรถทั้งสองคันไม่มีเอกสารหลักฐานแสดงแหล่งที่มาของสินค้าที่บรรทุกมา เจ้าหน้าที่เชื่อว่า เมล็ดข้าวโพดดังกล่าวถูกนำเข้ามาจากประเทศเพื่อนบ้านโดยไม่ผ่านขั้นตอนทางศุลกากร จึงทำการตรวจยึดเมล็ดข้าวโพด พร้อมนำตัวคนขับรถยนต์บรรทุกส่งด่านศุลกากรดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป

ทั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลและศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก ในการสกัดกั้นและปราบปราม การลักลอบนำเข้าสินค้าทางการเกษตรผิดกฎหมายไม่ผ่านการเสียภาษี ทำให้ประเทศชาติเสียผลประโยชน์ ไม่มีการตรวจสอบและกักกันโรค รวมทั้งไม่มีการรับรองคุณภาพตามมาตรฐานของหน่วยงานที่รับผิดชอบ อาจทำให้เกิดอันตรายต่อพี่น้องประชาชนผู้บริโภคได้ อีกทั้ง หากพี่น้องประชาชนพบเห็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย หรือมีเบาะแสข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการลักลอบนำเข้าสินค้าทางการเกษตรผิดกฎหมาย ขอความกรุณาได้แจ้งแก่เจ้าหน้าที่ทหารในพื้นที่ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติในการปราบปรามและจับกุม อย่างเป็นรูปธรรมตามกฎหมาย และหากพี่น้องประชาชนมีความประสงค์จะส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการลักลอบนำเข้าสินค้าผิดกฎหมาย โดยตรง ให้กับ พลโท อภิเชษฐ์ ซื่อสัตย์ แม่ทัพภาคที่ 3/ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 สามารถส่งข้อมูลผ่านระบบ Applications Line ชื่อ “สายตรงแม่ทัพภาคที่ 3” ID Line : ISOC3 เพื่อรับทราบข้อมูลและนำไปสู่การปฏิบัติตามกรอบของกฎหมาย สร้างความมั่นคงให้สังคมไทยสืบไป

พิษณุโลก กองทัพภาคที่ 3 ปราบปรามบุหรี่ผิดกฎหมาย ในพื้นที่กองกำลังผาเมือง จังหวัดเชียงใหม่

กองทัพภาคที่ 3 ปราบปรามบุหรี่ผิดกฎหมาย ในพื้นที่กองกำลังผาเมือง จังหวัดเชียงใหม่

ตามที่ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี/ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ได้มีนโยบายให้มีการบูรณาการในการดำเนินการ สกัดกั้น ปราบปราม และจับกุมขบวนการการลักลอบนำเข้าสินค้าผิดกฎหมายอย่างจริงจัง นั้น มีผลสรุปการปราบปรามการลักลอบนำเข้าสินค้าผิดกฎหมาย เพื่อพิทักษ์ผลประโยชน์ของชาติ ในพื้นที่กองกำลังผาเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีเหตุการณ์การจับกุมและปราบปราม ที่สำคัญในห้วงที่ผ่านมา ดังนี้

เหตุการณ์ที่ 1 เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2565 เวลาประมาณ 05.20 น. ขณะที่เจ้าหน้าที่ทหารจาก กองร้อยทหารม้าที่ 2 หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารม้าที่ 4 จำนวน 1 ชุดปฏิบัติการ กำลังลาดตระเวนตรวจพื้นที่รับผิดชอบเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดกฎหมาย มาถึงช่องทางธรรมชาติ หนองกะลาง พื้นที่บ้านอรุโณทัย ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ นั้น ได้พบชาย 2 คน กำลังแบกกระสอบเดินมาตามทาง ท่าทางมีพิรุธ เจ้าหน้าที่จึงแสดงตนและทำการตรวจค้น ผลการตรวจค้นพบ บุหรี่ต่างประเทศ ยี่ห้อ Kabaung จำนวน 200 ห่อ และยี่ห้อ Atlanta จำนวน 120 ห่อ บรรจุอยู่ในกระสอบ โดยบุหรี่ดังกล่าว ไม่ปรากฏหลักฐานการเสียภาษีสรรพสามิต จึงทำการตรวจยึดบุหรี่ดังกล่าว พร้อมนำตัวชายทั้งสองคนส่งเจ้าหน้าที่สรรพสามิตดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป

เหตุการณ์ที่ 2 เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2565 เวลาประมาณ 09.45 น. ขณะที่เจ้าหน้าที่ทหารจาก กองร้อยทหารม้าที่ 2 หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารม้าที่ 4 จำนวน 1 ชุดปฏิบัติการ กำลังลาดตระเวนตรวจพื้นที่รับผิดชอบเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดกฎหมาย มาถึงช่องทางธรรมชาติ หนองเขียว พื้นที่บ้านอรุโณทัย ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ นั้น ได้พบชาย 3 คน แบกกระสอบปุ๋ยที่ดัดแปลงเป็นเป้สะพายหลังกำลังเอาเป้มาวางไว้ที่กระบะท้ายรถยนต์ ยี่ห้อ โตโยต้า สีน้ำเงิน หมายเลขทะเบียนจังหวัดเชียงใหม่ โดยมีชายอีก 1 คน รอรับเป้ดังกล่าวอยู่ ท่าทางมีพิรุธ เจ้าหน้าที่จึงแสดงตนและทำการตรวจค้น ผลการตรวจค้นพบ บุหรี่ต่างประเทศ ยี่ห้อ Atlanta จำนวน 300 ห่อ บรรจุอยู่ในกระสอบเป้ บุหรี่ดังกล่าว ไม่ปรากฏหลักฐานการเสียภาษีสรรพสามิต เจ้าหน้าที่จึงทำการตรวจยึดบุหรี่ดังกล่าว พร้อมนำตัวชายทั้งสี่คนส่งเจ้าหน้าที่สรรพสามิตดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป

ทั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลและศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก ในการสกัดกั้นและปราบปราม การลักลอบนำเข้าสินค้าผิดกฎหมายไม่ผ่านการเสียภาษี ทำให้ประเทศชาติเสียผลประโยชน์ ไม่มีการตรวจสอบและกักกันโรค รวมทั้งไม่มีการรับรองคุณภาพตามมาตรฐานของหน่วยงานที่รับผิดชอบ อาจทำให้เกิดอันตรายต่อพี่น้องประชาชนผู้บริโภคได้ อีกทั้ง หากพี่น้องประชาชนพบเห็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย หรือมีเบาะแสข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการลักลอบนำเข้าสินค้าผิดกฎหมาย ขอความกรุณาได้แจ้งแก่เจ้าหน้าที่ทหารในพื้นที่ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติในการปราบปรามและจับกุม อย่างเป็นรูปธรรมตามกฎหมาย และหากพี่น้องประชาชนมีความประสงค์จะส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการลักลอบนำเข้าสินค้าผิดกฎหมาย โดยตรง ให้กับ พลโท อภิเชษฐ์ ซื่อสัตย์ แม่ทัพภาคที่ 3/ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 สามารถส่งข้อมูลผ่านระบบ Applications Line ชื่อ “สายตรงแม่ทัพภาคที่ 3” ID Line : ISOC3 เพื่อรับทราบข้อมูลและนำไปสู่การปฏิบัติตามกรอบของกฎหมาย สร้างความมั่นคงให้สังคมไทยสืบไป

พิษณุโลก การปราบปรามการลักลอบทำลายทรัพยากรธรรมชาติและป่าไม้ ในพื้นที่จังหวัดตาก

การปราบปรามการลักลอบทำลายทรัพยากรธรรมชาติและป่าไม้ ในพื้นที่จังหวัดตาก

ตามที่ พลโท อภิเชษฐ์ ซื่อสัตย์ แม่ทัพภาคที่ 3/ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 ได้มีนโยบายปราบปรามการลักลอบทำลายทรัพยากรธรรมชาติและป่าไม้ โดยบูรณาการหน่วยงานที่มีภารกิจและอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการปราบปรามและจับกุมผู้บุกรุก ยึดถือ ครอบครอง ทำลาย หรือด้วยการกระทำใดๆ อันเป็นการทำให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สภาพป่า โดยการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดในทุกพื้นที่นั้น ได้ดำเนินการจับกุมและปราบปรามในพื้นที่ ดังนี้
เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2564 เวลาประมาณ 17.00 น. เจ้าหน้าที่จาก กองร้อยทหารพรานที่ 3606 หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 36 เข้าทำการตรวจสอบการลักลอบตัดไม้ทำลายป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติ บริเวณพื้นที่ ตำบลแม่อูคอ อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งพบไม้จำปีป่า จำนวน 8 ท่อน และไม้จำปีป่าแปรรูป จำนวน 55 แผ่น ถูกตัดกองไว้ในป่า ไม่พบตัวผู้กระทำผิด เจ้าหน้าที่จึงได้ตรวจยึดไม้เป็นของกลาง พร้อมทั้งแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

ทั้งนี้ หากพี่น้องประชาชนพบเห็นการลักลอบทำลายทรัพยากรธรรมชาติและป่าไม้ ขอความกรุณาได้แจ้งแก่เจ้าหน้าที่ทหารในพื้นที่ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติในการปราบปรามและจับกุม อย่างเป็นรูปธรรมตามกฎหมาย อีกทั้งหากพี่น้องประชาชนมีความประสงค์จะส่งข้อมูล การลักลอบทำลายทรัพยากรธรรมชาติและป่าไม้ โดยตรง ให้กับ พลโท อภิเชษฐ์ ซื่อสัตย์ แม่ทัพภาคที่ 3/ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 สามารถส่งข้อมูลผ่านระบบ Applications Line ชื่อ “สายตรงแม่ทัพภาคที่ 3” ID Line : ISOC3 เพื่อรับทราบข้อมูลและนำไปสู่การปฏิบัติตามกรอบของกฎหมาย สร้างความมั่นคงให้สังคมไทยสืบไป

พิษณุโลก กองทัพภาคที่ 3 การปราบปรามการลักลอบหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย กว่า 790 คน

กองทัพภาคที่ 3 การปราบปรามการลักลอบหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย กว่า 790 คน (1-31 ธันวาคม 2564)

ตามที่รัฐบาล ได้มีนโยบายและแนวทางการปฏิบัติงานด้านความมั่นคง โดยบูรณาการหน่วยงานที่มีภารกิจและอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการตรวจสอบ ปราบปราม จับกุม และสกัดกั้นบุคคลต่างด้าวหลบหนีเข้ามาในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมายอย่างจริงจัง เพื่อพิทักษ์ผลประโยชน์ของชาติ ประกอบกับที่รัฐบาลได้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร โดยมีข้อกำหนดตามกรอบพระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป และศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ได้พิจารณาให้ระงับการใช้ช่องทางการเข้าออกประเทศในทุกพื้นที่ที่มีเขตติดต่อชายแดน เพื่อควบคุมการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด – 19 มาจนถึงปัจจุบัน นั้น

ในการนี้ พลโท อภิเชษฐ์ ซื่อสัตย์ แม่ทัพภาคที่ 3/ผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการ กองทัพภาคที่ 3 ได้กำชับให้ทุกหน่วยที่มีพื้นที่ตามแนวชายแดน ได้เฝ้าระวังการลักลอบหลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมายของกลุ่มแรงงานต่างด้าว รวมไปถึงคนไทยที่ไปทำงานในประเทศเพื่อนบ้าน และลักลอบกลับเข้ามาในประเทศไทย เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างจริงจัง โดยมีผลการจับกุม, ผลการดำเนินคดี และการเร่งรัดการดำเนินคดีตามกฎหมาย โดย ศูนย์ปฏิบัติการ กองทัพภาคที่ 3, กองกำลังนเรศวร และกองกำลังผาเมือง ได้ร่วมกับทุกภาคส่วน ในห้วงวันที่ 1 – 31 ธันวาคม 2564 จำนวน 97 ครั้ง 796 คน มีรายละเอียดดังนี้

1. กองกำลังนเรศวร (จังหวัดตาก และจังหวัดแม่ฮ่องสอน) จำนวน 66 ครั้ง จับกุมได้ 528 คน

2. กองกำลังผาเมือง (จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดเชียงราย) จำนวน 31 ครั้ง จับกุมได้ 268 คน

หากพี่น้องประชาชนพบเห็นการนำพาแรงงานต่างด้าวเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย หรือมีเบาะแสข้อมูลที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการกระทำผิดกฎหมาย ขอความกรุณาได้แจ้งแก่เจ้าหน้าที่ทหารในพื้นที่ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติในการปราบปรามและการสกัดกั้นอย่างเป็นรูปธรรมตามกฎหมาย อีกทั้งหากพี่น้องประชาชนมีความประสงค์จะส่งข้อมูลเกี่ยวข้องเกี่ยวกับการกระทำผิดกฎหมาย ให้กับ พลโท อภิเชษฐ์ ซื่อสัตย์ แม่ทัพภาคที่ 3/ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 สามารถส่งข้อมูลผ่านระบบ Applications Line ชื่อ “สายตรงแม่ทัพภาคที่ 3” ID Line : ISOC3 เพื่อรับทราบข้อมูลและนำไปสู่การปฏิบัติตามกรอบของกฎหมาย สร้างความมั่นคงให้สังคมไทยสืบไป

พิษณุโลก สถานการณ์ผู้หนีภัยความไม่สงบชาวเมียนมา (ผภสม.) ในพื้นที่ชายแดนจังหวัดตาก

สถานการณ์ผู้หนีภัยความไม่สงบชาวเมียนมา (ผภสม.) ในพื้นที่ชายแดนจังหวัดตาก (5 มกราคม 2565)

ตามที่ได้เกิดเหตุการณ์การสู้รบในประเทศเมียนมา ในพื้นที่ตรงข้ามจังหวัดตาก ของประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2564 เป็นต้นมา ได้เกิดการปะทะกันหลายครั้ง ระหว่างทหารเมียนมา กับ กองทัพปลดปล่อยแห่งชาติกะเหรี่ยง (Karen National Liberation Army : KNLA) กองพลน้อยที่ 6 ในพื้นที่บ้านเลเก้ก่อ จังหวัดเมียวดี รัฐกะเหรี่ยง สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ด้านตรงข้าม ตำบลแม่ตาว อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ทำให้มีผู้หนีภัยความไม่สงบชาวเมียนมา (ผภสม.) ได้อพยพข้ามมายังฝั่งไทย

ในการนี้ พลโท อภิเชษฐ์ ซื่อสัตย์ แม่ทัพภาคที่ 3/ผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการกองทัพภาคที่ 3 ได้มอบหมายให้ กองกำลังนเรศวร รับผิดชอบอำนวยการดูแล ผู้หนีภัยความไม่สงบชาวเมียนมา (ผภสม.) ร่วมกับศูนย์สั่งการชายแดนจังหวัดตาก ให้อยู่ในพื้นที่ปลอดภัยชั่วคราว ในพื้นที่อำเภอแม่สอด และอำเภอพบพระ จังหวัดตาก จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ บ้านมหาวัน, บ้านหมื่นฤาชัย, บ้านแม่ตาวกลาง, บ้านดอนชัย และบ้านแม่กุใหม่ท่าซุง โดยได้ดำเนินการตามหลักมนุษยธรรม มีรายละเอียดดังนี้

1. ศูนย์สั่งการชายแดนจังหวัดตาก, จังหวัดตาก, กองกำลังนเรศวร และ ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องร่วมดูแล ความเป็นอยู่ขั้นพื้นฐานในการดำรงชีพ โดยมอบเครื่องอุปโภคบริโภคให้กับผู้หนีภัยความไม่สงบชาวเมียนมา (ผภสม.) ตามหลักมนุษยธรรม
2. โรงพยาบาลแม่สอด จัดแพทย์ พยาบาล เข้าดูแลและให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้เจ็บป่วยในพื้นที่
3. ศูนย์สั่งการชายแดนจังหวัดตาก ร่วมกับ กองกำลังนเรศวร อำนวยความสะดวกในการจัดยานพาหนะ รับ-ส่ง ผู้หนีภัยความไม่สงบชาวเมียนมา (ผภสม.) ในการเดินทางกลับภูมิลำเนา โดยความสมัครใจ
4. กองกำลังนเรศวร จัดกำลังพล และ ยุทโธปกรณ์ ในการดูแลรักษาความปลอดภัย สถานที่พักพิงของ ผู้หนีภัยความไม่สงบชาวเมียนมา (ผภสม.) เพื่อให้เกิดความเรียบร้อยในพื้นที่
5. กองกำลังนเรศวร ได้เพิ่มมาตรการลาดตระเวนเฝ้าตรวจพื้นที่ ตามแนวชายแดนอย่างต่อเนื่อง ด้วยจักรยานยนต์ทางยุทธวิธี, การเดินเท้า, ทางเรือ และขี่ม้าลาดตระเวนตามแนวชายแดน รวมทั้งได้จัดยานเกราะล้อยาง จากกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 34 ทำการลาดตระเวนในพื้นที่ด้วย

ปัจจุบัน (5 มกราคม 2565 เวลา 18.00 น.) สถานการณ์ปะทะภายในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ได้เริ่มคลี่คลายลงตามลำดับ ผู้หนีภัยความไม่สงบชาวเมียนมา (ผภสม.) ได้ทยอยเดินทางกลับภูมิลำเนา โดยความสมัครใจไปแล้ว จำนวน 8,846 คน คงเหลือผู้หนีภัยความไม่สงบชาวเมียนมา (ผภสม.) จำนวน 2,231 คน ในพื้นที่ปลอดภัยชั่วคราว คอกวัวเมยโค้ง บ้านมหาวัน อำเภอแม่สอด เท่านั้น ที่ยังรอการเดินทางกลับสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาในโอกาสต่อไป
ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพภาคที่ 3 จึงขอเรียนให้พี่น้องประชาชนทราบ เพื่อให้เกิดความมั่นใจได้ว่า การบูรณาการกำลังป้องกันชายแดนเพื่อปกป้องอธิปไตย และพิทักษ์ผลประโยชน์ของชาติ จะได้ดำเนินการอย่างเข้มข้น เพื่อให้พี่น้องคนไทยทุกคนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน รวมทั้งสร้างความมั่นคงให้ประเทศชาติสืบไป

พิษณุโลก กองทัพภาคที่ 3 รณรงค์ร่วมลดไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองภาคเหนือ

กองทัพภาคที่ 3 รณรงค์ร่วมลดไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองภาคเหนือ

ในช่วงหน้าแล้งของประเทศไทย ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงเดือนเมษายนของทุกปี มักพบการเพิ่มขึ้นของฝุ่นละออง โดยเฉพาะในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ สาเหตุเนื่องจากสภาพอากาศส่วนใหญ่จะเป็นช่วงที่หนาวเย็น และแห้งแล้งต่อเนื่องกัน ประกอบกับในช่วงเวลาดังกล่าว เกษตรกรจะทำการเผาเศษวัสดุเพื่อเตรียมพื้นที่สำหรับทำการเกษตรในช่วงฤดูฝน ส่งผลให้หลายพื้นที่เกิดภาวะไฟป่า หมอกควันและฝุ่นละออง ซึ่งส่งผลกระทบความเสียหายต่อชีวิต ทรัพย์สิน สุขภาพและความเป็นอยู่ของประชาชน ตลอดจนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจการท่องเที่ยวของประเทศไทย ซึ่งรัฐบาลได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดตั้งศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว และสามารถควบคุมผลกระทบที่เกิดขึ้นแก่ทรัพยากรธรรมชาติและประชาชนในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยแบ่งการจัดตั้งเป็น 3 ระดับ ดังนี้.-

1. ศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันระดับชาติ /โดยมีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รับผิดชอบ
2. ศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันระดับภาค/ โดยมี กองทัพภาคที่ 3 รับผิดชอบ
3. ศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันระดับจังหวัด/ โดยมี จังหวัดในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ รับผิดชอบ
โดยใช้แนวทางการแก้ไขปัญหา โดยยึดหลัก 5 ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย 1) การประชาสัมพันธ์ 2) การป้องกันไฟป่า 3) การจัดการเชื้อเพลิง 4) การมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาไฟป่า และ 5) การดับไฟป่า

จากการดำเนินการในปี 2564 ที่ผ่านมา ได้บูรณาการการแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควันและฝุ่นละอองภาคเหนือ โดยแยกเป็น 3 ขั้น ประกอบด้วย 1) ขั้นเตรียมการ 2) ขั้นรับมือ (ก่อนวิกฤต กับช่วงวิกฤต) และ 3) ขั้นฟื้นฟูและสร้างความยั่งยืน ดังนี้
1. ขั้นเตรียมการ
1.1 การถอดบทเรียนเพื่อนำไปสู่การทบทวนปรับปรุงเป็นแผนเผชิญเหตุ ซึ่งจะต้องมีมาตรการจัดการวัสดุทางการเกษตร การซักซ้อมแผนในพื้นที่เสี่ยง การทำแนวกันไฟ และการสร้างฝายชะลอน้ำ เพื่อสร้างความชุ่มชื่นให้กับพื้นที่
1.2 การติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์ ซึ่งจะต้องมีการเปิด Warroom เพื่อประเมินวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในห้วงเวลา โดยอาศัยฐานข้อมูลชุดเดียวกันจากกรมควบคุมมลพิษ และ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (Gistda)

นอกจากนี้ยังอาจจะต้องอาศัยเทคโนโลยีติดตามสถานการณ์เพิ่มเติม จากกลุ่มนักวิชาการในพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำหรับเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ดังกล่าว
1.3 จัดเตรียมสถานภาพ กำลังพล เครื่องมือ ยุทโธปกรณ์ ของแต่ละหน่วยงานที่มีอยู่ ในการเตรียมสนับสนุนการดับไฟป่าให้สอดคล้องกับพื้นที่
1.4 การหารือของความร่วมมือคณะกรรมการชายแดน เพื่อให้เกิดความร่วมมือ และกำชับให้ควบคุมการเผา บริเวณชายแดนอย่างเคร่งครัด
1.5 การอบรมเตรียมความพร้อมกับชุดจิตอาสาของชุมชน หรือหมู่บ้าน รวมทั้งการสร้างเครือข่ายภาคประชาชน
1.6 วิเคราะห์ บูรณาการกรอบงบประมาณ งบฟังก์ชั่นของแต่ละจังหวัด เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ รวมถึงการพิจารณาเสนอแผนงบประมาณพัฒนาเป็นกลุ่มจังหวัด
1.7 การกำกับดูแล อย่างใกล้ชิด ภายใต้ตัวชี้วัด ใน 3 ปัจจัยได้แก่ 1) จำนวนวันที่ปริมาณฝุ่นละอองอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานเพิ่มขึ้น, 2) จำนวนจุดความร้อน (Hotspot) ภายในประเทศลดลง และ 3) จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ (ที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศ)
1.8 การสื่อสาร สร้างการรับรู้ ทำความเข้าใจ เชิงวิชาการที่ถูกต้องให้กับประชาชน ทั้งการเชิญชวนภาคประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วมการประชาสัมพันธ์ชุดข้อมูล โดยวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ ผ่านวิทยุชุมชน หอกระจายข่าวชุมชน และสื่อโซเชียลมีเดีย

2. ขั้นรับมือ (ก่อนวิกฤต กับ ช่วงวิกฤต)
2.1 มีการลาดตระเวน เฝ้าระวัง ดับไฟป่า โดยจัดชุดดับไฟป่าและชุดแพทย์เคลื่อนที่ โดยเมื่อเกิดจุดความร้อน ควรจัดเจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่รับผิดชอบพื้นที่ ผู้นำท้องที่ เข้าตรวจสอบที่เกิดเหตุ และให้ชุดดับไฟป่าในพื้นที่ ที่บูรณาการหลายภาคส่วนเข้าดำเนินการดับไฟ สำหรับการตรวจที่เกิดเหตุรวบรวมพยานหลักฐานในเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และผู้ที่เกี่ยวข้องควบคู่กันไป ทั้งนี้ หากสถานการณ์ฝุ่นละอองในพื้นที่มีแนวโน้มที่ค่าเกินมาตรฐานควรจัดสถานที่พักชั่วคราวให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบ (Safety Zone) โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง (ผู้ป่วย คนชรา เด็ก และหญิงมีครรภ์) พร้อมแจกจ่ายหน้ากากอนามัย นอกจากนี้ควรเตรียมการทำฝนหลวงหากปัจจัยสภาพแวดล้อมเกื้อหนุน
2.2 มาตรการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อเป็นมาตรการทางสังคมในการระงับเหตุ โดยเมื่อไปถึงที่เกิดเหตุ หากพบผู้กระทำความผิด ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการจับกุม พร้อมรวบรวมพยานหลักฐาน เพื่อดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด ตามลักษณะของพื้นที่ (พื้นที่ป่า, พื้นที่เกษตรกรรม, พื้นที่ชุมชนเมือง และพื้นที่ริมทาง) และพนักงานสอบสวนรับคำร้องทุกข์ จากผู้กล่าวหา (โดยเจ้าของพื้นที่ที่รับผิดชอบตามลักษณะพื้นที่) โดยพิจารณาตามพื้นที่ดังนี้

1) เขตป่าอนุรักษ์ โดยมีเจ้าหน้าที่ของกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชเป็นผู้กล่าวหา
2) เขตป่าสงวนแห่งชาติ โดยมีเจ้าหน้าที่ของกรมป่าไม้ เป็นผู้กล่าวหา
3) พื้นที่ริมทาง โดยมีเจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้กล่าวหา
4) พื้นที่ชุมชนเมือง โดยมีเจ้าหน้าที่ของสาธารณสุขเป็นผู้กล่าวหา
5) ที่ดินที่มีหลักฐานกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครอง แยกเป็น 2 กรณี ดังนี้.-
– ที่ดินที่มีหลักฐานกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองของตนเอง โดยมีเจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้กล่าวหา
– ที่ดินที่มีหลักฐานกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองของผู้อื่น ให้เจ้าของที่ดิน หรือผู้ครอบครอง หรือมีเจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้กล่าวหา

เมื่อเปรียบเทียบจุดความร้อนในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ ปี 2563 และ 2564 พบว่า ในปี 2563 เกิดจุดความร้อนสะสม จำนวน 135,812 จุด ส่วนปี 2564 เกิดจุดความร้อนสะสม จำนวน 64,377 จุด โดยส่วนมากพบจุดความร้อนใน 5 จังหวัดได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดตาก จังหวัดลำปางและจังหวัดเชียงราย รวมทั้งจากการเก็บข้อมูลยังพบว่าในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือตอนบน มีจำนวนวันที่ค่าอากาศ PM 2.5 เกินค่ามาตรฐานเฉลี่ยในปี 2563 จำนวน 82 วันและในปี 2564 จำนวน 55 วัน ลดลง 27 วัน คิดเป็นร้อยละ 32.57 ขณะที่ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ตั้งแต่วันที่ 26 กุมภาพันธ์ – 30 เมษายน 2564 มีจำนวนวันที่ค่าอากาศเกินค่ามาตรฐาน ในปี 2563 จำนวน 15 วัน และในปี 2564 จำนวน 13 วัน ลดลง 2 วันคิดเป็นร้อยละ 16.31

3. ขั้นฟื้นฟูและสร้างความยั่งยืน
ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการฟื้นฟูพื้นที่ป่าที่ถูกไฟไหม้, ส่งเสริมเครือข่ายเกษตรกร/ชุมชนปลอดการเผา, ส่งเสริมการใช้ประโยชน์เศษวัสดุการเกษตร และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนและประชาชน สำหรับในส่วนของ กองทัพภาคที่ 3 ซึ่งมีบทบาทหน้าที่ภายใต้โครงสร้างกองบัญชาการควบคุมสถานการณ์ไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองภาคเหนือ กองทัพภาคที่ 3 โดยได้มอบหมายให้หน่วยทหารในพื้นที่ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่

1) หน่วยทหารในพื้นที่ ทั้ง 17 จังหวัดภาคเหนือ
2) กองกำลังนเรศวร และกองกำลังผาเมือง
3) รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด (ฝ่ายทหาร)

ในการนี้ พลโท อภิเชษฐ์ ซื่อสัตย์ แม่ทัพภาคที่ 3 จัดตั้งกองบัญชาการควบคุมสถานการณ์ไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองภาคเหนือ กองทัพภาคที่ 3 ส่วนหน้า (บก.คฟป.ทภ.3 สน.) ขึ้น ณ สโมสรยอดทัพบันเทิง กองพลทหารราบที่ 7 อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ โดยมอบหมายให้ พลตรี ถนัดพล โกศัยเสวี รองแม่ทัพภาคที่ 3 เป็นผู้รับผิดชอบ การรณรงค์ร่วมลดไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองภาคเหนือ ห้วงตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2564 ถึง 30 เมษายน 2565 ตามแผนงานยุทธศาสตร์การเสริมสร้างศักยภาพการป้องกันประเทศ โครงการป้องกันการบุกรุกและทำลายพื้นที่ป่าไม้ ประจำปีงบประมาณ 2565 เพื่ออำนวยการและบูรณาการ การป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควันและฝุ่นละอองและดับไฟป่า รวมถึงการเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์ และสนับสนุนการประชาสัมพันธ์ และสร้างการรับรู้ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และป้องกันให้ประชาชนได้รับผลกระทบน้อยที่สุด รวมถึงวางแผนการฟื้นฟู และสร้างความยั่งยืนต่อไป และขอเชิญชวนให้ทุกภาคส่วน ร่วมกันดำเนินการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควันและฝุ่นละอองอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อที่จะทำให้จุดความร้อนสะสมในปี 2565 ลดลงอีกร้อยละ 20 จากปีที่ผ่านมา

ตาก อัยการศาลสูงจังหวัดตาก นำข้าวสารอาหารแห้งช่วยเหลือน้องๆ 3 โรงเรียน

อัยการศาลสูงจังหวัดตาก นำข้าวสารอาหารแห้งช่วยเหลือน้องๆ 3 โรงเรียน อ.ท่าสองยาง จ.ตาก ตามโครงการ “น้องต้องได้กินข้าว ปี 3”

เมื่อวันที่ 5 ม.ค.2565 ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจากทีมเดินทางทำโครงการ “น้องต้องได้กินข้าว ปี 3” จากทีมทำงานช่วยเหลือน้องๆที่อยู่ห่างไกลความเจริญ ที่นำโดยท่านเรวัตร สุขศิริ อัยการศาลสูงจังหวัดตาก พร้อมพี่น้องผองเพื่อนผู้มีจิตกุศุลได้เดินทางไปช่วยเหลือศูนย์การเรียนรู้พื้นที่สูง รร.พะนอคี รร.บ้านเลเคาะ และ รร.ขุนห้วยนกกก อยู่ในเขต ต.แม่หละ อ.ท่าสองยาง จ.ตาก

โรงเรียนดังกล่าวตั้งอยู่บนยอดดอยห่างไกลความเจริญ ซึ่งมีน้องนักเรียนชาติพันธุ์ ทั้งกะเหรี่ยง ปากะญอ พม่า ผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษา และความเป็นอยู่ที่ยากลำบากมาก จำนวนหลายร้อยคนที่เรียนและใช้ชีวิตพักอาศัยอยู่ที่นั้น ท่านเรวัตร สุขศิริ อัยการศาลสูงจังหวัดตาก ได้จัดนำข้าวสาร อาหาร ยารักษาโรค อุปกรณ์การเรียน และสิ่งของจำเป็นอื่นๆส่งมอบให้กับเด็กๆ เป็นการช่วยเหลือน้องๆในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ 2565 ปีนี้ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจัดไปเมื่อวันเสาร์และอาทิตย์ที่ 1-2 มกราคม 2565 ที่ผ่านมา.

 

เชียงใหม่ สถานการณ์ไฟป่าหมอกควันฯ ห้วง 27 ธ.ค.64 – 2 ม.ค.65 พบจุดความร้อนสะสม จำนวน 376 จุด พื้นที่เกษตรสูงสุด 180 จุด

สถานการณ์ไฟป่าหมอกควันฯ ห้วง 27 ธ.ค.64 – 2 ม.ค.65 พบจุดความร้อนสะสม จำนวน 376 จุด พื้นที่เกษตรสูงสุด 180 จุด โดย อ.แม่สอด จังหวัดตาก เริ่มมีค่า PM 10 เฉลี่ยสูง
กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดสุโขทัย เปิดเผยข้อมูลสถานการณ์การหีบอ้อยโรงงานหรือปริมาณการเผาอ้อยวันที่ 3 ม.ค.65 พบว่ามีปริมาณอ้อยเข้าหีบ 533,132.730 ตัน เป็นอ้อยสด 533,882.940 ตัน คิดเป็น 98.88 % อ้อยไฟไหม้ 6,249.790 ตัน คิดเป็น 1.12 % ปัจจุบันสำนักงานเกษตรจังหวัดจัดโครงการรณรงค์ให้เกษตรกรยุคใหม่ร่วมใจหยุดเผา ด้วยการไถกลบทดแทนการเผาเพื่อให้โครงสร้างดินดี เพิ่มอินทรียวัตถุ เพิ่มผลผลิต และผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อลดการเผา ที่สำคัญคือการทำการเกษตรปลอดการเผาเพื่อไร้ปัญหาสิ่งแวดล้อมพร้อมเป็นเมืองสีเขียว ซึ่งผู้ใดเผาเศษวัสดุการเกษตรหรือเผาในพื้นที่เกษตรกรรมมีความผิดตามมาตรา 220 วรรคหนึ่ง..ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี และปรับไม่เกินหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท

ขณะที่กองบัญชาการควบคุมสถานการณ์ไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองภาคเหนือ กองทัพภาคที่ 3 ส่วนหน้า ( บก.คฟป.ทภ.3 สน. ) ตรวจสอบภาพอากาศในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ ห้วงวันที่ 27 ธ.ค.64 – 2 ม.ค.65 พบว่า ภาคเหนือ มีค่าPM 2.5 เฉลี่ยอยู่ระหว่าง 3 – 31 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร , ค่า PM 10 ระหว่าง 10 – 51 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และ ค่า AQI อยู่ระหว่าง 11 – 43 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร โดยพื้นที่ที่มีค่า PM 10 เฉลี่ยสูงได้แก่ ต.แม่ปะ อ.แม่สอด จังหวัดตาก ทั้งนี้คุณภาพอากาศโดยรวมของภาคเหนืออยู่ในระดับ ดี

สำหรับจุดความร้อนในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ (ดาวเทียมระบบ VIIRS) ห้วงวันที่ 27 ธ.ค.64 – 2 ม.ค.65 พบเกิดจุดความร้อนสะสมจำนวน 376 จุด โดยพบพื้นที่เกษตร จำนวน 180 จุด โดยเฉพาะจังหวัดนครสวรรค์ , พื้นที่ป่าสงวน 87 จุด โดยเฉพาะจังหวัดเชียงรายและเขต สปก. จำนวน 58 จุด โดยเฉพาะจังหวัดกำแพงเพชร