(คลิป)เชียงใหม่ สาวลำพูนโชคดีซื้อสลากกาชาด 4 ใบ รับรางวัลที่ 1 สลากกาชาดการกุศลประจำปี 2563 จังหวัดเชียงใหม่

สาวลำพูนโชคดีซื้อสลากกาชาด 4 ใบ รับรางวัลที่ 1 สลากกาชาดการกุศลประจำปี 2563 จังหวัดเชียงใหม่

ที่ด้านหน้าหอประชุมเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา อ.เมือง จ.เชียงใหม่ นางสุดาภรณ์ สงวนสัตย์ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดเชียงใหม่ นายวิรุฬ พรรณเทวี รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วยนางกนกพร พรรณเทวี รองนายกเหล่ากาชาดจังหวัดเชียงใหม่ นายวีระพันธ์ ดีอ่อน ปลัดจังหวัดฯ/เลขานุการเหล่ากาชาดจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการและสมาชิกเหล่ากาชาดจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมมอบรางวัลสลากกาชาดการกุศลประจำปี 2563 ให้แก่ผู้ที่ได้รับรางวัล ประจำปีนี้

ตามที่เหล่ากาชาดจังหวัดเชียงใหม่ได้จัดทำโครงการจัดหารายได้ประจำปี 2563 ด้วยการจำหน่ายสลากกาชาดการกุศลจำนวน 100,000 ฉบับ ฉบับละ 50 บาท รวมเป็นรายรับจำนวนทั้งสิ้น 5 ล้านบาทซึ่งรายได้ทั้งหมดจากการจำหน่ายสลาก และบันทึกค่าใช้จ่ายแล้วนำไปใช้ในภารกิจของเหล่ากาชาดจังหวัดเชียงใหม่ รายการบรรเทาทุกข์ ความสุขให้แก่ประชาชนผู้ทุกข์ยากเดือดร้อนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นซึ่งได้จัดพิธีออกรางวัลสลากกาชาดการกุศลประจำปี 2563 ในวันที่ 10 มกราคม 2563 ที่ผ่านมา ณเวทีร้านมัจฉากาชาดงานฤดูหนาวและงาน OTOP ของดีเมืองเชียงใหม่ประจำปี 2563

สำหรับในปีนี้ ผู้ที่ได้รับรางวัลที่ 1 รถยนต์กระบะตอนครึ่ง Nissan รุ่น Navara K/C E6 MT MY 1 ได้แก่นางสาวธันยพร ชัยหย่อง บ้านเลขที่ 48 หมู่ที่ 13 ต.ท่าตุ้ม อ.ป่าซาง จ.ลำพูน, รางวัลที่ 2 รถยนต์เก๋งSUZUKI Ciazga ได้แก่นายภานุพงศ์ ตรีกบาง อยู่บ้านเลขที่ 66 หมู่ 14 ต.อินทขิล อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ และ รางวัลที่ 3 รถจักรยานยนต์ Honda Wave มีผู้โชคดี 3 ท่าน ได้แก่นางวิพารัตน์ แผ่นชัยภูมิ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่, นางบุญพร้อม ย่อมคำซาว ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ และนางสาวปทิตตา ไชยปาน ต.คลองหลา อ.คลองหลา อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา

(คลิป)ลำพูน อบจ.ลำพูนเตรียมจัดงานเสน่ห์ทุนทางวัฒนธรรมชุมชนลำพูน

องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน พร้อมองค์กรส่วนท้องถิ่น เตรียมจัดงาน เสน่ห์ทุนทางวัฒนธรรมชุมชนลำพูน ในระหว่างวันที่ 6 – 8 มีนาคม 2563 ตั้งแต่เวลา 9:00 น. ถึง 18:00 น. ณ สถาบันผ้าทอหริภุญชัย ในงานมีการประกวดถุงย่ามโดยมีการประกวดถุงย่าม 2 ประเภท ได้แก่ ถุงย่ามดั้งเดิมที่แสดงวัฒนธรรมชาติพันธุ์ ถุงย่ามสร้างสรรค์ และมีการแสดงทางวัฒนธรรมชุมชนจังหวัดและพูดนิทรรศการสุดยอดภาพภูมิปัญญาไทยหมุนเวียน นิทรรศการผ้าไหมยกดอก ร้านค้าสินค้าทางวัฒนธรรมชุมชน กิจกรรมวิถีชีวิตที่เป็นคนลำพูนให้ใต้บรรยากาศลำพูนเมืองบุญผ้างามและกิจกรรมอื่นๆภายในงานอีกมากมาย

ที่สถาบันผ้าทอมือหริภุญชัย องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน ดร.นิรันดร์ ด่านไพบูลย์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน เป็นประธานแถลงข่าว เตรียมจัดงาน “เสน่ห์ทุนทางวัฒนธรรมชุมชนลำพูน” โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูนได้เห็นว่าเศรษฐกิจจังหวัดลำพูนอยู่กับนิคมอุตสาหกรรมเกษตรกรได้แก่ลำไย มะม่วง ข้าวโพด เศรษฐกิจอุตสาหกรรม มีโอกาสเกิดวิกฤตได้ ทุนวัฒนธรรมชุมชนต้องเข้ามาทดแทน ชึ่งวัฒนธรรมชุมชนลำพูนมีมากมาย แต่ก็อ่อนล้า ทำเพียงแค่อนุรักษ์สืบทอดการตามประเพณีเท่านั้น เราต้องเปลี่ยนคุณค่าให้เป็นมูลค่า เปลี่ยนวัฒนธรรมชุมชนให้เป็นทุนสินค้าทางวัฒนธรรม เป็นผลิตภัณฑ์ เป็นการท่องเที่ยวเป็นการบริการ เพื่อทดแทนจากภาคอุตสาหกรรม

จังหวัดลำพูนเป็นจังหวัดเล็กที่สุดในภาคเหนือปัจจุบันสภาพเศรษฐกิจและสังคมเปลี่ยนแปลงไปตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศจากยุคเกษตรกรรมพึ่งตนเองมาสู่ยุคอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการส่งออกคนหนุ่มสาววัยแรงงาน การละทิ้งรากเหง้า ทอดทิ้งวิถีชีวิตเกษตรกรรม และวัฒนธรรมทางชุมชนดั้งเดิมเข้าสู่วัฒนธรรมเมืองมีวิถีชีวิตอยู่ในภาคอุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่ สถานการณ์เช่นนี้สุ่มเสี่ยงต่อการดำเนินชีวิตในอนาคตเป็นอย่างมากถ้าเกิดวิกฤติเศรษฐกิจผู้ประกอบการปิดกิจการเหมือนปี 2540 หรือมีการใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์มาทดแทนแรงงานคนหนุ่มสาวกลุ่มนี้จะไม่มีรายได้ จะกลับไปใช้ชีวิตในชุมชนทำเกษตรกรรมแบบเดิมก็คงอยู่ไม่ได้ ทำนา ทำสวน ก็ทำไม่เป็นแล้ว ซึ่งจะก่อให้เกิดทั้งปัญหาเศรษฐกิจและปัญหาสังคมด้านอื่นตามมาอีกมากมาย -องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูนจึงมีนโยบายขับเคลื่อนทุนวัฒนธรรมชุมชนเปลี่ยนคุณค่าให้เป็นมูลค่าเพื่อเตรียมคนเตรียมชุมชนเตรียมมือรับมือกับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจที่อาเกิดขึ้นในอนาคตโดยมุ่งเน้นการสร้างความคิดสร้างความเข้าใจให้ประโยชน์ของทุนทางวัฒนธรรมชุมชนที่สามารถเพิ่มมูลค่าสร้างความมั่นคงให้กับคนในชุมชนและสืบทอดต่อจากรุ่นศูนย์รุ่นได้อย่างยั่งยืนอีกทั้งยังเป็นการสร้างโอกาสให้คนหนุ่มสาวกลับสู่ครอบครัวร่วมกันสร้างเศรษฐกิจชุมชนด้วยทุนวัฒนธรรมวัฒนธรรมภูมิปัญญาที่ยังดำรงอยู่ในชุมชนทุกถิ่นที่ให้มีความหลากหลายมากมาย

แม้จังหวัดลำพูนยังเป็นเมืองที่มีความเป็นเอกลักษณ์ของตนเองมีวัฒนธรรมชุมชนที่ยังไม่มีการปรุงแต่งมากนัก ยังคงสืบสานวัฒนธรรมประเพณีวิถีชีวิตที่งดงามจับใจแม้ยังรู้จักจะพัฒนาทุนทางวัฒนธรรมชุมชนให้มีความร่วมสมัยยังคงเอกลักษณ์ของลำพูนไว้เป็นอย่างที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูนได้มีโอกาสลุงพื้นที่พบปะประชาชน 15 แห่ง เมื่อปลายปี 2556 เห็นถึงความตั้งใจของเทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล และชุมชน ต่างร่วมคิดร่วมทำร่วมรักษาร่วมฟื้นฟูสืบสานกันอย่างจริงจังทุกฝ่ายก็ตางศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผักดันให้ถามเป็นทุนให้ได้ความเข้มแข็งของชุมชนระเบิดจากข้างในถึงแม้ว่าจะพบกับอุปสรรคแต่ทุกเทศบาลทุกชุมชนก็ไม่ทอดทิ้งสิ่งที่มีคุณค่ามาตั้งแต่อดีตภูมิปัญญาด้านผ้าตั้งแต่อดีตผ้าป่าสร้างที่มีชื่อเสียงมาก หลายผู้คนต่างมักพูดว่าใครมาลำพูนถ้าไม่ได้ไปป่าซางก็ประมาณว่ามาไม่ถึงลำพูนมีร้านจำหน่ายผ้าเรียงรายติดติดกันบนถนนเส้นลำพูน-ลี้ ซึ่งผ่านป่าซางมีสาวงามเป็นพนักงานขายผ้าและโรงงานผลิตอยู่หลังร้านอยู่ในหมู่บ้าน เช่น บ้านหนองเงือก บ้านดอน เป็นต้น ผลิตภัณฑ์มีทั้งเสื้อผ้า ผ้าสิ้น ผ้าปัก ผ้านวม ผ้าตวบ หรือจะเป็นผ้าคุมไหล่และผลิตภัณฑ์ผ้าที่ใช้ในบ้านเป็นยุคป่าซางรุ่งเรืองถึงแม้ว่าปัจจุบันจะซบเซาไป แต่ก็มีตนรุ่นใหม่รับสืบทอดมาถึงปัจจุบัน

สำหรับการจัดงาน “เสน่ห์ทุนทางวัฒนธรรมชุมชนลำพูน” เป็นการจัดงานครั้งแรกจากที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูนได้บูมเพราะมาเป็นเวลาเจ็ดปีซึ่งได้ร่วมกับองค์การบริหารปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดลำพูน 57 แห่งและผู้ขับเพื่อนได้แก่ชุมชนในพื้นที่ถือได้ว่าเรามีวันนี้เพราะมีการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย งาน “เสน่ห์ทุนทางวัฒนธรรมชุมชนลำพูน” จะมีกำหนดการจัดขึ้นระหว่างวันที่ 6 – 8 มีนาคม 2563 ตั้งแต่เวลา 9:00 น. ถึง 18:00 น. ณ สถาบันผ้าทอหริภุญชัย ทั้งสามวันโดยวันแรกคือวันที่ 6 มีนาคมได้รับเกียรติจากท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังท่านสันติ พร้อมพัฒน์ เป็นประธานเปิดงานในเวลา 10:00 น. ทั้งนี้ยังมีการประกวดถุงย่ามโดยมีการประกวดถุงย่าม 2 ประเภท ได้แก่ ถุงย่ามดั้งเดิมที่แสดงวัฒนธรรมชาติพันธุ์ ถุงย่ามสร้างสรรค์ ภายในงานยังมีให้การแสดงทางวัฒนธรรมชุมชนจังหวัดและพูดนิทรรศการสุดยอดภาพภูมิปัญญาไทยหมุนเวียน นิทรรศการผ้าไหมยกดอก ร้านค้าสินค้าทางวัฒนธรรมชุมชน กิจกรรมวิถีชีวิตที่เป็นคนลำพูนให้ใต้บรรยากาศลำพูนเมืองบุญผ้างามและกิจกรรมอื่นๆภายในงานอีกมากมาย กิจกรรม Eco Print การพิมพ์ผ้าด้วยสีธรรมชาติจากประเทศอินโดนิเซียตลอดทั้งวัน กิจกรรมการละเล่นการแสดงศิลปะพื้นบ้าน ซอพื้นเมือง สลับแสดงตลอดวัน ร้านค้าสินค้าทุนทางวัฒนธรรมกาดคั่วมั่วเลง กิจกรรมเวิร์คช็อปภายในร้านมีนิทรรศการ 57 ร้าน(อปท.จังหวัดลำพูน) จังหวัดลำพูน เป็นต้น

(คลิป)เชียงใหม่ พบร้านอาหารจัดมุมสำหรับแต่งสวยแต่งหล่อให้ลูกค้าใช้ฟรี

พามาดูร้านขายลาบอาหารพื้นเมืองของชาวเหนือที่ไม่เหมือนใคร บรรยากาศนั่งในร้านสบายๆ แต่ที่เสริมเข้ามาคือมุมแต่งสวยแต่งหล่อหน้าห้องน้ำ มีทุกอย่างให้ลูกค้าได้ใช้ฟรี ไม่ว่าจะเป็นเครื่องเป่าผม เครื่องหนีบผม น้ำยาบ้วนปาก ที่รัดผม พร้อมกระจกบานใหญ่ได้ตรวจชุดแต่งกาย และที่สำคัญมีผ้าอนามัยไว้บริการหญิงสาวหากมีเหตุฉุกเฉินขึ้น

พากันมาเที่ยวร้านลาบภิรมย์ ซึ่งเป็นร้านอาหารพื้นเมือง และอาหารทั่วไป ภายในร้านจัดร้านแบบนั่งเล่นชิมอาหารสบายๆ มีดนตรีขับกล่อม ตั้งอยู่ริมถนนสายเชียงใหม่-แม่ออน ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง เชียงใหม่ อยู่ห่างจากสี่แยกบัวเงินพัฒนาไปทางอำเภอแม่ออนเพียง 200 เมตร ซึ่งในร้านก็ดูเหมือนกับร้านอาหารทั่วๆ ไป แต่พิเศษอยู่ที่ด้านหน้าห้องน้ำของร้าน เจ้าของร้านได้จัดมุมแต่งกายแต่งหน้าได้ตามสบาย มีอุปกรณ์สำหรับแต่งสวยไม่ว่าจะเป็น ครีมหนีบผม เครื่องเป่าผม สำลี ไม้ปั่นหู ที่รัดผม ครีมทาผิว น้ำยาบ้วนปาก กระจกบานใหญ่ให้สาวๆ ได้ตรวจสอบชุดแต่งกาย และของสำคัญของผู้หญิงที่อาจลืมพกติดตัวมาก็คือผ้าอนามัย ก็มีให้ได้ใช้บริการเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น โดยของทั้งหมดนี้ให้บริการฟรีสำหรับผู้ที่มาใช้บริการของร้าน

เจ้าของร้านชื่อคุณจุ๋ม บอกว่า สาเหตุที่จัดเตรียมของทุกอย่างเอาไว้ก็เพราะตนเองเป็นคนรักความสะอาด เคยไปใช้บริการร้านอาหารที่อื่นก็ไม่มี บางครั้งก็ต้องพกไปเอง เมื่อมาทำร้านอาหารเองก็อยากให้ลูกค้าได้สบายใจเมื่อเข้าห้องน้ำ สามารถมาแต่งหน้าทาแป้งที่ร้านได้เลย ซึ่งพนักงานบางคนก็ไม่ต้องแต่งสวยมาจากบ้าน มาทำงานที่ร้านก็สามารถแต่งสวยได้

(คลิป) สวนสัตว์เชียงใหม่ ระดมกำลังพนักงานและลูกจ้าง ทำแนวกันไฟ เพื่อป้องการเกิดไฟป่าและฝุ่นควัน

สวนสัตว์เชียงใหม่ ระดมกำลังพนักงานและลูกจ้าง ทำแนวกันไฟ เพื่อป้องการเกิดไฟป่าและฝุ่นควันในพื้นที่สวนสัตว์เชียงใหม่ พร้อมเตรียมพัฒนาพื้นที่เตรียมพร้อมรับเทศกาลปีใหม่เมือง

นายวุฒิชัย ม่วงมัน ผู้อำนวยการสวนสัตว์เชียงใหม่ เผยว่า สวนสัตว์เชียงใหม่ เป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่อยู่ในเขตพื้นที่อุทยานสุเทพ-ปุย ดังนั้นการป้องกันการเกิดไฟป่าโดยการจัดทำแนวกันไฟจึงมีความสำคัญต่อการอนุรักษ์พื้นที่อุทยานแห่งชาติที่มีแนวเขตติดต่อกับสวนสัตว์เชียงใหม่ ซึ่งหากสามารถจัดทำแนวกันไฟแล้วเสร็จจะสามารถป้องกันไฟป่าที่จะรุกลามเข้ามาในพื้นที่สวนสัตว์ทำให้เกิดหมอกควัน มีผลทำให้เกิดมลพิษต่อประชาชนและสัตว์ป่าสวนสัตว์เชียงใหม่ต่อไป

ดังนั้นทางสวนสัตว์เชียงใหม่ จึงได้ร่วมกันทำแนวกันไฟ เพื่อป้องกันไฟป่าลุกลาม หรือช่วยชะลอการลุกลามได้อีกระดับหนึ่ง ในขณะเดียวกัน สวนสัตว์เชียงใหม่ได้ให้ความสำคัญกับสวัสดิภาพของสัตว์ป่าทุกตัวในความดูแล โดยได้เริ่มดำเนินการฉีดพ่นน้ำสร้างความชุ่มชื้นให้กับสัตว์และบริเวณโดยรอบ เพื่อลดปัญหาหมอกควันและค่าฝุ่นละอองภายในพื้นที่ของสวนสัตว์ พร้อมทั้งเน้นย้ำให้เจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดในช่วงการเข้าสู่ฤดูแล้งที่จะถึงนี้อีกด้วย

(คลิป) พาเที่ยวบ่อน้ำพุร้อนบ้านเหมืองแร่ เส้นทางเชื่อมสองจังหวัดเชียงใหม่และแม่ฮ่องสอน

อากาศเริ่มกลับมาหนาวเย็นกันอีกครั้ง พากันไปที่น้ำพุร้อนบ้านเหมืองแร่ ตั้งอยู่ริมถนนสายอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน กับ อำเภอกัลยานิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ บนทางหลวงหมายเลข 1265 บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 26 ในช่วงเช้าอากาศที่หนาวเย็นสัมผัสกับไอของน้ำพุร้อนที่โพยพุ่งขึ้นมาจากใต้ดิน อุณหภูมิประมาณ 94 องศาเซลเซียส ทำให้เกิดควันสีขาวลอยขึ้นมาได้อย่างชัดเจนสวยงาม นักท่องเที่ยวสามารถแวะเที่ยวภาพถ่ายความประทับใจสัมผัสไออุ่นจากน้ำพุร้อน นอกจากนั้นยังสามารถต้มไข้ต้ม ใช้เวลา 5 นาที และต้มไข่ลวกเพียง 3 นาทีเท่านั้น ซึ่งชาวบ้านได้ตั้งร้านขายไข่ต้ม และจัดที่นั่งให้รับประทานโดยมีเรื่องปรุงรสเตรียมไว้ให้พร้อมสรรพ

สำหรับน้ำพุร้อนบ้านเหมืองแร่ ถูกพบโดยบังเอิญ เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2556 โดยชาวบ้านซึ่งขณะทำไร่อยู่ ได้ยินเสียงระเบิดสองสามครั้ง จึงวิ่งตามหาต้นเสียง และพบน้ำพุร้อนพุ่งขึ้นมาจากพื้นดิน ความสูงประมาณ 1.50 เมตร อุณหภูมิความร้อนสูงถึง 94 องศาเซลเซียส มีกลิ่นกำมะถันค่อนข้างน้อยกว่าน้ำพุร้อน แหล่งอื่นๆ หรือบางครั้งอาจไม่ได้กลิ่นกำมะถันเลย น้ำพุร้อนบ้านเหมืองแร่ เป็นสถานที่พักรถ และเป็นจุดชมวิว ภูเขา ป่าไม้เขียวขจี ซึ่งยังคงความเป็นธรรมชาติไว้เป็นอย่างดี

พบลุงวัย 66 ปี ชาวอำเภอสันทราย แข็งแรง สามารถปีนต้นเก็บผลมะก๊อ สูงกว่า 30 เมตร

พบลุงวัย 66 ปี ชาวอำเภอสันทราย แข็งแรง สามารถปีนต้นเก็บผลมะก๊อ ซึ่งเป็นต้นไม้มีลักษณะเหมือนต้นตาลสูงกว่า 30 เมตร นำผลมาจำหน่ายหารายได้ให้ครอบครัว โดยมะก๊อเป็นผลไม้ที่หายทานยาก ผู้เฒ่าผู้แก่ตามชนบทชอบทานกับข้าวเหนียวร้อนๆ

นายอ้าย หน่อคำ อายุ 66 ปี ชาวบ้านป่ากล้วย ตำบลสันนาเม็ง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ยังคงยึดอาชีพขึ้นต้นมะก๊อ ซึ่งลำต้นมีลักษณะคล้ายกับต้นมะพร้าว หรือ ต้นตาล มีความสูงกว่า 30 เมตรจากพื้นดิน เพื่อเก็บลูกมะก๊อ นำลงมาขายสร้างรายได้ให้ครอบครัว โดยในแต่ละปีลูกมะก๊อจะออกลูกในช่วงฤดูฝน โดยคุณลงอ้ายยึดอาชีพนี้มานานหลายสิบปีแล้ว โดยสามารถปีนต้นไม้ได้เกือบทุกชนิดเลยทีเดียว

สำหรับมะก๊อ หรือบ่ะก๊อแกง แกะเอาเปลือกสีเทาๆ ออก จะเหลือเนื้อติดเม็ด เอาเกลือคลุกๆ หรือหมักดองเกลือไว้ 1-2 วันให้พอมีรสเค็ม พอน้ำเกลือซึมเข้าเนื้อ ก็ทานได้ ทานเปล่าๆก็ได้ หรือจะกินกะข้าวนึ่ง(ข้าวเหนียว)ร้อนๆ ซึ่งผู้เฒ่าผู้แก่ตามชนบทชอบกินกันแบบนี้ รสชาติของบ่ะก๊อจะมันๆ ฝาดนิดๆ เป็นผลไม้ที่หากินได้ยาก โดยจะขายในตลาดลูกละ 1 บาท หรือลูกละ 2 บาท เลยทีเดียว ขึ้นอยู่กับรสชาติและผลของมันว่าลูกเล็กหรือลูกใหญ่

(คลิป) ชาวบ้านชาวบ้านร่วมใจการทำบุญสรงน้ำรอยพระบาทอายุเก่าแก่หลายร้อยปี

ชาวบ้านป้อก ในอำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ร่วมใจการทำบุญสรงน้ำรอยพระบาทตีนดอยและสรงน้ำพระธาตุอายุเก่าแก่หลายร้อยปี ซึ่งจัดเป็นประเพณีมายาวนาน

ชาวบ้านป้อก หมู่ 4 ตำบลสะเมิงเหนือ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกันใจกันจัดงานทำบุญรอยพระพุทธบาทตีนดอย ซึ่งเป็นรอยพระพุทธบาทขนาดใหญ่ของพระพุทธเจ้า ที่ชาวบ้านนับถือ ซึ่งในแต่ละปีชาวบ้านจะร่วมกันจัดงานทำบุญสรงน้ำรอยพระบาทตีนดอย และสรงน้ำพระธาตุ ถือเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมายาวนาน

สำหรับรอยพระบาทตีนดอย เล่ากันว่ารอยพระพุทธบาทตีนดอยบ้านป้อกเป็นรอยพระพุทธบาทที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดสัตว์โลกแล้วเสด็จกลับ (หันหลังกลับ) หมู่บ้านเกิดความแห้งแล้ง ครูบาอุปาละ บอกว่าในหมู่บ้านมีรอยพระพุทธบาท ควรแก่การสักการบูชา ครูบาอินตาได้สร้างศาลาครอบเอาไว้ และขณะที่มีการทำพิธีสักการบูชารอยพระพุทธบาท ฝนได้ตกลงมาอย่างน่าอัศจรรย์ ทำให้น้ำท่าอุดมสมบูรณ์ และต่อจากนั้นมาชาวบ้านได้ทำนา ทำไร่ และทำสวนจนถึงปัจจุบัน

ต่อมาครูบาอินสม โอภาโส วัดศาลาโป่งกวาว ได้ก่อสร้างพระเจดีย์ขึ้น นอกจากนี้บริเวณทิศตะวันออกเฉียงใต้ยังมีน้ำบ่อยา (น้ำบ่อศักดิ์สิทธิ์) กว้างประมาณ 1 ฟุต ลึกประมาณ 1 ศอก และบริเวณใกล้เคียงมีหินตาหินยายที่มหัศจรรย์ ในทุกปีจะมีประเพณีสรงน้ำพระธาตุและพระบาท ประมาณเดือนพฤษภาคมของทุกปี

(คลิป) เชียงใหม่ หนึ่งเดียวในประเทศไทย เปิดสอนพระไตรปิฏกให้กับเด็กและเยาวชนฟรี

เชียงใหม่ หนึ่งเดียวในประเทศไทย เปิดสอนพระไตรปิฏกให้กับเด็กและเยาวชนฟรี ในพื้นที่จังหวัดลำพูนและเชียงใหม่ เมื่อเรียนศึกษาครบ 1 ปีในวันมาฆบูชาก็จะทำการสอบเพื่อชิงทุนการศึกษากว่า 1 หมื่นบาท ในอนาคตอยากให้เด็กและเยาวชนเหล่านี้ ได้นำคำสั่งสอนที่ศึกษามาในพระไตรปิฏก ไปใช้ในชีวิตประจำวันและเผยแพร่ศาสนาให้ยืนยาวต่อไป

ที่สถานศึกษาพระไตรปิฏกและวิปัสนากรรมฐาน สำหรับเด็กและเยาวชน บ้านเหล่าแมว หมู่ 1 ตำบลวังผาง ตำบลเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน เด็กนักเรียนในพื้นที่อำเภอจอมทอง อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ และนักเรียนในพื้นที่อำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน ต่างเดินทางมาเรียนศึกษาพระไตรปิฏกและวิปัสนากรรมฐาน ซึ่งนายปรีชา แดงซอน แบ่งพื้นที่ที่ดินของตนเองจัดตั้งสถานศึกษาพระไตรปิฏกและวิปัสนากรรมฐานขึ้น เพื่อให้เด็กนักเรียนที่มีความสนใจศึกษาพระไตรปิฏกได้มาเรียนรู้ ศึกษาร่วมกันโดยจะเปิดสอนทุกวันเสาร์ ซึ่งจะสับเปลี่ยนอาจารย์และพระสงฆ์ที่มีความรู้เกี่ยวกับพระไตรปิฏกเรื่องการทำวิปัสนากรรมฐาน มาฝึกสอนให้กับเด็กๆ

นายปรีชา แดงซอน เปิดเผยว่า ในวันนี้มีการแข่งขันอ่านพระไตรปิฏกและสอบแข่งขันพระไตรปิฏกซึ่งปีนี้ รางวัลที่ 1 ทางสถานศึกษาพระไตรปิฏกจะมอบเงินสดเป็นทุนการศึกษาให้ 11,250 บาท ส่วนรางวัลที่ 2 และ 3 เป็นรถจักรยานที่ผู้มีจิตศรัทธาได้นำมามอบให้ โดยผู้ที่สอบได้ที่ 1 จะต้องทำข้อสอบได้เกิน 80 คะแนน จากคะแนนเต็ม 100 ซึ่งกิจกรรมนี้ทำคิดต่อกันมาเป็นปีที่ 5 แล้ว ส่วนสถานศึกษาพระไตรปิฏกได้ก่อตั้งขึ้นมา 9 ปีแล้ว มีเยาวชนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และลำพูน ที่อยู่ใกล้เคียงเดินทางมาร่วมศึกษากันจำนวนมาก หลังเสร็จสิ้นการเรียนพระไตรปิฏกแล้ว ก็จะมีอาหารขนมเครื่องดื่มเลี้ยงเด็กๆ ทุกครั้งโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด ซึ่งเด็กๆ ก็ชื่นชอบที่จะมาเรียนพระไตรปิฏก โดยส่วนใหญ่มาเรียนแล้วก็นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน บางคนมาเรียนแล้วต่อเนื่อง 3-4 ปี ทำให้ผลการเรียนดีขึ้น ส่วนผลการสอบความรู้เรื่องพระไตรปิฏกผู้ชนะเลิศคว้าเงินสดจำนวน 11,250 บาท ได้แก่เด็กชาย กิตติพงษ์ ศิวกรศิลป์ ได้ 82 คะแนน ส่วนรางวัลที่ 2 คือเด็กหญิงโชรดา คำวงศ์ษา ได้ 67 คะแน และเด็กชายธริษตร์ กันทะ ได้ 60 คะแนนได้รถจักยานเป็นรางวัลปลอมใจ ซึ่งผู้ที่ได้ที่ 1 ในแต่ละปีจะไม่มีสิทธิ์มาสอบ จะให้เป็นเป็นผู้ช่วยคุมสอบในปีต่อๆ ไป

เจ้าของสถานศึกษาพระไตรปิฏกฯ กล่าวอีกว่า สำหรับวัตถุประสงค์ของการเปิดสถานศึกษาพระไตรปิฏกแห่งนี้ก็อยากจะส่งต่อพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้กับเด็ก เยาวชน รุ่นใหม่ โดยมีกิจกรรมไหว้พระ สวดมนต์ เดินจงกรม นั่งสมาธิ แผ่เมตตา และศึกษาพระไตรปิฏกทุกวันเสาร์ ตั้งแต่้วลา 18.00-21.00 น. โดยได้รับความเมตตาอนุเคราะห์จาก ท่านเจ้าคุณพระสุวรรณเมธี รองเจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรีจอมทอง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ มาสอนวิปัสสนากรรมฐาน และพระสุขเกษม สุเขธิโต วัดเก่าบ้านหนองสลิง ตำบลศรีเตั้ย อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน ให้การสนับสนุนจัดหาพระไตรปิฏก มาให้เด็กและเยาวชนได้ศึกษา

ด้านนายบุญเลิศ โคตรพัฒน์ เจ้าหน้าที่เรือนจำกลางลำพูน และเป็นอาจารย์สอนเรื่องพระไตรปิฏกให้กับเด็กๆ เปิดเผยว่า เด็กนักเรียนที่ทำการสอบในวันนี้เป็นเด็กนักเรียนที่มาเรียนประจำอยู่แล้วทุกๆ วันเสาร์ เมื่อเรียนครบ 1 ปี ในช่วงวันมาฆบูชาก็จะทำการสอบ ซึ่งได้ออกข้อสอบให้เด็กๆ ได้ทดสอบความรู้ความสามารถที่ได้เล่าเรียนมาในพระไตรปิฏก โดยให้ทำข้อสอบ 100 ข้อ เป็นแบบปรนัยกาอย่างเดียว คนที่สอบได้ราวัลที่ 1 ก็มีรางวัลให้เป็นทุนการศึกษา 11,250 บาท ที่ 1,250 ก็ต้องการให้จำว่า วันมาฆบูชา มีพระสงฆ์มาฟังโอวาทปาฏิโมกข์ของพระพุทธเจ้าจำนวน 1,250 องค์ จึงอยากให้เด็กๆ ได้จำตรงนี้เอาไว้

(คลิป) เชียงใหม่ พิธีไหว้ครูฤาษีมากที่สุดในประเทศไทย ชุมนุมฤาษีโลก

อาจารย์ทรัพย์ ประธานชุมนุมฤาษีโลกจัดพิธีไหว้ครูฤาษีมากที่สุดในประเทศไทย มูลนิธิฤาษีพระมุนีพร้อมประกาศช่วยเหลือสังคม โดยมีฤาษีจากทั่วประเทศเข้าร่วมงาน พร้อมประกาศช่วยเหลือสังคม โดยเฉพาะการให้โลงศพฟรีแก่ผู้ยากไร้ และศพไร้ญาติทั่วประเทศ มีเต็งหนึ่ง ดอกกระโดน ศิลปินนักแสดงตลกเข้าร่วม

ที่มูลนิธิฤาษีพระมุนี บ้านวังธาร ซอย 4 หมู่ที่ 8 ต.ลวงเหนือ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ นายขุมทรัพย์ เหวขุนทด ประธานกรรมการ มูลนิธิฤาษีพระมุนี หรือ อาจารย์ทรัพย์ มุนีเทพ เป็นประธานในพิธีไหว้ครูมูลนิธิฤาษีพระมุนี โดยพิธีจัดขึ้นระหว่างวันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ 63 โดยมีเครือข่ายฤาษีจากทั่วประเทศ เข้าร่วมงานกว่า 200 คน ซึ่งนอกจากจะเป็นวันวัฒนธรรมประเพณีไหว้ครูแล้ว ยังเป็นการพบปะสังสรรค์ของฤาษีและผู้ที่เลื่อมใส ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติทั่วเอเชีย ซึ่งบรรยากาศภายในงานมีการกางผ้ายันต์พระพุทธสิหิงค์องค์หลวงใหญ่ที่สุดในโลก ขนาด 16 x 16 เมตร ซึ่งได้รับการรับรองจาก Ripley’s Believe It or Not ว่าเป็นผ้ายันต์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก จากงานมุนีศิลป์ Festival 2019 ครั้งที่ 1 เมื่อ 17 สิงหาคม 2562 ที่ผ่านมาด้วย

โดยพิธีเริ่มตั้งแต่ช่วงเช้า มีพิธีบวงสรวงเหล่าเทพเทวา โดยมีอาจารย์สมบัติ แก้วสุจริต ทำพิธีไหว้ครู และครอบครูตามวัฒนธรรมประเพณีสายวังหน้า และเป็นผู้ดำเนินพราหมณ์รวมทั้งเป็นเจ้าพิธี จากนั้นมีการรับกระแจะจุนเจิม โดย อาจารย์ศิริพงศ์ คุรุพันธ์กิจ มีการผูกแขนมัดมือโดยครูศิลปินแห่งชาติ อาจารย์ประสิทธิ์ ปิ่นแก้ว จากนั้นได้ร่วมกันประกอบพิธีกรรมโดยอาจารย์ทั้ง 3 ท่าน การรำถวายมือ พระ ยักษ์ หนุมาน จากคณะศิลปะการแสดงโขน โดย ร.ศ.คำนึง สุขเกษม ที่ปรึกษาหลักมูลนิธิฯ ฝ่ายวัฒนธรรม นอกจากนี้ยังมีการสัมมนาและการบรรยายแลกเปลี่ยนวิทยาการด้านต่างๆ บริเวณสถานที่จัดงาน ซึ่งในวันสุดท้ายมีการเจริญทิพยมนต์ ฝ่ายฤาษีพุทธา-เทวาคมขลัง จนถึงเที่ยงคืนเป็นอันเสร็จสิ้นพิธี

อาจารย์ทรัพย์ มุนีเทพ ประธานกรรมการ มูลนิธิฤาษีพระมุนี เปิดเผยความเป็นมาของมูลนิธิฯ ว่า เมื่อก่อนนี้รุ่นครูบาอาจารย์ได้รวมกลุ่มกันเป็นชมรมอนุรักษ์การสักยันต์ไทยและหมอยาชาวบ้าน จากนั้นเมื่อ 4 ปีก่อนจึงได้จดทะเบียนเป็นมูลนิธิฯ เพื่อทำกิจกรรมและช่วยเหลือสังคมได้มากขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ คือ การอนุรักษ์ศิลปะและวัฒนธรรม การจัดหาทุนการศึกษาแก่น้องผู้ยากไร้ การเข้าไปช่วยเหลือการภัยภิบัติทั้ง 4 ด้าน การทะนุบำรุงพระพุทธศาสนา และการสงเคราะห์เรื่องของโลงศพแก่ผู้ยากไร้ หรือศพไม่มีญาติ โดยการนำเงินจากการบริจาค และจากเครือข่ายสาขาต่างๆ นำมาจัดซื้อไว้ ซึ่งได้ช่วยเหลือไปแล้วเดือนละกว่า 300-400 โลง โดยสามารถไปขอได้ทุกสาขาใน 4 ภาค ทั่วประเทศ โดยเฉพาะศพไม่มีญาติทางมูลนิธิฯ ยังจัดการเรื่องการเผาให้ด้วย

ด้าน นายสุรพงษ์ สนิทพันธ์ หรือ เต็งหนึ่ง ดอกกระโดน ศิลปินนักแสดงตลก กรรมการบริหารสมาคมศิลปินตลก (ประเทศไทย) กล่าวว่า ในนามของศิลปินนักแสดงต้องขอบิกว่ามูลนิธิฯ นี้ ช่วยเหลือคนจริงๆ โดยเฉพาะตน เมื่อปีที่ผ่านมาลูกสาวตน น้องมีตังค์ วัย 2 ขวบ ประสบเหตุจมในถังน้ำจนเป็นข่าวดัง ทางมูลนิธิฯก็ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ ทั้งนี้กิจกรรมใดที่เป็นการช่วยเหลือพ่อน้องชาวไทย ตนมองว่าเป็นสิ่งที่ดี ซึ่งตนก้เข้ามาทำด้านประชาสัมพันธ์ให้ทางมูลนิธิฯ ด้วย ถึงวันนี้อยากให้ทุกคนร่วมด้วยช่วยกันในยามภาวะบ้านเมืองเกิดวิกฤติหรือเดือดร้อน ในนามของศิลปินตลกและตัวแทนของนักแสดง ก็ยากจะบอกว่าหากมูลนิธิฯ ทำในด้านที่ช่วยเหลือสังคมเราควรช่วยกันส่งเสริม เพราะวันหนึ่งสิ่งที่ท่านบริจาคไปให้มูลนิธิฯอาจจะกลับไปถึงตัวคุณในยามที่อาจจะเดือดร้อนก็ได้

(คลิป) กรมเจ้าท่า จัดอบรมเครือข่ายอาสาวารี รุ่นที่ 38 ที่เชียงใหม่ สร้างเครือข่ายภาคประชาชน ในการสอดส่องดูแลความปลอดภัยทางน้ำ

กรมเจ้าท่า จัดอบรมเครือข่ายอาสาวารี รุ่นที่ 38 ที่เชียงใหม่ สร้างเครือข่ายภาคประชาชน ในการสอดส่องดูแลความปลอดภัยทางน้ำ

นายวิทยา ยาม่วง เป็นประธานในพิธีโครงการอบรมเครือข่ายอาสาวารี รุ่นที่ 38  ที่ห้องพลอยไพลิน กรีนเลค รีสอร์ท อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสร้างเครือข่ายออกไปสู่ภาคประชาชนในการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานร่วมกับกรมเจ้าท่า โดยมีผู้เข้ารับการอบรมจำนวนทั้งสิ้น 120 คน

กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม ในฐานะเป็นองค์กรที่มุ่งพัฒนาระบบการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวีให้ปลอดภัย สะดวกและมีประสิทธิภาพ ตามมาตรฐานสากล มีแนวคิดสร้างเครือข่ายให้กว้างขวางมากขึ้น ด้วยการเพิ่มเป้าหมาย และขยายวัตถุประสงค์นำเครือข่ายออกไปสู่ภาคประชาชน หรือองค์กรต่างๆ โดยเปิดโอกาสให้ประชาชน องค์กรต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมปฏิบัติงานกับกรมเจ้าท่า โดยเมื่อปี 2553 กรมเจ้าท่า ได้จัดให้มีการฝึกอบรมหลักสูตร “อาสาวารี” ภาคประชาชนขึ้น เพื่อปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และจิตสำนึก ความเป็นอาสาสมัคร จิตสาธารณะ การเสียสละ ทำงานเพื่อประโยชน์ส่วนรวม โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน พร้อมเป็นตัวแทน “เจ้าท่า” ในการปกปักษ์รักษาแหล่งน้ำอันเป็นสาธารณสมบัติของชาติที่อยู่ในความดูแลของกรมเจ้าท่า การทำงานร่วมกันในการเฝ้าระวังการเกิดอุบัติเหตุอันอาจเกิดจากการใช้เรือและท่าเทียบเรือ การสัญจรทางน้ำ การแจ้งเหตุเกี่ยวกับมลภาวะ การกระทำสิ่งล่วงล้ำลำน้ำและผู้ละเมิดกฎหมายเกี่ยวกับการเดินเรือ

ดังนั้น เพื่อให้การสร้างเครือข่าย “อาสาวารี” ภาคประชาชนเป็นไปอย่างต่อเนื่องมีการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม ตามวัตถุประสงค์ สำนักความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมทางน้ำ กรมเจ้าท่า จึงได้จัดการฝึกอบรมโครงการเครือข่าย “อาสาวารี” รุ่นที่ 38 ขึ้น โดยมีผู้ผ่านการอบรมมาแล้ว ทั้งสิ้น 6,066 คน โดยหัวข้อในการอบรมจะประกอบด้วย สาธิตการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ, การปฐมพยาบาลเบื้องต้น การช่วยฟื้นคืนชีพ บรรยายด้านกฎ ระเบียบ การขุดลอก บรรยายด้านสิ่งแวดล้อมทางน้ำ ด้านการใช้วิทยุสื่อสาร การแจ้งเหตุทางน้ำ และความปลอดภัยในการเดินเรือ อันเป็นการสร้างเครือข่ายภาคประชาชนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มกำลังคนในการช่วยปฏิบัติภารกิจของกรมเจ้าท่าเป็นการสร้างเครือข่ายอาสาวารีที่ยั่งยืนต่อไป

สำหรับผู้สนใจสมัครเป็นเครือข่ายอาสาวารี สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มตรวจการเดินเรือ สำนักความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมทางน้ำ โทรศัพท์ 0 2233 0437 , 0 2233 1311-8 ต่อ 308 , 309 , 229 หรือสายด่วน 1199