เชียงใหม่ เทศมนตรีเมืองแม่เหียะ เปิดโครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะอาชีพ เพื่อยกระดับประสิทธิภาพและสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้า ชุมชน ประจำปีงบประมาณ 2565

เทศมนตรีเมืองแม่เหียะ เปิดโครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะอาชีพ เพื่อยกระดับประสิทธิภาพและสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าชุมชน ประจำปีงบประมาณ 2565 หลักสูตรอาชีพระยะสั้น “การปลูกพืชผักสวนครัวเกษตรอินทรีย์”

เมื่อเวา 09.09 น.วันที่ 2 เม.ย.2565 นายธนวัฒน์ ยอดใจ นายกเทศมนตรีเมืองแม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ พร้อมนายทวีชัย สิงห์โทราช เลขานุการนายกเทศมนตรีเมืองแม่เหียะ ร่วมกับนายดี จันทคลักษณ์ อดีตกำนันตำบลแม่เหียะ ประธานวิสาหกิจชุมชนผลิตอาหารสัตว์พร้อมนางสาวปุณฑริกา คำบุญทา ผู้จัดการวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตอาหารสัตว์ และตัวแทนชาวบ้านใน 10 หมู่บ้านในเขตเทศบาลเมืองแม่เหียะ ทั้งหมดร่วมกันถ่ายภาพในพิธีเปิดโครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะอาชีพ เพื่อยกระดับประสิทธิภาพและสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าชุมชน ประจำปีงบประมาณ 2565 หลักสูตรอาชีพระยะสั้น “การปลูกพืชผักสวนครัวเกษตรอินทรีย์” โดยงานชุมชนเมืองและส่งเสริมอาชีพ กองสวัสดิการสังคม เทศบาลเมืองแม่เหียะ

จากนั้นจัดฝึกทักษะผสมดินปลูกพืชผัก และวิธีปลูกผักแบบหยอดเมล็ด ที่บ้านนายดี จันทคลักษณ์ อดีตกำนันตำบลแม่เหียะ ประธาน
วิสาหกิจชุมชนผลิตอาหารสัตว์ ถือว่าเป็นปราชญ์ชาวบ้าน พร้อมนางสาวปุณฑริกา คำบุญทา ผู้จัดการวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตอาหารสัตว์ ได้ร่วมกันอธิบายพร้มสาธิตการเตรียมดินปลูกพืชผักที่บริเวณลานปลูกองุ่นในบ้าน ที่ทำเป็นฟาร์ม “ดีดี ฟาร์ม” ฟาร์มที่ปลูกพืชผักปลอดสารเคมี เพื่อส่งขายให้สวนสัตว์กลางคืน เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี ให้สัตว์ได้กินพืชผักที่ปลอดภัยมาอย่างต่อเนื่องทุกวันนี้

สำหรับการฝึกทักษะการเตรียมดินปลูก มีการผสมดินปลูกคือ นำดินดำละเอียดผสมกับเปลือกมะพร้ามบดละเอียด ใส่ในถาดหยอด
เมล็ด พร้อมสาธิตการปลูกพืชแบบหยอดเมล็ดผักในถาด หยอดทีละเมล็ดต้องอดทน และสาธิตการผสมดินปลูก ที่มีดิน เปลือกมะพร้าวใบฉำฉา ขี่เลือย และส่วนผสมอื่นๆตามความเหมาะสม อย่างไรก็ตามผู้เข้ารับฝึกทักษะจากทั้งหมด 10 หมู่บ้าน หลังจากฝึกทำแล้วสามารถนำกลับไปดูแลให้ผักเจริญเติมโตที่บ้านต่อไป และรับเมล็ดพันธุ์พืชผักสวนครัวกลับไปด้วย ที่ได้รับการสนับสนุนจาก สนง.พัฒนาชุมชนอำเภอเมืองเชียงใหม่

หลังจากฝึกทักษะที่บ้านนายดี หรือที่ดีดีฟาร์มแล้วนั้น ตลอดทั้งวันชาวบ้านยังได้มีการเข้ารับการฝึกอบรมทักษะการปลูกพืชผักตามโครงการฯที่ศูนย์การเรียนรู้ กศน.ตำบลแม่เหียะ หมู่ 4 และศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง หมู่ 5 ต่อไป

เชียงใหม่ ลูกศิษย์วัดสันมะเกี๋ยงถูกหวยรางวัลที่ 1 กลายเป็นเสี่ยในพริบตาหลังจากพิธีบวงสรวงไอ้ไข่ ที่ผ่านมา

ลูกศิษย์วัดสันมะเกี๋ยงถูกหวยรางวัลที่ 1 กลายเป็นเสี่ยในพริบตาหลังจากพิธีบวงสรวงไอ้ไข่ ที่ผ่านมา อ่างน้ำมนต์ให้เลข 8 โชคดีสุดๆซื้อจากแม่ค้าในงาน

-วันนี้ (2 เม.ย.) วัดสันมะเกี๋ยง จ.เชียงใหม่ นายเสกสรร ทองใบ อายุ42ปี อยู่หมู่บ้านแม่ก๊ะ ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่หนุ่มใหญ่โชคดีสุดๆลูกศิษย์วัดสันมะเกี๋ยงหลัง จากมาร่วมพิธีบวงสรวงไอ้ไข่ประจำเดือนมีนาคมที่ผ่านมาหลังจากทำพิธีเห็นเลขอ่างน้ำมนต์เป็นเลข 8 รีบซื้อกับแม่ค้าที่มาขายล็อตเตอรี่ภายในงาน และโชคดีสุดๆถูกรางวัลที่ 1 วันนี้เลยมาแก้บนไอ้ไข่ ที่วัดสันมะเกี๋ยง โดยได้นำน้ำแดงและประทัดมามอบให้ก่อนแก้บนตามที่สัญญาไว้ตอนนี้จะวางแผนชีวิตซึ่งตัวเองเป็นคนโสดยังไม่มีครอบครัวได้รับคำแนะนำจากหลวงพ่อพระครูปลัดทวีวัฒน์ อินฺทวณฺโณ ที่ปรึกษาเจ้าอาวาสวัดสันมะเกี๋ยให้คำปรึกษาในการใช้เงินต่างๆ

สำหรับอีกท่านหนึ่งที่โชคดีสุดๆลูกศิษย์วัดที่มาร่วมงานถูกหวย 2 ตัวถึง 10 ใบวันนี้ก็มาแก้บนเช่นเดียวกันสำหรับไอ้ไข่พ่อท่านเทิ่ม วัดสันมะเกี๋ยง จะมีประชาชนเข้ามาขอพรเป็นจำนวนมากทุกวัน

เชียงใหม่ ศูนย์บริการวิชาการฯ จัดกิจกรรม “กาดโก้งโค้งเกษตรปี๋ใหม่เมือง ฉลอง 55 ปี” คณะเกษตรศาสตร์ มช.

ศูนย์บริการวิชาการฯ จัดกิจกรรม “กาดโก้งโค้งเกษตรปี๋ใหม่เมือง” ฉลอง 55 ปี คณะเกษตรศาสตร์ มช. พร้อมช่วยเหลือเกษตรกร จัดเสวนา กำนันอำพร ต.แม่เหียะ และสวนแม่พรรณ มาให้ความรู้ปลูกผัดปลอดสารกินเอง

เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2565 ศูนย์บริการวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดกิจกรรรม “กาดโก้งโค้งเกษตรปี๋ใหม่เมือง ประจำปี 2565” ณ ลานจอดรถภาควิชาสัตวศาสตร์และสัตว์น้ำ คณะเกษตรศาสตร์ มช. เพื่อสืบสานประเพณีล้านนา รวมทั้งช่วยเหลือกลุ่มเกษตรกร กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มวิสาหกิจชุมชน เครือข่ายผู้ผลิตสินค้าทางการเกษตร และผู้ประกอบการ ตลอดจนประชาชนทั่วไปให้ได้มีพื้นที่ในการจำหน่ายสินค้า และเพื่อเฉลิมฉลองในวาระครบรอบ 55 ปี คณะเกษตรศาสตร์

ช่วงเวลา 16.00 น.วันเดียวกัน ประกอบพิธีเปิดงาน “กาดโก้งโค้งเกษตรปี๋ใหม่เมือง” ฉลอง 55 ปี คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยประธานในพิธีเปิดคือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เกศินี เกตุพยัคฆ์ รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และประชาสัมพันธ์ คณะเกษตรศาสตร์ มช. และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สงวนศักดิ์ ธนาพรพูนพงษ์ รอง ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการฯ เป็นผู้กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมดังกล่าว

นอกจากนี้ ภายในงานมีการจัดจำหน่ายสินค้าเกษตร อาหารพื้นเมือง กล้าไม้พันธุ์ไม้ รวมทั้งมีการแสดงศิลปะพื้นบ้านล้านนา และนิทรรศการนวัตกรรมทางการเกษตร โดยกิจกรรมกาดโก้งโค้งปีใหม่เมืองจัดขึ้นในวันที่ 30 มีนาคม – 1 เมษายน 2565 เวลา 8.00 – 20.00 น. ณ ลานจอดรถภาควิชาสัตวศาสตร์และสัตว์น้ำ คณะเกษตรศาสตร์ มช.

ระหว่างจัดงาน มีกิจกรรมที่น่าสนใจดังนี้ วันที่ 30 มีนาคม ที่ศูนย์บริการวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ ณ ลานจอดรถภาควิชาการสัตวศาสตร์และสัตว์น้ำ มีการแสดงซอฟื้นเมือง ปุยฝ้าย สันทรายและธวัช เมืองเถิน, เสวนา เรื่อง “ผลิตผักปลอดสารพิษในนิเวศเกษตร เมืองเชียงใหม่ ทำได้จริงหรือ”, เสวนา เรื่อง “๕๕ ปี ความเป็นมา เกษตร มช., การแสดงศิลปพื้นบ้านล้านนา

กิจกรรมวันที่ 31 มีนาคม มีการเสวนาเรื่อง “แนวโน้มการเติบโตของตลาดกัญชา” การแสดงโฟล์คซองคำเมืองเอกตะเกียง, เสวนาเรื่อง “วิธีการพัฒนาเมล็ดพันธุ์ และการผลิตแตงโมเมลอนคุณภาพ”, และการแสดงศิลปะพื้นบ้าน จากชมรมขับร้องประสานเสียง มช. และในวันสุดท้าย 1 เมษายน มีกิจกรรม มีการ Live รายการเกษตรวันศุกร์ หัวข้อ “วิธีการจัดการโรคราสนิมและสารอะฟลาทอกซินในกาแฟ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.อังสนา อัครพิศาล, การแสดงโฟล์คซองคำเมือง (Toto ร้อยวง) และการแสดงล้านนาสามช่า

เชิญชวนผู้ที่สนใจกิจกรรมดังกล่าว มาร่วมงาน “กาดโก้งโค้งเกษตรปี๋ใหม่เมือง ประจำปี 2565” ณ ลานจอดรถภาควิชาสัตวศาสตร์และสัตว์น้ำ คณะเกษตรศาสตร์ มช. ระหว่าง วันที่ 30 มีนาคม – 1 เมษายน 2565 เวลา 8.00 – 20.00 น.

ที่น่าสนใจในช่วงการเสวนา เสวนา เรื่อง “ผลิตผักปลอดสารพิษในนิเวศเกษตร เมืองเชียงใหม่ ทำได้จริงหรือ” ในวันที่ 30 มี.ค.วันแรกของการจัดงาน มีนายฐากูร ปัญญาใส นักวิทยาศาสตร์เกษตร ทีมวิจัย มช.เป็นวิทยากร ได้เชิญนางอำพร ธนากูล กำนันตำบลแม่เหียะ ประธานโครงการ ถนนสีเขียวบ้านดอนปิน ซอย 5 ที่เข้าโครงการวิจัยการพัฒนาระบบนิเวศน์เกษตรเมืองเชียงใหม่ มช.พร้อม นางสุรีพรรณ ทองมณี อดีตข้าราชการเกษียณ คณะแพทย์ศาสตร์ มช. และเป็นอีกท่านหนึ่งที่เข้าร่วมโครงการวิจัยการพัฒนาระบบนิเวศน์เกษตรเมืองเชียงใหม่

นางอำพร ธนากูล กำนันตำบลแม่เหียะ จ.เชียงใหม่ ในฐานะประธานโครงการ “ถนนสีเขียวบ้านดอนปิน ซอย 5” หมู่ที่ 5 ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ นำชาวบ้านเข้าร่วมโครงการวิจัยการพัฒนาระบบนิเวศน์เกษตรเมืองเชียงใหม่ ของทีมนายทัพไท หน่อสุวรรณ นักวิทยาศาสตร์เกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) หัวหน้าโครงการวิจัยการพัฒนาระบบนิเวศน์เกษตรเมืองเชียงใหม่

นางอำพร กล่าวในการร่วมเสวนา บอกว่า เมื่อต้นเข้าโครงการฯดังกล่าวแล้วได้ความรู้มาบอกต่อให้ชาวบ้านปลูกผักปลอดสารพิษด้วยแล้ว ที่หมู่บ้านดอนปิน ซอย 5 ยังมีปราชญ์ชาวบ้าน คือนายดี จันทคลักษณ์ อดีตกำนัน ต.แม่เหียะที่ปลูกผักไว้รับประทานเองที่บ้าน และนำผักที่ปลอดภัยดังกล่าวส่งขายให้เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี ที่มีความรู้เรื่องปลูกพืชผักมาก่อนได้แบ่งปันความรู้และเป็นพี่เลี้ยงให้ชาวบ้าน แนะนำการปลูกผักชนิดต่างๆ ชาวบ้านก็ได้ความรู้เพิ่มมากขึ้น

“มีการผสมดินปลูกเอง ใช้ดินดำ มูลไก่ และขี้เถ่าดำ และใบฉำฉา ผสมเข้าด้วยกันนำมาใส่ถุงเพาะปลูก เป็นกระสอบสีขาวก็ปลูกพืชผักได้ทั่งบริเวณบ้าน ที่ระเบียนบ้าน หรือรั้วบ้านก็ได้ ได้เริ่มจากไม่กี่หลังคาเรือน วันนี้ปลูกได้กันทั้งซอย 5 แล้ว และยินดีที่จะต้อนรับนักท่องเที่ยวเข้าไปเที่ยวในชุมชนสร้างสรรค์ที่ได้เข้าโครงการวิจัยการพัฒนาระบบนิเวศน์เกษตรเมืองเชียงใหม่ ติดตามได้ที่ https://www.facebook.com/smilegreenroad หรือโทร 084-6098320 ผักยิ้มแม่เหียะ หรือ MAE-HIA GREEN ROAD ที่นี้มีสินค้าผลผลิตจากผักปลอดสารพิษ มีอาหารปรุงสุกใหม่ๆสะอาดอร่อย และมีอาหารอร้อยและของฝากจำนวนมากอีกด้วย” นางอำพร ธนากูล กำนันตำบลแม่เหียะ กล่าว

ด้านนางสุรีพรรณ ทองมณี ที่เข้าร่วมโครงการวิจัยการพัฒนาระบบนิเวศน์เกษตรเมืองเชียงใหม่ ตนทำอาชีพเสริมก่อนเกษียณแล้ว คือเพาะยอดอ่อนเมล็ดดอกทานตะวันส่งให้ลูกค้าสร้างอาชีพมานานแล้ว พอเกษียณ ก็หันมาปลูกผักปลอดสารเคมี ลองผิดลองถูกมานาน จนกระทั้งยกพื้นให้สูงเพื่อปลูกผัก และปลูกแบบปลูกผักออร์แกนิกได้ผล หอยไม่มารบกวน และยังได้ผลผลิตดี มีสามาธิ เพราะการนำเมล็ดเล็กๆลงปลูกในแผงเพาะเมล็ดช่องเล็กๆนั้นได้สมาธิสูง และมีความสุขมาก จนทุกวันนี้ปลูกพื้ชผัดกินเองได้หลายชนิด และนำส่งขายได้อีกด้วย ผู้สนใจเข้าไปเที่ยวชมได้ที่ผักปลอดสารจากชุมชนสุเทพ Suthep CM Clean Food for Life ผักปลอดสารจากชุมชนเกษตรนิเวศในเมือง หรือสอบถามได้ที่เบอร์ 063-8876707 (สวนป้าพรรณ)

เชียงใหม่ สส.เชียงใหม่ เข้าช่วยเหลือครอบครัวนักเรียน ม.2 ถูกรถพ่วง 18 ล้อเฉี่ยวเสียชีวิตบนดอยอินทนนท์ดับ 2 ศพ

สส.เชียงใหม่ เขต 8 พรรคภูมิใจไทย เข้าช่วยเหลือชาวเขาเผ่าม้งบนดอยอินทนนท์ หลังเด็กชายอายุ 14 ปี เรียนอยู่ชั้น ม. 2 ถูกรถบรรทุกพ่วงขนาดใหญ่เฉี่ยวชนเส้นทางถนนจอมทอง-อินทนนท์ จนเป็นเหตุให้เสียชีวิตทั้งคู่ โดยพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรจอมทอง ได้นั้นคู่กรณีมาลงบันทึกข้อตกลงหลังเกิดเหตุไม่ถึง 24 ชั่วโมง และได้รับเงินสินไหมทดแทนกับทาง พรบ.คุ้มครองผู้ประสบภัยได้เงินเพียงคนละ 25,000 บาทเท่านั้น เกรงว่าจะไม่ได้รับความเป็นธรรม

ชาวบ้านขุนกลาง ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เดินทางไปยังสถานีตำรวจภูธรจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมเข้าพบกับร้อยตำรวจเอกวัชรกร ใจมณี พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรจอมทอง หลังผู้ปกครองพร้อมญาติซึ่งเป็นชาวเขาเผ่าม้ง เดินทางเข้ามาตกลงเรื่องค่าเสียหายของเด็กนักเรียนอายุ 14 ปี ซึ่งเรียนอยู่ชั้นมัธยม 2 เสียชีวิตจากการถูกรถดินพ่วง 18 ล้อเฉี่ยวชนจนเสียชีวิตทั้งคู่ โดยเบื้องตนพบว่า ก็ลงบันทึกขอตกลงหลังเกิดเหตุกับคู่กรณีนั้นไม่เป็นธรรม จึงได้เข้ามาพบกับพนักงานสอบสวนอีกครั้งหนึ่ง

สำหรับการบันทึกการตกลงชดใช้ค่าเสียหาย ลงบันทึกกันที่สถานีตำรวจภูธรจอมทอง เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2565 ได้มีคู่กรณีประกอบด้วยนายพงศ์ปกรณ์ ขันแก้ว อายุ 34 ปี ชาวตำบลแม่ทราย อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ และนายอนุชาติ แซ่ย่าง บิดาของเด็กชายพิเซษฐ์ แซ่ย่าง อายุ 14 ปี และนางสาวปริดา แซ่ลี มารดาของเด็กชายกิตติศักดิ์ แซ่วะ มาพบพนักงานสอบสวนเพื่อตกลงชดใช้ค่าเสียหายกรณีเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2565 เวลาประมาณ 16.00 น. ถนนจอมทอง-อินทนนท์ กม.27 หมู่ 17 ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีนายพงศ์ปกรณ์ ได้ขับขี่รถบรรทุกยี่ห้อ อีซูซุ สีขาว ทะเบียน 81-7157 แพร่ ตัวพ่วงทะเบียน 81-7158 แพร่ เฉี่ยวชนกับรถจักรยานยนต์ ยี่ห้อฮอนด้า เวฟ 110 ไอ สีน้ำเงิน-ขาว ทะเบียน 1 กร 3203 เชียงใหม่ ซึ่งทราบภายหลังว่าผู้ตายชื่อ เด็กชายกิตติศักดิ์ แซ่วะ และผู้ซ้อนท้ายชื่อเด็กชายพิเซษฐ์ แซ่ย่าง ทั้งสองเสียชีวิต

ในเรื่องดังกล่าว ผู้เสียหายได้ตกลงเรียกร้องค่าเสียหายดังนี้ /1.นายอนุชาติและนางสาวปริดา ได้เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนและค่าปลงศพแต่ผู้ตายทั้งสองจำนวนคนละ 25,000 บาท /2.นายพงศ์ปกรณ์ได้ตกลงที่จ่ายสินไหมทดแทนกับทาง พรบ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถต่อไป /3. นายอนุชาติ และนางสาวปริดา จะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนกับทาง พรบ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถต่อไป /4. ส่วนรถจักรยานยนต์ยี่ห้อฮอนด้าเวฟ 110 สีน้ำเงิน-ขาว ทะเบียน 1 กร 3203 เชียงใหม่ นายพงศ์ปกรณ์รับว่าจะทำการซ่อมแซมรถให้อยู่ในสภาพที่สามารถใช้งานได้ดีดังเดิมตามความเสียหายที่แท้จริงทุกประการ และ /5. คู่กรณ์ตกลงกันได้ ไม่ติดใจที่จะเรียกร้องค่าเสียหายต่อกันในทางแพ่งอีกแต่อย่างใดและไม่คิดติดใจในผลแห่งคดีอาญาและผลคดีจราจรอีกต่อไป


แต่หลังจากที่ผู้ปกครองของเด็กชายที่เสียชีวิจทั้ง 2 คนมาพูดคุยกับทางญาติก็พบว่า อาจเสียเปรียบในทางคดี เพราะเหตุเกิดในระหว่างเวลา 16.00 น. วันที่ 23 มีนาคม 2565 แต่คู่กรณีเร่งให้ให้ทางฝ่ายผู้เสียชีวิตเข้าพบพนักงานสอบสวน ในเวลา 11.39 น. ของวันที่ 24 มีนาคม 2565 ซึ่งหลังเกิดเหตุไม่ถึง 24 ชั่วโมง เกรงว่าจะไม่ได้รับความเป็นธรรมจึงเข้าร้องเรียนกับทางนางสาวศรีนวล บุญลือ สสเขต 8 เชียงใหม่ พรรคภูมิใจไทย เพื่อให้ช่วยเหลือ ซึ่งนางสาวศรีนวลก็ได้ลงพื้นที่พบกับพนักงานสอบสวนเจ้าของคดี พร้อมลงพื้นที่บริเวณจุดเกิดเหตุ และยืนยันว่าจะเข้าช่วยเหลือเพื่อให้ผู้เสียชีวิตได้รับความเป็นธรรม ซึ่งทางญาติของเด็กชายที่เสียชีวิตทั้ง 2 คน ก็เกรงว่า หลังจากเมื่อได้รับเงินสินไหมทดแทนคนละ 25,000 บาท เสร็จสิ้นแล้ว ก็จะไม่ได้รับเงินจากการเสียชีวิตของเพิ่มเติมกับเด็กทั้ง 2 และเรื่องก็จะเงียบหายไป ซึ่งเด็กชายที่เสียชีวิตทั้ง 2 คน กำลังอยู่ที่โรงเรียนบ้านกลาง อำเภอจอมทอง กำลังจะขึ้นสู่ชั้นมัธยม 3 แต่ก็ต้องมาเสียชีวิตเสียก่อ โดยนางสาวศรีนวล บุญลือ สส.พรรคภูมิใจทยก็ได้มอบอุปกรณ์เครื่องนุ่งห่มและข้าวสารให้กับครอบครัวที่เสียชีวิตทั้ง 2 คน เนื่องจากทางบ้านมีฐานะยากจน


ด้านร้อยตำรวจเอกวัชรกร ใจมณี พนักงานสอบสวนสถนีตำรวจภูรจอมทอง เปิดเผยว่า การลงบันทึกข้อตกลงชดใช้ค่าใช้เสียหายก็เป็นการตกลงกันทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งกรณีเงินค่าสินไหมทดแทนที่ให้กับญาติที่เสียชีวิตทั้ง 2 คนจำนวน 25,000 บาท ก็เป็นเงินที่จะให้กับทางญาตินำประกอบพิธีศพ หลังจากนั้นก็จะได้เรียกผู้กรณีทั้ง 2 ฝ่าย มาตกลงค่าใช้จ่ายกันอีกครั้งหนึ่ง

เชียงใหม่ เชิญชวนทำบุญบวงสรวง ไอ้ไข่พ่อท่านเทิ่ม วัดสันมะเกี๋ยง วันอาทิตย์ที่ 27 มี.ค.และขอพรท้าวเวสสุวรรณ

เชิญชวนทำบุญบวงสรวง ไอ้ไข่พ่อท่านเทิ่ม วัดสันมะเกี๋ยง วันอาทิตย์ที่ 27 มี.ค.และขอพรท้าวเวสสุวรรณ

ทางวัดสันมะเกี๋ยง ต.สำราญราษฏร์ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ แจ้งว่า ในวันอาทิตย์ที่ 27 มี.ค.2565 เวลา 13.00 น. ทางวัดสันมะเกี๋ยง จะประกอบพิธีบวงสรวง “ไอ้ไข่ พ่อท่านเทิ่ม” จากวัดสระสี่มุม จ.นครศรีธรรมราช นำมาให้ศรัทธาประชาชนทางภาคเหนือโดยเฉพาะในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ได้เดินทางมากราบไว้ขอพร “ขอได้ไหว้รับ” โดยไม่ต้องเดินทางไกลไปถึงจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งการบวงสรวงเป็นการประกอบพิธีประจำเดือนทุกเดือนวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือน เพื่อให้ประชาชนมาร่วมขอพรให้ได้สมหวังตามเลขมงคลในพิธีจุดเทียนมงคลหยดลงในอ่างน้ำมนต์ เป็นเลขเด็ดในงวดวันที่ 1 เม.ย.ที่จะถึงนี้ต่อไป

วัดสันมะเกี๋ยง ยังมีองค์ท้าวเวสสุวรรณ สร้างไว้ที่วัดให้ประชาชนกราบไหว้ขอพร ทางวัดได้นิมนต์ท่าน ครูบาคำฝั้น อินทวัณโณ วัดกอโชค อ.สันป่าตอง เป็นประธานในพิธีบวงสรวงท้าวเวสสุวรรณ เปิดโภคทรัพย์ บันดาลทรัพย์ แก้ดวงชะตา แก้ปีชง เสริมดวงชะตาได้ประกอบพิธีใหญ่ไปแล้วเมื่อวันที่ 13 มี.ค.2565 ที่ผ่านมา ได้มีประชาชนเดินทางมากราบไหว้ท้าวเวสสุวรรณตลอดมา ทางวัดได้ให้จุดเทียนถวายท้าวเวสสุวรรณได้ตลอดทั้งวัน หรือหากศรัทธาประชาชนจะร่วมทำบุญ สามารถโอนเงินเข้าบัญชีได้ ที่บัญชีธนาคารกรุงไทย บัญชีเลขที่ 553-0-35610-9 สาขาบ่อสร้าง ชื่อบัญชี พัฒนาวัดสันมะเกี๋ยง หรือติดต่อสอบถามได้ที่เบอร์ 089-558-4332 ได้ทุกวัน

ทางวัดขอความร่วมมือประชาชนที่เดินทางเข้ามาที่วัด และมาร่วมพิธีบวงสรวงไอ้ไข่วันที่ 27 มี.ค.นี้ ขอสวมหน้ากากอนามัยทุกคนตลอดเวลามี่อยู่ในวัด และเว้นระยะห่าง หรือ New Normal เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ด้วย

เชียงใหม่ นำ ฮ. KA-32 ปฏิบัติการดับไฟในพื้นที่ ต.ปิงโค้ง อ.เชียงดาว จว.เชียงใหม่ จำนวน 16 เที่ยว ใช้น้ำ 48,000 ลิตร

กองบัญชาการควบคุมสถานการณ์ไฟป่าหมอกควันภาคเหนือ กองทัพภาคที่ 3 ส่วนหน้าร่วมกับสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงใหม่ นำ KA-32 ปฏิบัติการดับไฟในพื้นที่ ต.ปิงโค้ง อ.เชียงดาว จว.เชียงใหม่ จำนวน 16 เที่ยว ใช้น้ำ 48,000 ลิตร

กองบัญชาการควบคุมสถานการณ์ไฟป่าหมอกควันภาคเหนือ กองทัพภาคที่ 3 ส่วนหน้าร่วมกับสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงใหม่ นำ KA-32 ปฏิบัติการดับไฟในพื้นที่ ต.ปิงโค้ง อ.เชียงดาว จว.เชียงใหม่ จำนวน 16 เที่ยว ใช้น้ำ 48,000 ลิตร ภายหลังเกิดไฟไหม้ตั้งแต่เมื่อเช้าที่ผ่านมา จากการลาดตระเวนของโดรนจิตอาสา ขณะปฏิบัติการยังคงมีเปลวไฟสูงต่อเนื่อง

สำหรับสถานการณ์จุดความร้อนในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ (ดาวเทียมระบบ VIIRS) ห้วงวันที่ 25 มี.ค.65 พบเกิดจุดความร้อนสะสมจำนวน 13 จุด น้อยกว่าวันเดียวกันของปี 64 จำนวน 233 จุด ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค.64 – 25 มี.ค.65 เกิดจุดความร้อนสะสมในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ จำนวน 19,037 จุด เมื่อเทียบปี 64 ( 56,268 ) ลดลง 37,231 จุด คิดเป็น 66.17 % เมื่อเทียบปี 63 ( 92,762 ) ลดลง 73,725 จุด คิดเป็น 79.48 % ซึ่งจุดความร้อนวันนี้พบในจังหวัดกำแพงเพชร, พิจิตรและจังหวัดพิษณุโลก โดยเฉพาะในพื้นที่เกษตร 6 จุด,พื้นที่เขต สปก. 5 จุด เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับเมื่อวาน พื้นที่เผาไหม้ลดลง ค่าฝุ่นละอองลดลง สภาพอากาศโดยรวมดีถึงดีมาก นอกจากนี้ห้วงวันที่ 1 – 24 มี.ค.65 ทุกจังหวัดค่าจุดความร้อนสะสม ต่ำกว่าปี 64

เชียงใหม่ สป.อว.ติดตามผลการดำเนินงาน คก.พลิกโฉมมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ Reinventing University

สป.อว.ติดตามผลการดำเนินงาน คก.พลิกโฉมมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ Reinventing University

วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม 2565 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดกิจกรรมติดตามผลการดำเนินงานและจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์โครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing University) โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในพิธี พร้อมกล่าวต้อนรับ นายพันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี หัวหน้ากลุ่มภารกิจบริหารยุทธศาสตร์และทีมงานจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และคณะ ในโอกาสลงพื้นที่เพื่อติดตามผลการดำเนินโครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมทั้งผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ ซึ่งให้มหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นมหาวิทยาลัยต้นแบบของโครงการฯ โดยมีคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยร่วมให้การต้อนรับและนำเสนอผลการดำเนินโครงการฯในแต่ละด้าน ณ ห้องประชุมข้าวหอมมะลิ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า “มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ดำเนินงานโครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing University) ตามนโยบายการพลิกโฉมระบบอุดมศึกษาของประเทศไทย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยในปี 2564 มหาวิทยาลัยได้รับการสนับสนุนงบประมาณโครงการยกระดับวิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการใหม่ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรสมัยใหม่ ภายใต้โปรแกรม 16 โครงการปฏิรูประบบ อววน. แผนงานย่อย “การพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษาและการผลิตกำลังคนขั้นสูง” จำนวน 88,706,000 บาท โดยมหาวิทยาลัยจะต้องส่งมอบผลผลิตตัวชี้วัดตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (จำนวน 9 ตัวชี้วัด) MJU Enhancing SMEs and New Entrepreneurs with Smart and Modern Agricultural Technology Innovation (SMATI) มุ่งหวังให้มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งมีอัตลักษณ์ความเชี่ยวชาญ องค์ความรู้ด้านนวัตกรรมเกษตร ความพร้อมในด้านทรัพยากรบุคคล เครือข่ายความร่วมมือ และปัจจัยเกื้อหนุนต่างๆ เพื่อพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางและมีระบบนิเวศที่เอื้อต่อการขับเคลื่อนนวัตกรรม และขณะนี้มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการขับเคลื่อนผลผลิตการดำเนินงานได้สำเร็จลุล่วง อันจะนำไปสู่การยกระดับและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร สอดคล้องกับแนวคิดหลักของมหาวิทยาลัยในการส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยก้าวสู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งผู้ประกอบการ (Entrepreneurial University) ขอขอบคุณทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และร่วมขับเคลื่อนการพลิกโฉมสู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม (Technology Development and Innovation) ได้อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป”


สำหรับผลผลิตตัวชี้วัดที่มหาวิทยาลัยได้ดำเนินงาน มีหน่วยงาน/ผู้ประกอบการที่ร่วมดำเนินการในโครงการ จำนวน 53 กลุ่มวิสาหกิจ/ธุรกิจ ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน แพร่ เชียงราย น่าน สุโขทัย ลำปาง พิจิตร ตาก และขอนแก่น ซึ่งได้สำเร็จลุล่วงและจะต้องส่งมอบตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ จำนวน 9 ตัวชี้วัด ได้แก่

1. แผนการสนับสนุนด้านการผลิตและพัฒนากำลังคนด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ 1 แผน
2. จัดทำ Module สำหรับฝึกอบรมผู้ประกอบการที่เชื่อมโยงกับหลักสูตรวิศวกรรมฟาร์มอัจฉริยะและนวัตกรรมเกษตร ซึ่งสามารถพัฒนาเป็น Credit bank/ Non-degree เทียบเคียงเป็นรายวิชาได้ จำนวน 6 Module Module ซึ่งดำเนินการจัดอบรมไปแล้วมีผู้เข้ารับการอบรมทั้งสิ้น 130 คน
3. มีพื้นที่ผลิตการเรียนรู้สร้างสรรค์เพื่อพัฒนาการเป็นผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรและอาหาร ได้แก่ พื้นที่ MJU Library Maker Space และศูนย์เรียนรู้สร้างสรรค์บัณฑิตผู้ประกอบการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ณ ศูนย์วิจัยพลังงาน ขนาดพื้นที่ประมาณ 2 ไร่ เพื่อพัฒนาเป็น Co-Working Space และ Maker Space

4. พัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยเทคโนโลยีนวัตกรรมของมหาวิทยาลัย จำนวน 88 ผลิตภัณฑ์ โดยจำแนกเป็น กลุ่มผลิตภัณฑ์นวัตกรรมและเทคโนโลยีอาหาร (food) 52 ผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพ (non-food) 32 ผลิตภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์นวัตกรรมและเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ 4 ผลิตภัณฑ์
5. พัฒนาหลักสูตรด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม 2 สาขาวิชา ได้แก่ หลักสูตรวิศวกรรมฟาร์มอัจฉริยะและนวัตกรรมเกษตร วิชาเอกวิศวกรรมฟาร์มอัจฉริยะ และ วิชาเอกวิศวกรรมนวัตกรรมเกษตร ซึ่งอยู่ระหว่างการเปิดรับนักศึกษา
6. มีจำนวนผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรสมัยใหม่ภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย 57 คน
7. จำนวนผู้ประกอบการใหม่ที่ได้รับการพัฒนาด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ได้รับการพัฒนา 2,117 คน โดยได้ออกแบบหลักสูตรเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ครอบคลุมวงจรธุรกิจ เช่น การแปรรูปพืช สัตว์ ประมง การส่งเสริมการตลาด การจำหน่าย การออกแบบตราสินค้า บรรจุภัณฑ์ และระบบเกษตรอัจฉริยะ ครอบคลุมทุกวิทยาเขต โดยจัดฝึกอบรม่ไปแล้วทั้งสิ้น จำนวน 62 หลักสูตร

8. จำนวนธุรกิจใหม่ (SMEs) ซึ่งสร้างธุรกิจใหม่ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมจากผู้เชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัย จำนวน 54 กิจการ จำแนกเป็นกลุ่มธุรกิจอาหาร (food) จำนวน 31 กิจการ กลุ่มธุรกิจเกษตรและชีวภาพ (non-food) จำนวน 21 กิจการ กลุ่มธุรกิจเกษตรอัจฉริยะ จำนวน 2 กิจการ
9. จำนวนตลาดหรือช่องทางการจำหน่ายสินค้าและบริการผู้ประกอบการใหม่และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยได้พัฒนาตลาดหรือช่องทางที่ครอบคลุมทุกวิทยาเขตและระบบออนไลน์จำนวน 4 ช่องทาง ประกอบด้วย การพัฒนากาดแม่โจ้ 2477, ศูนย์พัฒนาและยกระดับผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรและรองรับการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและวัฒนธรรม ม.แม่โจ้-แพร่, การส่งเสริมและยกระดับตลาดสินค้าชุมชนอำเภอละแม จังหวัดชุมพร ม.แม่โจ้-ชุมพร และ พัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายออนไลน์ กาดแม่โจ้ 2477 (อยู่ระหว่างพัฒนาระบบ)

จากนี้ มหาวิทยาลัยได้มีแผนการดำเนินงานในระยะต่อไปเพื่อเร่งขับเคลื่อนกิจกรรมให้ตรงตามแผนงาน และต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบตามความเหมาะสมของสถานการณ์ โควิด-19 รวมถึงประชาสัมพันธ์กิจกรรมให้ทั่วถึงกลุ่มเป้าหมายให้มากยิ่งขึ้น

เชียงใหม่ นายอำเภอดอยสะเก็ด ร่วมลงพื้นที่ให้กำลังใจชมรมกำนันผู้ใหญ่ตำบลเชิงดอย

นายอำเภอดอยสะเก็ดพร้อม ปลัดอำเภอดอยสะเก็ดร่วมลงพื้นที่ให้กำลังใจชมรมกำนันผู้ใหญ่ตำบลเชิงดอย สร้างบ้านใหม่ให้ผู้พิการ

เมื่อวันที่ 23 มี.ค.2565 นายธนกฤต ฉันทะจำรัสศิลป์ นายอำเภอดอยสะเก็ดพร้อม ปลัดอำเภอดอยสะเก็ด ร่วมลงพื้นที่ให้กำลังใจชมรมกำนันผู้ใหญ่ตำบลเชิงดอยนำโดยนางสาวโสรัตยา บัวชุม กำนันตำบลเชิงดอย ร่วมกับเจ้าหน้าที่ทหารชุดปฏิบัติการผาลาด คณะผู้บริหารเทศบาลตำบลเชิงดอย สมาชิกสภาเทศบาลตำบลเชิงดอย จิตอาสาตำบลเชิงดอย ได้จัดหางบประมาณ และสร้างบ้านให้ผู้พิการและเป็นผู้สูงอายุ ราษฏรบ้านสันอุ้ม โดยไม่ใช้งบประมาณจากหน่วยงานราชการ เพื่อบำบัดทุกข์ บำรุงสุขของราษฏรในพื้นที่

สำหรับผู้สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ และงบประมาณประกอบไปด้วย
1.นายวิรัช บัวชุม ที่ปรึกษานายก ทต เชิงดอย รับ ทรายและหินคลุก
2.นางสุมาลี บัวชุม สท เขต 2 รับอิฐบล๊อกทั้งหลัง 500 ก้อน
3. กำนันโสรัตยา บัวชุม รับจั่ว หน้าหลังคาบ้าน และหลังบ้าน แผ่นเรียบ 12 แผ่น พร้อม น๊อต 1 กล่อง
4.นายจรัญ บุษดาคำ สท เขต 2 รับหน้าต่าง 3 ชุด
5.แม่หลวงวรมน จิตตจรูญพันธ์ รับ ประตู 1 ชุด
6.พ่อหลวงยงยุทธ ศรีวงค์เกิด รับ หน้าต่าง 4ชุด
7.พ่อหลวงอนุพล ศรีดวงชื่น รับปูน 10 ลูก
8.นายศรัณย์วิทย์ ดาราศรี รองนายก ทต เชิงดอย มอบเงิน 500 บาท สมทบค่าอาหาร
9.คุณประสาตร์ คุณจันทร์ฉาย เงินท๊อก ม.12 มอบเงิน1,000 บาท อีกด้วย.

เชียงใหม่ ฉก.ม.4 กกล.ผาเมืองสกัดแรงงาน 17 คน ด้าน อ.ฝาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยเสียนำพา คนละ 20,000 บาท

กองร้อยทหารม้าที่ 3 หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารม้าที่ 4 กองกำลังผาเมือง จัดกำลังพล 1 ชุดปฏิบัติการลงพื้นที่ลาดตระเวนเฝ้าตรวจ ตามภารกิจสกัดกั้นการลักลอบค้ายาเสพติด สิ่งผิดกฎหมาย การสกัดกั้นแรงงานผิดกฎหมายในพื้นที่รับผิดชอบตามเส้นทาง ตั้งแต่ฐานปฏิบัติการดอยอ่างขาง – สวนลิ้นจี่ ต.แม่งอน อ.ฝาง จังหวัดเชียงใหม่
ตรวจพบกลุ่มบุคคลต้องสงสัยเดินเท้าเข้ามาที่ บริเวณ บ.ถ้ำ ต.แม่งอน อ.ฝาง เจ้าหน้าที่จึงขอทำการตรวจค้น ผลการปฏิบัติสามารถจับกุมผู้ลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย สัญชาติเมียนมา (เชื้อชาติปะหล่อง) จำนวน 17 ราย เป็นชาย 5 ราย , หญิง 5 ราย , พร้อมเด็ก 7 ราย จึงนำแรงงานดังกล่าวเข้ามาสอบสวนตามขั้นตอน จากการสอบถามทราบว่าทั้งหมดได้เดินทางมาจาก เมืองเกซี และเมืองจ๊อกแม สหภาพเมียนมาเพื่อเข้ามาหางานทำในพื้นที่ อ.ฝาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยเสียค่าใช้จ่ายให้กับผู้นำพา คนละ 20,000 บาท หน่วยจึงได้นำผู้ต้องหาส่ง สภ.ฝาง เพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

นอกจากนี้ยังพบว่ากลุ่มแรงงานทั้งหมดยังไม่มีความเข้าใจเรื่องการผ่อนปรนตาม MOU ตามมติคณะรัฐมนตรี ในเรื่องการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) ที่เข้ามาทำงานตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงาน (MOU) ภายใต้บันทึกข้อตกลงว่าด้วยการจ้างแรงงาน (Agreement) ซึ่งวาระการจ้างงาน ครบ 4 ปี ในปี พ.ศ. 2565 ให้สามารถอยู่ในราชอาณาจักรและทำงานได้อีกไม่เกิน 2 ปี นับแต่วันที่การอนุญาตเดิมสิ้นสุด ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ โดยให้คนต่างด้าวที่ประสงค์ทำงานต่อไปกลุ่มดังกล่าว มาดำเนินการยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตทำงานหรือยื่นคำขออนุญาตทำงาน ภายในระยะเวลาที่กำหนด

เชียงใหม่ อากาศที่ร้อนจัดทำให้มีประชาชนและนักท่องเที่ยวพากันไปลงเล่นน้ำ และนั่งรับประทานอาหารตามซุ้มเรือนแพ ในอ่างเก็บน้ำห้วยตึงเฒ่า

อากาศที่ร้อนจัดทำให้มีประชาชนและนักท่องเที่ยวพากันไปลงเล่นน้ำ และนั่งรับประทานอาหารตามซุ้มเรือนแพ ในอ่างเก็บน้ำห้วยตึงเฒ่า เชียงใหม่ หรือทะเลเชียงใหม่ สุดคึกคัก อาหารสุดฮิต กุ้งเต้น ส่วนเจ้าหน้าที่นำเรือสปีดโบ๊ท ตรวจการณ์ ออกลาดตระเวนทางน้ำ เกิดคลื่นเทียมสูงเกือบ 1 เมตร เด็กๆพากันชื่นชอบได้เล่นคลื่นน้ำ สนุกสนานคลายร้อน

สภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าวในช่วงกลางวัน ทำให้มีประชาชนและนักท่องเที่ยวพาครอบครัว และบุตรหลานไปนั่งรับประทานอาหารตามซุ้มร้านอาหารเรือนแพ ในอ่างเก็บน้ำห้วยตึงเฒ่า อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ หรือพัทยาเชียงใหม่ กันอย่างคึกคัก โดยจะนั่งตามซุ้ม ที่นั่งอยู่ริมน้ำ จนเต็มหมดมากกว่า 400 ซุ้ม จนต้องนำเสื่อมาปูนั่ง ริมน้ำกับครอบครัว รับประทานอาหารและพักผ่อนคลายร้อน ส่วนกลุ่มวัยรุ่นหรือเด็ก ๆ และยังมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ พากันลงแช่น้ำเล่นคลายร้อน บริเวณริมตลิ่งและมีทุ่นลอยน้ำ ป้องกันอันตราย ห้ามออกมานอกเขตน้ำลึก

ขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่ก็จะนำเรือ สปีดโบ๊ท ออกวิ่งตรวจการณ์ตามชายฝั่ง เพื่อดูแลและประชาสัมพันธ์ในการเล่นน้ำ ให้ปลอดภัย แต่เมื่อเรือสปีดโบ๊ทวิ่งผ่าน ก็จะมีคลื่นน้ำขนาดใหญ่ สูงประมาณ 50 เซนติเมตร วิ่งตามผิวน้ำหลังสปีดโบ๊ท เข้าหาชายฝั่ง ทำให้เด็กๆและกลุ่มวัยรุ่น พากันเล่นคลื่นกันอย่างสนกสนานรวมทั้งชาวต่างชาติที่ลงเล่นน้ำ เป็นการคลายร้อน ขณะที่ประชาชนยังคงทยอยเข้าไปพักผ่อนอย่างต่อเนื่อง คาดว่ามากกว่า 3 พันคน ร้านอาหารที่นั่งเต็ม คาดเงินสะพัดเป็นอย่างมาก 

ส่วนอาหารยอดฮิต เมนู ยำกุ้งเต้น ที่นำเครื่องสมุนไพร ผสมกับกุ้งฝอยสด ใส่ในถ้วยปิดฝา เวลาจะรับประทานต้องเขย่า ให้เครื่อง คลุกเค้าให้เข้ากัน จึงจะรับประทาน หากกุ้งยังเต้น รดชาดจะอร่อยและจะเต้นออกนอกถ้วย