เชียงใหม่ เปิดประชุมวิชาการ เหลียวหลัง-แลหน้า เพื่อการแพทย์แบบครบวงจร

เปิดประชุมวิชาการ เหลียวหลัง-แลหน้า เพื่อการแพทย์แบบครบวงจร ในงานสถาบันวิศวกรรมชีวการแพทย์ มช. เปิดตัวผลงานวิจัยจากฝีมือคนไทย เครื่องตรวจวัดคลื่นหัวใจพร้อมระบบ GPS ใช้ได้จริงและถูกกว่าต่างประเทศถึง 10 เท่า

ที่ห้องเชียงใหม่ ชั้น 2 ศูนย์ประชุมนานาชาติดิเอ็มเพลส โรงแรมดิเอ็มเพลส จังหวัดเชียงใหม่ ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการ “เหลียวหลัง-แลหน้า งานวิจัยมุ่งเป้า การพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินและสาธารณสุขอย่างครบวงจรจากล่างสู่บน” โดยมี ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.นพ.สุวัฒน์ จริยาเลิศศักดิ์ คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศาสตราจารย์คลินิก นพ.นิเวศน์ นันทจิต อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมด้วยผู้อำนวยการโรงพยาบาล เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ กว่า 100 คน เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.นพ.สุวัฒน์ จริยาเลิศศักดิ์ คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า การประชุมวิชาการในครั้งนี้ดำเนินการภายใต้แผนงานยุทธศาสตร์เป้าหมายด้านสังคม แผนงานระบบบริการสุขภาพ โดยได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เป็นโคครงการที่มุ่งเน้นการพัฒนาระบบเครือข่ายการจัดบริการทางการแพทย์ฉุกเฉินที่เป็นปัญหาใหญ่ของประเทศที่ก่อให้เกิดความสูญเสียชีวิตและเกิดความพิการอย่างรุนแรง โดยขอบเขตของการวิจัยจะครอบคลุมทั้งในดานการป้องกันภาวะเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุฉุกเฉิน ความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับการช่วยเหลือเบื้องต้นในภาวะฉุกเฉินสำหรับประชาชน โดยมีโครงการย่อยจำนวน 32 โครงการเข้าร่วม ซึ่งเป็นพื้นที่วิจัยนำร่องในเขตจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และน่าน

สำหรับโครงการนี้ถือเป็นการขับเคลื่อนระยะที่ 2 แล้ว ซึ่งระยะแรกที่ดำเนินการนั้น ก็ได้มุ่งเน้นเรื่องของการพัฒนาระบบให้เชื่อมโยงด้านข้อมูลของผู้ป่วยของโรงพยาบาล ไปจนถึงระดับตำบล เพื่อให้เกิดความสะดวก รวดเร็วในด้านการรักษา แต่เนื่องจากผู้ป่วยบางรายที่ได้เดินทางกลับไปบ้านเพื่อฟื้นฟูร่างกาย กลับเป็นช่วงที่รอยต่อด้านการรักษาขาดหายไป ทำให้ผู้ป่วยบางรายกลายเป็นคนพิการ ซึ่งในระยะที่ 2 และ 3 ในอนาคตจะมีการเชื่อมโยงข้อมูลในด้านการดูแลผู้ป่วยที่มากขึ้น

ขณะเดียวกันในวันนี้ก็มีผลงานวิจัย ของนายแพทย์ชาญชัย พจมานวิพุธ รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ 1 โรงพยาบาลนครพิงค์ โดยเล็งเห็นว่าโรงพยาบาลนครพิงค์ซึ่งเป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัด มีจำนวนเตียงทั้งหมด 609 เตียง แต่เนื่องจากมีผู้รับบริการจำนวนมาก ห้องฉุกเฉินมีความหนาแน่น ระยะเวลาเฉลี่ยที่ผู้ป่วยหนักอยู่ห้องฉุกเฉินนาน ไม่สามารถรับส่งต่อได้ทันต้องรอบริหารจัดการเตียงภายในโรงพยาบาลและโรงพยาบาลเครือข่ายทั้งในและนอกจังหวัด ด้วยการสื่อสารทางโทรศัพท์ วิทยุสื่อสารเพื่อส่งต่อข้อมูล การบริหารพบปัญหาทั้งด้านการรับรู้และเข้าถึงระบบการแพทย์ฉุกเฉินของประชาชน คุณภาพการประเมินและการช่วยเหลือผู้ป่วยของศูนย์รับแจ้งเหตุการแพทย์ฉุกเฉินและหน่วยบริการที่ออกปฏิบัติการ ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการพัฒนาระบบบริการฉุกเฉินด้านการแพทย์ และสาธารณสุขแบบไร้รอยต่อ จังหวัดเชียงใหม่ขึ้น เพื่อให้เกิดความรวดเร็ว ถูกต้อง ปลอดภัย สามารถบันทึกรายงานที่รวดเร็ว และไม่ซ้ำซ้อน ซึ่งคาดว่าจะทดลองใช้โปรแกรมได้ตั้งแต่เดือนมกราคม 2564 เป็นต้นไป

นอกจากนี้สถาบันวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ก็ได้คิดค้นเครื่องตรวจวัดชีจรอัตราการเต้นของหัวใจ อัตราการเต้นของชีจร ความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด ความดันโลหิต และแสดงคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้ลึกถึง 12 ลีด ซึ่งอุปกรณ์ดังกล่าวได้เชื่อมโยงกับแพลตฟอร์มสื่อสารข้อมูลระหว่างคนไข้ รถพยาบาล และโรงพยาบาล มีระบบ GPS ระบุตำแหน่งของรถพยาบาลได้ตลอดเวลา สามารถส่งข้อมูลคนไข้และสัญญาณชีพพื้นฐานแบบเรียลไทม์ มาให้ศูนย์ข้อมูลที่ดูแลอยู่ได้รับทราบ เพื่อเตรียมความพร้อมในการช่วยเหลือผู้ป่วยได้รวดเร็ว แม่นยำมากยิ่งขึ้น ซึ่งอุปกรณ์ชนิดนี้ในห้วงที่ผ่านมาต้องสั่งนำเข้ามาใช้ในราคา 300,000 – 500,000 บาท แต่ปัจจุบันสามารถผลิตขึ้นได้ด้วยฝีมือคนไทย ในราคาเพียง 40,000 บาท ถูกกว่าต่างประเทศถึง 10 เท่า ปัจจุบันได้นำเครื่องดังกล่าวไปทดลองใช้แล้วที่โรงพยาบาลสันทรายกว่า 20 เครื่องในการดูแลผู้ป่วย ถือว่าเป็นความสำเร็จของคนไทย ที่สามารถนำเอาแนวคิด และเทคโนโลยีมาปรับใช้เพื่อดูแลผู้ป่วยได้อย่างครบวงจร และน่าภาคภูมิใจเพราะมาจากฝีมือคนไทย ในอนาคตเตรียมต่อยอดไปยังโรงพยาบาลอื่นๆ ต่อไป

เชียงใหม่ วัดสันมะเกี๋ยงเตรียมจัดงานบวงสรวง”ไอ่ไข่” ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่

วัดสันมะเกี๋ยง เตรียมจัดงานพิธีบวงสรวง “ไอ่ไข่วัดสันมะเกี๋ยง” ในวันที่ 26 ธค. 63 พร้อมทำพิธีปลุกเสก ไม้ขนุนตายพราย “แม่สองนาง” ที่แกะสลักจากต้นขนุนที่แห้งตาย และพิธีสะเดาะเคราะห์ส่งท้ายปี โดยนินมต์พระครูโสภณบุญโญภาส เจ้าคณะตำบลหารแก้ว ณ วัดศรีสว่าว(วัวลาย) ตำบลหารแก้ว อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่มาทำพิธี

พระครูปลัดทวีวัฒน์ อินฺทวณฺโณ ที่ปรึกษาเจ้าอาวาสวัดสันมะเกี๋ยง ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยสะเก็ดพระอารามหลวง เจริญพรว่า ทางวัดสันมะเกี๋ยงเตรียมจัดพิธีบวงสรวง “ไอ่ไข่ วัดสันมะเกี๋ยง “ ในวันที่ 26 ธค. 2563 เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป เป็นการบวงสรวงไอ่ไข่ วัดสันมะเกี๋ยง พร้อมพิธีสะเดาะเคราะห์ ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ โดยนินมต์พระครูโสภณบุญโญภาส เจ้าคณะตำบลหารแก้ว ณ วัดศรีสว่าว(วัวลาย) ตำบลหารแก้ว อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่มาทำพิธี

นอกจากนั้นทางวัดได้ทำพิธีปลุกเสก“ไม้ขนุนตายพราย แม่สองนาง” ที่แกะสลักมาจากต้นขนุนที่แห้งตายในหมู่บ้าน นำไปแกะสลักเป็นหญิงสาว 2 คน โดยไม้ขนุนตายพราย คือต้นไม้ขนุนที่ยืนต้นตาย เป็นไม้ที่ เทพ เทวดา ที่สถิตย์อยู่ในต้นไม้ขนุน ถ้าต้นใดหมดอายุไขแล้วจะพลีต้นยืนต้นตาย เรียกว่าตายพรายผู้คนต่างหามาไว้บูชาเพื่อเป็นสิริมงคลหรือนำมาบูชา เมื่อทำพิธีปลุกเสกก็จะนำมาตั้งไว้ให้ประชาชนที่เดินทางมาขอพรไอ่ไข่วัดสันมะเกี๋ยงได้กราบไหว้ขอพร


อย่างไรก็ดีฝากเชิญชวนประชาชนเดินทางมาร่วมพิธีบวงสรวง “ไอ่ไข่วัดสันมะเกี๋ยง” จัดพิธีอย่างยิ่งใหญ่ ในวันที่ 26 ธค. เพื่อเป็นสิริมงคลให้กับตนเองและครอบครัว นอกจากนั้นยังได้ร่วมพิธีสะเดาะเคราะห์ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับสิ่งดีๆ ที่จะเข้ามาในปีใหม่ที่จะถึงนี้ พร้อมบูชา”ไอ่ไข่ รุ่นยกฐานะ 64″ ขอไหว้ได้รับ ซึ่งมีผู้นำไปบูชาสัมฤทธิ์ผลก็เดินทางกลับมาแก้บนด้วยการจุดประทัดแก้บนไอ้ไข่กันอย่างต่อเนื่อง

เชียงใหม่ สหกรณ์การเกษตรพร้าวขายข้าวให้แอมเวย์เริ่มส่งปีใหม่

เกษตรกรปลูกข้าวหอมมะลิได้เฮ สหกรณ์การเกษตรพร้าวขายข้าวให้แอมเวย์เริ่มส่งปีใหม่

นายนิกร ทะกลกิจ ประธานสหกรณ์การเกษตรพร้าว จำกัด อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ ได้ประชุมสรุปเรื่องการส่งข้าวหอมมะลิของสหกรณ์ในเดือนมกราคม พ.ศ.2564 ที่ต้องส่งข้าวหอมมะลิ 100% ให้ลูกค้ารายใหญ่ คือ แอมเวย์ กำหนดการส่งในต้นปีหน้า ถือว่าเป็นโอกาสที่ดีเริ่มต้นปีใหม่แล้วมีลูกค้าให้ส่งข้าวหอมมะลิที่มีคุณภาพดีที่สุดในภาคเหนือเพื่อส่งถึงผู้บริโภคทั่วประเทศได้รับประทานข้าวหอมมะลิที่มีคุณภาพและได้มาตราฐานสากล ซึ่งมาตรฐานที่ได้รับ มีมาตราฐานการผลิตในโรงสี GMP Codex, HACCP, ISO 9001-9008, ISO 2200-2005 มกษ. 4403-2553 มาตราฐานผลิตภัณฑ์ มกษ.4000-2546, อย., ฮาลาน, OTOP และ สมส. และยังได้รับมาตรฐานอื่นๆอีกจำนวนมาก

พื้นที่ปลูกข้าวของเกษตรกรที่เป็นสมาชิกสหกรณ์การเกษตรพร้าว อ.พร้าว อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของ จ.เชียงใหม่ ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ 89 กม. พื้นที่ อ.พร้าว ล้อมรอบด้วยป่าไม้และภูเขา มีพื้นที่ราบลุ่มเป็นบางส่วน มีพื้นที่ 2,021 ตรม.ประชากรส่วนใหญ่ทำการเกษตร ทำให้เกษตรกรจึงรวมตัวจัดตั้งเป็นสหกรณ์การเกษตรพร้าวขึ้นเมื่อวันที่ 9 ก.ย.2520 เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่ อ.พร้าวเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน

อ.พร้าว มีแหล่งต้นน้ำของแม่น้ำแม่งัดที่ไหลลงสู่แม่น้ำปิง จึงมีแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์ สหกรณ์การเกษตรพร้าว ได้ส่งเสริมให้สมาชิกปลูกข้าวคุณภาพแบบครบวงจรเพื่อลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่ รวมทั้งผลผลิตคุณภาพมาตราฐานตามความต้องการของตลาด สร้างมูลค่าภายใต้นโยบาย “มุ่งมั่นในการค้าการผลิตสินค้าคุณภาพและปลอดภัย เพื่อสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้าและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง” และสอดคลองกับแผนการเชื่อมโยงงานโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ การผลิตข้าวครบวงจร มาตราฐานสินค้าเกษตร

สหกรณ์การเกษตรพร้าว มีโรงสีข้าวสารคุณภาพจากแหล่งต้นนำที่ดี การันตีระดับสากล ธนาคารข้าวสถาบันการเกษตรเพื่อช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของสมาชิกสหกรณ์และการเกษตรทั่วไป เป็นแหล่งสำรองเมล็ดพันธุ์และปัจจัยการผลิตทางการเกษตรรวมทั้งเครื่องอุปโภคบริโภค ยืมไปใช้ในการประกอบอาชีพทางการเกษตรและการดำรงชีพได้อีกด้วย ยังมีบริการด้านต่างๆ มี ธุรกิจสินเชื้อ ธุรกิจผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ธุรกิจรับฝากเงิน ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย และธุรกิจปั๊มน้ำมัน และธุรกิจแปรรูปต่างๆอีกด้วย ผู้สนใจศึกษาดูงานและสั่งสินค้าติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ สหกรณ์การเกษตรพร้าว จำกัด เลขที่ 256 ม.4 ถนนปิงโค้ง-พร้าว อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ www.coopthai.com / proud เวลา 09.00-15.00 น.ทุกวัน(หยุดวันเสาร์-อาทิตย์).

เชียงใหม่ ชาวบ้านในตำบลบ้านธิ คัดค้านบริษัทดูดทราย เกรงทำพื้นที่เสียหายน้ำแล้ง

ชาวบ้านในพื้นที่ตำบลบ้านธิ รวมตัวทำทำหนังสือคัดค้านบริษัทดูดทรายในพื้นที่ ดำเนินการเกรงทำให้พื้นที่ใกล้เคียงเสียหาย หน้าแล้งประปาหมู่บ้านแห้ง และขอตรวจสอบรายชื่อชาวบ้านลงนามประชาคมหมู่บ้าน หวั่นเอกสารไม่ถูกต้อง

ชาวบ้านหมู่ 8 ต.บ้านธิ อ.บ้านธิ จ.ลำพูน โดยการนำของนายภิญโญ สมบูรณ์ชัย ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 8 ต.บ้านธิ นายทวีทรัพย์ ชัยศรี เจ้าของที่ดิน และชาวบ้านหมู่ 8 อีกจำนวนหนึ่ง นำสื่อมวลชนเข้าดูพื้นที่สวนลำไยในพื้นที่หมู่ที่ 8 ซึ่งมีนายทุนเข้าดำเนินการดูดทรายในพื้นที่ใกล้เคียง และเกรงว่าเมื่อดำเนินกิจการนานๆ ไป พื้นที่สวนลำไยหลาย 10 ไร่ ที่อยู่ข้างเคียงก็จะได้รับความเสียหาย หน้าแล้งน้ำประปาหมู่บ้านแห้ง และขอให้หน่วยงานราชการตรวจสอบเอกสารลงนามประชาคมหมู่บ้านที่ยินยอมให้มีการดำเนินการดูดทราย อาจเป็นเอกสารที่ไม่ถูกต้อง

ต่อมานายสมชาย วงศ์จริยะเกษม ปลัดอำเภอบ้านธิ พร้อมนายอุ่นเย็น สายก้อน กำนันตำบลบ้านธิ ได้เดินทางมาพบปะชาวบ้าน พร้อมเอกสารชี้แจง เป็นเอกสารที่ทางอุตสาหกรรมจังหวัดลำพูน อนุญาติประกอบกิจการโรงงานขุด หรือ ลอก กรวด ทราย หรือดิน เมื่อวันที่ 16 พย. 2563 และได้ปิดประกาศผลการพิจารณาออกใบอณุญาติที่ สำนักงานเทศบาลตำบลบ้านธิ และสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดลำพูน สามารถเข้าไปดูรายละเอียดการอนุญาตได้ พร้อมชี้แจงให้กับชาวบ้านที่เดินทางมาคัดค้านการดำเนินกิจการดูดทราย เพื่อความสบายใจของชาวบ้าน จึงขอให้ทางผู้ใหญ่บ้านหมู่ 8 ทำหนังสือคัดค้านไปยัง 3 หน่วยงาน ประกอบด้วยเทศบาลตำบลบ้านธิ ,อำเภอบ้านธิ และทางจังหวัดลำพูน เพื่อพิจารณาดำเนินการตรวจสอบข้อเรียกร้องและข้อสงสัยของชาวบ้านในการอุนญาตให้ผู้ประกอบการเข้ามาดำเนินการดูดทรายในพื้นที่ดังกล่าวได้ โดยเฉพาะเรื่องการลงชื่อประชาคมหมู่บ้าน เกรงว่าจะมีการทุจริตเรื่องเอกสาร ซึ่งชาวบ้านได้รับคำแนะนำก็เตรียมที่จะดำเนินการทำหนังสือยื่นให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป


อย่างไรก็ดีผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปยังบ่อดูดทรายดังกล่าวพบกับเจ้าของบ่อดูดทราย ก็ยืนยันว่าตนเองได้ทำหนังสือถูกต้องยื่นให้กับอุตสาหกรรมจังหวัดลำพูน จนได้รับอุนญาติให้เข้ามาดำเนินการดูดทรายในพื้นดังกล่าว ซึ่งเรื่องที่เกิดขึ้นก็มีกลุ่มชาวบ้านบางส่วนที่ไม่พอใจ ออกมาเคลื่อนไหวยื่นหนังสือคัดค้านมาโดยตลอด

เชียงใหม่ ร้านลาบต้นยางจัดทำบุญทอดผ้า พร้อมชมความงดงามของพระสิงห์หนึ่งที่ทำจากไม้ไผ่สาน

ร้านลาบต้นยาง ร้านอาหารพื้นเมืองชื่อดังของเชียงใหม่ นำคณะเดินทางทำบุญทอดผ้าป่า และถวายโลงเย็นให้กับวัดศรีเมืองหมอก ต.เปียงหลวง อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่ พร้อมร่วมชมความสวยงามของพระอินทร์สาน พระพุทธรูปสิงห์ 1 เชียงแสน ที่หลวงปู่ในรัฐฉาน เมืองเชียงตุงประเทศพม่า สานขึ้นจากไม้ไผ่มุง แล้วมอบให้กับทางวัดเป็นที่เคารพนับถือของที่ชาวไทยใหญ่

นางศรินทร สุ่นทอง เจ้าของร้านลาบต้นยาง สาขา 2  ร้านอาหารพื้นเมืองชาวเหนือชื่อดังของจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมกับ หจก.ฮุยแลนด์ฟามาซี (สตรีเบนโล) กล่ม ลตย.SEA SON ” S2 และผู้มีจิตศรัทธา ได้เดินทางไปที่วัดศรีเมืองหมอก ตำบลเปียงหลวง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งชาวบ้านในพื้นที่นี้ส่วนใหญ่จะเป็นชาวไทยใหญ่ที่อาศัยอยู่ใกล้กับแนวชายแดน วัดที่นี่ก็จะเป็นวัดในรูปทรงของชาวไทยใหญ่ โดยทางคณะได้เดินทางมาทอดผ้าป่าสามัคคี พร้อมได้นำโลงเย็นมาบริจาคมอบให้กับทางวัด ถึงว่าเป็นการร่วมกันทำบุญ ซึ่งทางพระสงฆ์ของวัด ก็ได้ทำพิธีสวดบังสุกุลก่อนรับมอบโลงเย็น จากนั้นคณะก็ได้ขึ้นไปบนวิหารวัดก็พบกับพระประธานของวัดที่มีความสวยงาม ทำจากไม้ไผ่สานประดิษฐานเด่นเป็นสง่าที่หาดูได้ยาก


สอบถามพระเจตสุวรรณ จนฺทวโส เจ้าอาวาสวัดศรีเมืองหมอก เจริญพรว่า พระประธานที่อยู่ภายในวิหารวัดแห่งนี้ เรียกกันว่า พระเจ้าอินทร์สาน หรือพระพุทธรูปไม้ไผ่ที่มีพระอินทร์มาช่วยสาน เป็นพระพุทธรูปสิงห์ 1 เชียงแสน ที่ทำมาจากไม้ไผ่มุง ซึ่งเป็นไม้ไผ่ที่มีความเหนียวและแข็ง หน้าตักกว้า 6 ฟุต สูง 9 ฟุต โดยผู้สานเป็นพระหลวงปู่ที่จำวัดอยู่ที่วัดในรัฐฉาน เมืองเชียงตุง ประเทศพม่า สร้างเมื่อวันที่ 11 ธค. 2562 และขนย้ายลำเลียงมาที่วัดแห่งนี้เมื่อวันที่ 5 กพ.2563 ส่วนที่อยากได้มาประดิษฐานไว้ที่วัดแห่งนี้ก็เพราะ หากดูยากเป็นที่เคารพของชาวไทยใหญ่ ซึ่งพระอินทร์สานมีประดิษฐานที่วัดในรัฐฉาน เมืองเชียงตุง ประเทศพม่าเท่านั้น และมีน้ำหนักเบาสามารถเคลื่อนย้ายได้ง่ายใช้คน 10 คน ก็เคลื่อนย้ายได้

เชียงใหม่ แฟนหงส์แดงลิเวอร์พูลจัดกิจจกรรมหารายได้ซื้อข้าวสารให้ นร.วัดดอนจั่น

แฟนบอลลิเวอร์พูลรวมตัวกัน เชียร์บอลพร้อมร่วมกิจกรรม หารายได้ซื้อข้าวสารให้กับนักเรียนด้อยโอกาส รร.วัดดอนจั่น

ที่ร้านสปิริตอ๊อฟแอนฟิว เชียงใหม่ ภายในโครงการ เคปาร์ค ถนนมหิดล ตำบลหนองหอย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นร้านจำนหน่ายอาหารและเครื่องดื่มสำหรับแฟนรักสโมสรหงส์แดงลิเวอร์พูล แชมป์ฟรีเมียร์ลีกของประเทศอังกฤษปี 2019-20 โดยทางร้านได้จัดกิจกรรมเชียร์ทีมหงส์แดงลิเวอร์พูล และร่วมทำการกุศล ทำบุญนำรายได้ไปซื้อข้างสารให้กับเด็กกับเด็กนักเรียนโรงเรียนวัดดอนจั่น อำเภอเมือง เชียงใหม่ ซึ่งก็มีแฟนหงส์แดงมาร่วมกิจกรรมในครั้งนี้จำนวนมาก

https://youtu.be/llrKZkHHymI

ด้านนายพชร เกียรติโภคะ หรืออั๋น แฟนพันธุ์แท้ทีมสโมสรลิเวอร์พูลในจังหวัดเชียงใหม่ เจ้าของร้านสปิริตอ๊อฟแอนฟิว เปิดเผยว่า การจัดกิจกรรมครั้งนี้ ก็เป็นการรวมตัวของบรรดาแฟนคลับคนรักทีมลิเวอร์พูลในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดใกล้เคียง ต้องการพบปะพูดคุยกัน และรายได้ส่วนหนึ่งในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ ก็จะนำไปซื้อข้าวสารเพื่อบริจาคให้กับเด็กนักเรียนวัดดอนจั่น ซึ่งหากทีมลิเวอร์พูลได้ทำการแข่งขันในช่วงคู่หัวค่ำ ทางร้านก็จะจัดกิจกรรมลักษณะนี้เรื่อยๆ เป็นการรวมสังคมของแฟนบอลลิเวอร์พูล มาอยู่รวมกันเพื่อสร้างความสามัคคีในหมู่แฟนบอลลิเวอร์พูลด้วยกัน

เชียงใหม่ แป๊ะ บางสนานเดินทางเยี่ยมคนเสื้อแดงฝาง

แป๊ะ บางสนานหรือพิธาน ทรงกัมพล ได้เดินทางเยี่ยมกลุ่มคนเสื้อแดงในหลายพื้นที่เพื่อเป็นการให้กำลังใจกันตามสภาพของคนที่เคยร่วมงานร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมานมนานและยังไม่ลืมกัน

แป๊ะ บางสนาน หรือพิธาน ทรงกัมพล ได้เดินทางเยี่ยมกลุ่มคนเสื้อแดงในหลายพื้นที่เพื่อเป็นการให้กำลังใจกันตามสภาพของคนที่เคยร่วมงานร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมานมนานและยังไม่ลืมกัน มาเยี่ยมเยือนกันตามประสาเพื่อนกัน ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเมืองหรือรัฐบาลประยุทธ์แต่อย่างได มีคนเสื้อแดงอำเภอฝาง อำเภอแม่อาย อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่มาทำการต้อนรับพอสมควร

ลุงดวงแก้ว หรือนายสว่าง วงค์วิลาศ แกนนำคนเสื้อแดง เป็นประธานทำการต้อนรับเพื่อนในวันนี้ มีการพบปะพูดคุยกันตามสมควร และที่สำคัญได้มาคุยกันในเรื่องของพรรคเพื่อไทย ขอคนเสื้อแดงที่ยังรักอุดมการณ์ ของคนเสื้อแดง รักประชาธิปไตย ช่วยกันสนับสนุนพรรคเพื่อไทยเหมือนแต่เก่าก่อน รักอย่างไรขอรักเหมือนเดิมคนเสื้อแดงหลายร้อยคนที่ทราบข่าวการมาเยือนของแป๊ะ ก็ได้เดินทางมาต้อนรับอย่างอบอุ่นแบบคนล้านนา และได้พูดฝากเพื่อนๆว่าอย่าลืมกันและคอยสนับสนุนพรรคเพื่อไทยต่อไป และจะร่วมสู้เพื่อความถูกต้องตามระบอบประชาธิปไตย


จากนั้นได้ร่วมในการนั่งเสวนากันเพียงไม่กี่นาที จับใจความว่าคนเสื้อแดงรักคนเสื้อแดงและจะรักกันตลอดไปจะร่วมทุกข์ร่วมสุขกันตลอดไป จากนั้นก็ได้เดินทางกลับบ้านปกติไม่ได้สร้างความวุ่นวายใดใดพบกันอย่างสงบและมีความสุข แต่ก็บอกว่าคิดถึงคนต่างประเทศยังรักเหมือนเดิม

 

เชียงใหม่ สสส.ทำ MOU กับ อปท.ร่วมมือช่วยเหลือกัน สร้างความสุขให้กับชุมชนท้องถิ่น

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).ทำ MOUกับ อปท.ร่วมมือช่วยเหลือกัน สร้างความสุขให้กับชุมชนท้องถิ่น


น.ส.ดวงพร เฮงบุณยพันธ์ ผู้ช่วยผู้จัดการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)และรักษาการผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สำนัก 3)พร้อมคณะตรวจเยี่ยมชุมชนที่มีการพัฒนาตัวเองโดยชุมชนในพื้นที่ จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะของชุมชนท้องถิ่นโดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมและการใช้ข้อมูลในการออกแบบและตัดสินใจเชิงนโยบายร่วมกันเพื่อลงนามความร่วมมือและกำหนดเป้าหมายในการทำงานร่วมกัน

โดยทาง สสสร่วมอปท.เชียงใหม่ 15 แห่ง จับมือมุ่ง 5+1 เรื่องสำคัญ อปท. 15 แห่งจาก 7 อำเภอของเชียงใหม่ ลงนามเอ็มโอยูเป็นเครือข่าย ร่วมกันขับเคลื่อนชุมชนท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม มุ่งทำงาน 5+1 เรื่องสำคัญ ยาสูบและแอลกอฮอล์, การจัดการขยะ, ผู้สูงอายุ, เด็กปฐมวัย และโรคติดต่อ เน้นให้ทุกอปท.ใช้ข้อมูลชุมชนให้เป็นประโยชน์ แนะองค์กรในเครือข่ายต้องร่วมมือช่วยเหลือกัน สร้างความสุขให้กับชุมชนท้องถิ่น

และในวันนี้( 14 ธค.) ที่โรงแรมแทนเจอรีนวิลล์ ตำบลสันทราย อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ได้มีพิธีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภายใต้โครงการสร้างระบบบูรณาการเพื่อขับเคลื่อนชุมชนท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม ซึ่งสนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิสสส. ผู้บริหารท้องถิ่น และผู้นำชุมชน เข้าร่วมกว่า 200 คน

นายสมนึก เดชโพธิ์ ปลัดเทศบาลตำบลแม่ข่า ปฏิบัติหน้าที่นายกเทศมนตรีตำบลแม่ข่า ในฐานะอปท.แม่ข่าย กล่าวว่า การทำพิธีบันทึกความเข้าใจ หรือ เอ็มโอยู ในครั้งนี้ คือการทำข้อตกลงร่วมกันตามแผนการดำเนินงานของโครงการสร้างระบบบูรณาการเพื่อขับเคลื่อนชุมชนท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม ซึ่งมีอปท.เครือข่ายเข้าร่วมพิธีในครั้งนี้ 15 แห่ง จาก 7 อำเภอของจังหวัดเชียงใหม่ โดยเรื่องแรกที่อปท.แต่ละแห่งต้องทำ คือระบบฐานข้อมูลตำบล (TCNAP) และกระบวนการวิจัยชุมชน (RECAP) ส่วนประเด็นที่เครือข่ายต้องดำเนินการ คือ 5 +1 เรื่องสำคัญในท้องถิ่น คือ การดูแลผู้สูงอายุ การดูแลเด็กปฐมวัย การจัดการขยะ ยาสูบและแอลกอฮอล์ อุบัติเหตุ และโรคติดต่อ

“ เหตุผลที่ต้องนำทั้ง 5 ประเด็นนี้มาเป็นแนวทางในการพัฒนา ก็เพื่อที่จะให้ชุมชนของเรามีความสุขโดยของเทศบาลตำบลแม่ข่า ก็ใช้แนวคิดที่ว่าร่วมคิด ร่วมสร้าง ร่วมสุข ร่วมกัน” ปลัดเทศบาลตำบลแม่ข่า กล่าวเพิ่มเติม


นายสมนึก กล่าวต่อไปว่า หลังจากลงนามเอ็มโออยู่เสร็จเรียบร้อยแล้ว อปท.เครือข่าย 15 แห่ง จะต้องจัดเก็บข้อมูลชุมชนและทำการวิจัยชุมชนให้เสร็จสิ้นภายในเดือนมกราคม หลังจากนั้นจะเป็นการทำประเด็นเร่งด่วนที่ได้ทำการตกลงกันไว้ก่อนหน้านี้ คือเรื่องการจัดการขยะในชุมชน เพราะปัญหานี้ทุกท้องถิ่นต่างประสบปัญหาเหมือนกัน

“ข้อมูลมีความสำคัญสำหรับท้องถิ่นมาก ถ้าหากเราทำงานไม่มีข้อมูล เราก็จะได้งานไม่ตรงกับสิ่งที่เราต้องการ เพราะข้อมูลต่างๆ ที่เราได้มา สามารถนำมาวิเคราะห์ เพื่อหาโอกาสที่เราจะพัฒนาต่อ หรือหากพบปัญหาเราก็จะหาทางแก้ไข ซึ่งกระบวนการนี้ เทศบาลตำบลแม่ข่า เราก็ทำมาตลอด” ปลัดเทศบาลตำบลแม่ข่า กล่าว

ทางด้าน น.ส.ดวงพร เฮงบุณยพันธ์ ผู้ช่วยผู้จัดการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)และรักษาการผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สำนัก 3) กล่าวถึงเทศบาลตำบลแม่ข่าว่า เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพสูง ผู้นำชุมชนท้องถิ่นมีความสามารถ จึงต้องการให้พื้นที่อื่นมาเรียนรู้ เพราะถ้ามีผู้นำดี จะสามารถทำได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องยากหรือมีอุปสรรคเพียงใด ซึ่งการทำเอ็มโอยูในครั้งนี้ ท้องถิ่นทั้ง 15 แห่งจะตกลงกันทำ 5 เรื่องให้สำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแอลกอฮอล์ที่เกี่ยวเนื่องไปถึงการเกิดอุบัติเหตุ อย่างเขตตำบลแม่ข่า มีถนนใหญ่พาดผ่าน ก็ต้องทำให้สำเร็จ และรวมถึงประเด็นเพิ่มเติมสำคัญคือเรื่องโรคติดต่อ

น.ส.ดวงพร กล่าวด้วยว่า การสานพลังผู้นำให้เกิดเครือข่ายเชิงพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่ที่อยู่ใกล้กันนั้นสำคัญอย่างมาก เช่น ช่วงเวลาที่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 สมาชิกในเครือข่ายควรรวมตัวกันสร้างสรรค์นวัตกรรมการจัดการ เกิดความร่วมมือ ช่วยเหลือกัน ตำบลไหนมีประสบการณ์เรื่องอะไรก็จะเข้าไปดู ถือเป็นฐานพลังองค์กรช่วยชาวบ้านได้เป็นอย่างดี

“แต่ทั้งนี้ท้องถิ่นต้องทำวิจัยชุมชน ค้นหาว่าใครคือคนดี คนเด่น คนสำคัญ หรือมีกลุ่มทางสังคมในหมู่บ้านในตำบลกี่กลุ่ม กลุ่มไหนมีศักยภาพสูงที่จะถ่ายทอด กลุ่มไหนที่ทำของตนเองได้ดี ก็ยกระดับให้มาถ่ายทอด ส่วนกลุ่มไหนที่ยังทำไม่ได้ดี ทางพื้นที่ก็ต้องช่วยกันพัฒนา คนที่เข้มแข็งกว่าจะช่วยคนที่อ่อนแอกว่า” ผู้ช่วยผู้จัดการสสส.กล่าว และเชื่อมั่นว่า อปท.ทั้ง 15 แห่งที่มาร่วมลงนามเอ็มโอยูในครั้งนี้ จะร่วมมือกันทำให้เกิดสิ่งเหล่านี้ และสร้างความสุขให้กับชุมชนท้องถิ่นต่อไป

เชียงใหม่ ไอ้ไข่วัดสันมะเกี๋ยงเชียงใหม่ ใส่แมสก์ เตือนการ์ดไม่ตก

ไอ้ไข่วัดสันมะเกี๋ยงเชียงใหม่ “ใส่แมสก์” เตือนการ์ดไม่ตก ตั้งจุดคัดกรองหน้าวัด ต้องสวมใส่แมสก์กันทุกคน

ผู้สื่อข่าวรายงานที่วัดสันมะเกี๋ยง หมู่ 6 ต.สำราญราษฏร์ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ ชาวบ้านเดินทางมากราบไหว้และขอพรไอ้ไข่จากวัดสระสี่มุมพ่อท่านเทิ่ม อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช ที่วัดสันมะเกี๋ยงอัญเชิญมาไว้ที่วัด วันนี้ทั้งวันประชาชนมากราบไหว้จำนวนมากเช่นเดิม ส่วนใหญ่บูชาธูปเพื่อนำไปจุดแล้วปรากฏเลขเด็ด ที่นิยมมาขอพรกันจำนวนมาก


วันนี้(10 ธค.) ทางวัดสันมะเกี๋ยง มีมาตราการป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 อย่างเคร่งครัด โดยปฏิบัติตามมาตราการของกรมควบคุมโรคของรัฐบาล โดยท่านพระครูปลัดทวีวัฒน์ อินฺทวณฺโณ ที่ปรึกษาเจ้าอาวาสวัดสันมะเกี๋ยง ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยสะเก็ดพระอารามหลวง ได้ให้ลูกศิษย์วัดนำหน้ากากผ้าลายทหาร ตามที่ไอ้ไข่ชอบ ให้นำมาปิดปากไอ้ไข่องค์หลักที่อยู่ตรงกลางลานไอ้ไข่หน้าวัดสันมะเกี๋ยง เพื่อให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวที่เดินทางมากราบไหว้ขอพรไอ้ไข่จะได้มองเห็นชัดเจน เพื่อการ์ดไม่ตก เนื่องจากช่วงนี้เกิดการระบาดของโรคโควิด-19 อีกครั้ง ไม่ต้องการให้ตื่นตกใจกลัว แต่ให้ทุกคนระมัดระวังสุขภาพของตัวเอง โดยให้สวมใส่หน้ากาก ไม่ว่าจะเป็นหน้ากากผ้า หรือหน้ากากอนามัย หรือแมสก์ พร้อมกันนั้นทางวัดเองให้กรรมการวัดตั้งจุดคัดกรองไว้หน้าวัด และนำเชือกมาปิดกั้นรอบๆบริเวณลานไอ้ไข่ไว้ ให้เข้า-ออกในช่องทางที่ผ่านการคัดกรองก่อน เพื่อปฏิบัติตามมาตราการของกรมควบคุมโรคที่กำหนดไว้


สำหรับในงานบุญที่วัดจะจัดอีกครั้ง วันเสาร์ที่ 26 ธ.ค.2563 เวลา 13.00 น.เป็นต้นไป เป็นการบวงสรวงไอ้ไข่ประจำเดือน และพิธีบวงสรวงไม้แกะสลักจากไม้ขนุนสองนาง ที่ผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านนำมาถวายให้กับทางวัด และทางวัดให้ช่างแกะสลักเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จะเข้าร่วมในพิธีบวงสรวงดังกล่าววันที่ 26 ธ.ค.นี้ด้วย และในวันทงคลยังจะมีวัตถุมงคลของทางวัดแจกให้ประชาชนอีกด้วย

ผู้สื่อข่าวรายงานในวันนี้ ที่วัดสันมะเกี๋ยง มีผู้ที่โชคดีจากขอพรไอ้ไข่ มีหลายรายมาแก้บน รายแรกแก้บนด้วยน้ำแดงน้ำอัดลม จำนวน 10 โหล และจุดประทัดแก้บน เนื่องจากไอ้ไข่ของทางวัดได้เข้าฝัน และให้พรว่าจะช่วยทำให้ค้าขายทางออนไลน์ประสบความสำเร็จ ซึ่งก็เป็นไปตามฝันรายได้ทะลุเป้า ได้เงินในรอบเดินหลายแสนบาท ส่วนอีกรายเป็นแม่ค้าขายหมูอยู่ อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ ก็นำน้ำแดงและจุดประทัดแก้บนด้วยเช่นกัน เพราะค้าขายดีทุกวันในรอบ 1-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา หลังจากมาขอพรไอ้ไข่แล้วกลับบ้านไปค้าขาย ถือว่าประสบความสำเร็จ วันนี้วันหยุดเลยเดินทางมาแก้บนดังกล่าว และอีกราย ถูกรางวัลลอตเตอรี่ได้รางวัลที่ 3 ก็มาแก้บน ถวายน้ำแดงและจุดประทัดถวายเช่นกัน


วัดสันมะเกี๋ยง เป็นวัดตัวอย่างที่น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทางวัดได้ปลูกพืชผักสวนครัวไว้ในวัดเพื่อเป็นอาหารให้พระลูกวัด ที่สำคัญเป็นวัดพัฒนาทุก ๆ ด้าน หากศรัทธาประชาชนจะร่วมทำบุญ สามารถโอนเงินเข้าบัญชีได้ ที่บัญชีธนาคารกรุงไทย บัญชีเลขที่ 553-0-35610-9 สาขาบ่อสร้าง ชื่อบัญชี พัฒนาวัดสันมะเกี๋ยง หรือติดต่อสอบถามได้ที่เบอร์ 089-5584332 ได้ทุกวัน

อย่างไรก็ดีประชาชนที่เดินทางมากราบไอ่ไข่วัดสันมะเกี๋ยง ที่ได้นำดอกไม้มาบูชา พร้อมนำชุดทหารและของเล่นมาถวายไอ่ไข่เป็นจำนวนมาก  หลังจากที่มาขอพรแล้วได้สมดังใจ ทางวัดก็ได้เก็บสิ่งของเหล่านั้นเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นชุดทหาร ของเล่นเด็ก เมื่อมีจำนวนมาก ประกอบกับมีผู้มีจิตศรัทธามาขอรับบริจาคเพื่อที่จะนำไปแจกจ่ายให้กับเด็กๆ ด้อยโอกาสบนดอยสูง ซึ่งขณะนี้มีอากาศที่หนาวเย็นและใกล้จะถึงวันเด็กแห่งชาติ ทางวัดจะได้จัดสรรสิ่งของบางส่วนไปมอบให้กับเด็กนักเรียนในพื้นที่ทุรกันดาร ถือว่าเป็นการกระจายบุญสำหรับผู้ที่มีจิตศรัทธาที่มาร่วมทำบุญวัดสันมะเกี๋บงแห่งนี้

 

เชียงใหม่ รื้อฟื้นการผลิตกระจกเกรียบและจืน แบบโบราณเพื่องานบูรณะและอนุรักษ์

สำนักงานวิจัยแห่งชาติ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รื้อฟื้นการผลิตกระจกเกรียบและจืน แบบโบราณ เพื่องานบูรณะและอนุรักษ์ วัดวาอารามพร้อมมอบสัตภัณฑ์ให้กับวัดช่างฆ้อง เชียงใหม่

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ร่วมกับ รองศาตราจารย์ ดร. สัมพันธ์ สิงหวราจารย์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รองศาสตราจารย์ ดร.กมลพรรณ เพ็งพัด นักวิจัย ภาควิชาฟิสิกส์และวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ .และนาย รชต ชาญเชี่ยว ครูช่างศิลปหัตถกรรม กระจกเกรียบ ได้สนับสนุนการวิจัยการพัฒนาแก้วคริสตัลปราศจากตะกั่วและการประดิษฐ์แก้วคริสตัลบางเพื่อพัฒนางานที่เน้น การประดิษฐ์แก้วคริสตัลบาง เพื่อประยุกต์เป็นกระจกโบราณ ร่วมกับโรงงานการผลิตกระจกโบราณของ นายรชต ชาญเชี่ยว เพื่อพัฒนาสูตรกระจกโบราณใหม่ ๆ เป็นกระจกจืน และกระจกเกรียบ จนสามารถนำกระจกจืน และกระจกเกรียบไปบูรณะโบราณสถาน และโบราณวัตถุได้หลายแห่ง

อีกทั้งยังสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบประดับกระจกจืน และกระจกเกรียบ ที่สามารถนำไปใช้งานในการบูรณะโบราณสถานและโบราณวัตถุ และสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ที่ใช้กระจกจืน และกระจกเกรียบ ตกแต่ง เพื่อขยายผลเชิงพาณิชย์ในอนาคต ให้เพียงพอกับความต้องการ

ทั้งนี้ยัง ได้ถวายสัตภัณฑ์ ที่ประดับกระจกจืน ซึ่งเป็นกระจกที่ได้จากงานวิจัย ให้กับวัดช่างฆ้อง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้รับความร่วมมือจาก ศิลปิน “ฝุ่น หอสูง” นายชาญยุทธ โตบัณฑิต ออกแบบและสร้างสัตภัณฑ์ เป็นความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม ของการนำผลงานวิจัยจากห้องปฏิบัติการ ที่สามารถต่อยอด ทั้งเชิงพาณิชย์และสามารถ นำไปทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของประเทศไทย เพื่อรักษามรดกอันทรงคุณค่า ให้คงอยู่เคียงคู่คนไทยสืบไป