เชียงใหม่ เกษตรกรเผยปลูกองุ่นขายสร้างรายได้ไม่ยากอย่างที่คิด

เกษตรกรผู้ปลูกองุ่นในอำเภอสะเมิง เชิญชวนหันมาปลูกองุ่นไว้รับประทานกันเอง ผลองุ่นที่เหลือก็สามารถนำมาจำหน่ายสร้างรายได้ให้กับครอบครัว โดยวิธีการปลูกก็ไม่ยุ่งยากอย่างที่คิด ผู้สนใจข้อทราบขั้นตอนการปลูกได้ โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด

พามาชมสวนปลูกองุ่นของนายสมัคร สาธุเม สมาชิกวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลไม้พืชผักและแปรรูปการเกษตรตำบลสะเมิงใต้ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งทำแปลงปลูกสวนองุ่นไว้ที่สวนหลังบ้าน เป็นสวนองุ่นที่ไม่ใหญ่โตมานักมีพื้นที่อยู่ 2 ไร่ แบ่งเป็นทำโรงเรือนปลูกองุ่น 1 ไร่ เหลืออีก 1 ไร่ ปลูกพืชผักสวนครัวอื่น ๆ หลายอย่าง ซึ่งองุ่นในสวนกำลังเริ่มออกผลเต็มพื้นที่


นายสมัคร เล่าให้ฟังว่า ทดลองปลูกองุ่นมาประมาณ 13 ปี เมื่อต้นองุ่นโตขึ้นมามีอายุประมาณ 1 ปีเศษ ก็ตกแต่งกิ่ง องุ่นก็เริ่มออกช่อดอกและก็ออกผลเลย ปฏิบัติไปตามขั้นตอน หากไม่รู้ก็ไปศึกษาจากโครงการหลวง หรือมาศึกษาที่สวนองุ่นของตนก็จะบอกขั้นตอนการปลูกให้ทั้งหมด หากตั้งใจที่จะปลูก ไม่ต้องทดลองปลูก คำว่าทดลองถ้าทำแล้วเสียแล้วเสียเลย ไม่ดีไม่ได้ ถ้าตั้งใจจะปลูกก็ศึกษาหาความรู้และลงมือทำ ไม่มีอะไรที่จะยากทำตามขั้นตอน ดูแลไปจนถึงระยะเวลาประมาณ 1 ปีเศษ องุ่นก็จะออกผล นำไปขายก็สร้างรายได้ให้กับตัวเอง

คนทั่วไปมองไม่ถึงคิดว่าการปลูกองุ่นทำยาก ทุกวันนี้ประเทศของเราสั่งองุ่นนำเข้ามาจากประเทศจีนและประเทศอื่นๆ เยอะ ส่วนองุ่นของเรายังมีน้อย เราจึงได้มาปลูกองุ่นสู้กับองุ่นเมืองนอก ทุกวันนี้เงินไหลออกต่างประเทศไปสั่งซื้อองุ่นเยอะ เราปลูกองุ่นขายเองก็เป็นการสร้างอาชีพได้ ผลองุ่นก็สามารถนำไปขายได้ตามสถานที่ต่างๆ เพราะการขนส่งสะดวกสบาย ทำไปตามขั้นตอนเพราะการปลูกองุ่นใช้ระยะเวลาไม่นานเหมือกับการปลูกพืชอื่น ที่ต้องใช้เวลา 4-5 ปีถึงจะออกลผล แต่ปลูกองุ่นนี้ใช้เวลา 1 ปีเดียวก็ตัดแต่งกิ่งองุ่นก็จะออกผลเลย รออีก 3 เดือนกว่าก็จะเก็บผลองุ่นไปขายได้เลย ขณะนี้ที่สวนก็ปลูกองุ่นพันธุ์บิวตี้ ซีดเลส และพันธุ์เฟลม ซีดเลส


นายสมัคร เปิดเผยอีกว่า ครั้งแรกที่เริ่มปลูกองุ่นในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2550 ได้นำต้นกล้าองุ่นมาปลูก 14 ต้น ทำเป็นโรงเรือนไม้ไผ่มุงด้วยพลาสติดใส พอปลูกเข้าปีที่ 2 ก็สามารถเก็บผลองุ่นไปขาย ซึ่งใน 1 ปีผลองุ่นจะออกลูก 2 ครั้ง องุ่นปลูกครั้งแรกมีเพียง 14 ต้น สร้างรายได้ในปีนั้นกว่า 1 แสนบาท พยายามดูแลตัดแต่งกิ่งองุ่นให้ดี ใส่ปุ๋ยดูแลเอาใจใส่เป็นระยะๆ ใน 1 ปีออกผลองุ่น 2 ครั้งระยะแรกส่งขายให้กับมูลนิธิโครงการหลวง ส่วนองุ่นที่ตกเกรดก็มาวางขายหน้าบ้าน นักท่งอเที่ยวบางคนก็เดินทางมาซื้อ ขณะนั้นขายกิโลกรัมละ 200 บาท ก็อยากเชิญชวนให้มาปลูกองุ่นกัน ก่อนปลูกก็ไปศึกษาหาความรู้นิดหน่อยจากโครงการหลวงหรือสวนของตนเอง ซึ่งจะบอกขั้นตอนการปลูกให้ทั้งหมดโดยไม่คิดเงินแม้แต่บาทเดียว นำไปทำเพื่อเป็นอาชีพจะได้สร้างรายได้ให้ครอบครัว ซึ่งการทำองุ่นไม่ได้ทำกันทุกวัน อาจทำเช้าหรือเย็นหรือปล่อยไว้ 4-5 วัน ก็มาดูแลได้ ไม่ใช่ว่าจะต้องดูแลตลอดทั้งวัน บางคนยังไม่เข้าใจไม่รู้จริงไม่รู้นิสัยขององุ่น คนจึงไม่ค่อยนิยมปลูก ซึ่งตนได้อยู่กับองุ่นก็มีความสุข นำไปขายก็ได้เงิน ส่วนผู้ที่สนใจสอบถามขั้นตอนวิธีการปลูกสามารถโทรศัพท์มาสอบถามข้อมูลได้ที่หมายเลข 083-3189920

(คลิป)เชียงใหม่ โครงการหลวงเตรียมรับมือภัยแล้ง ช่วยเหลือแก่เกษตรกรผู้ประสบภัย

โครงการหลวงเตรียมรับมือภัยแล้ง ช่วยเหลือแก่เกษตรกรผู้ประสบภัย

จากความเดือดร้อนของเกษตรกรในพื้นที่ของโครงการหลวง ที่ประสบปัญหาภัยแล้ง ส่งผลให้ชุมชนขาดน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค และทำการเกษตร รวมทั้งทำให้เกิดไฟไหม้ในพื้นที่มากขึ้น เนื่องจากความชื้นลดลง จากการสำรวจในช่วงเดือนเมษายน – มิถุนายน 2563 พบว่ามีเกษตรกร จำนวน 176 ชุมชน ในเขต 6 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน แม่ฮ่องสอน พะเยา และตาก ได้ลงทะเบียนเพื่อขอความช่วยเหลือแล้วจำนวน 2,390 ราย ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงพระบาทห้วยต้ม ต.นาทราย อ.ลี้ จ.ลำพูน หนึ่งในพื้นที่โครงการหลวง ที่ประสบปัญหาภัยแล้งเป็นประจำทุกปี ทำให้เกษตรกรชาวไทยภูเขาเผ่าปกาเกอะญอและคนเมือง จำนวนกว่า 160 ราย เกิดความเดือดร้อน

นายมนูญ รักษาชล หัวหน้าศูนย์พัฒนาโครงการหลวงพระบาทห้วยต้ม กล่าวว่า ภาพรวมของภัยแล้งในปีนี้ค่อนข้างรุนแรง เริ่มมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ แผนการผลิตพืชผัก เช่น คะน้า มะระหยก ที่เป็นผลผลิตหลักของศูนย์ลดลงกว่าปีที่ผ่านมา เกษตรกรเคยปลูกได้ตามแผน แต่ปีนี้ต้องหยุดชะงักชั่วคราว พื้นที่เก็บน้ำที่เป็นบ่อดิน และบ่อซีเมนต์ของเกษตรกร ไม่มีน้ำพอให้นำออกมาใช้ในแปลง
-นอกจากพืชผักไม่ได้ปริมาณตามแผนแล้ว คุณภาพก็มีส่วนสำคัญ เพราะการขาดน้ำ อากาศที่แล้งจัด ทำพืชผักไม่ได้คุณภาพ ส่วนการเพาะกล้าผักที่ทางศูนย์ทำไว้ในโรงเรือนก็ไม่ได้ส่งมอบให้เกษตรกร เพราะนำไปปลูกไม่ได้ เสียหายไปเป็นจำนวนมาก แหล่งน้ำธรรมชาติของที่นี่ถือเป็นต้นทุนการผลิตที่สำคัญมาก เกษตรกรต้องอาศัยสูบน้ำจากอ่างน้ำ โดยใช้เครื่องสูบน้ำขึ้นมาใช้ในแปลงผัก อ่างเก็บน้ำหลักที่นี่มีอยู่สามแห่ง ได้แก่ อ่างแม่ลอง อ่างแม่ปุ๊ และอ่างห้วยต้ม ซึ่งเมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เริ่มมีฝนตกจากพายุฤดูร้อน เกษตรกรจึงเริ่มออกไถที่เพื่อเตรียมดินปลูกพืช คาดว่าหลังเดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป สถานการณ์น้ำในพื้นที่จะดีขึ้นเกษตรกรจะกลับมาทำกิจกรรมในแปลงปลูกต่อไป

นางจีรภา กิติกุล เกษตรกรบ้านมะล้อ หมู่ 2 ต.แม่ลาน อ.ลี้ จ.ลำพูน หนึ่งในเกษตรกรดีเด่นของศูนย์ เล่าว่า ตนปลูกมะเขือม่วงส่งให้กับโครงการหลวงพระบาทห้วยต้มมาห้าปีแล้ว แต่พอมาปีนี้น้ำในบ่อแห้ง ปริมาณผลผลิตน้อย ตั้งแต่ต้นปีมาจึงไม่ได้ส่งให้โครงการหลวง เหลือไว้เพื่อขายในหมู่บ้าน มีรายได้เพียงเล็กน้อย น้ำในบ่อที่เคยสูบไว้ยังพอมีอยู่บ้าง จึงได้แค่ประคองต้นไม่ให้เน่าตาย ช่วงนี้ยังคงดูแลแปลงและสวนของตัวเองเพื่อรอให้ฝนตกจะได้มีน้ำใช้ และจะได้เริ่มปลูกผักส่งให้โครงการหลวง

ในการเตรียมแผนการช่วยเหลือแก่เกษตรกร ขณะนี้โครงการหลวงจึงร่วมกับ สวพส. จัดสรรงบประมาณเร่งด่วน ทยอยช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่ ได้แก่ การขุดลอกและสร้างฝายอ่างกักเก็บน้ำในชุมชน 45 ชุมชน 23 ศูนย์ แล้วเสร็จคิดเป็นร้อยละ 64.28 จัดหาวัสดุจากแหล่งธรรมชาติมาใช้ในชุมชนเพื่อการฟื้นฟูแหล่งต้นน้ำลำธาร สนับสนุนท่อส่งน้ำเข้าสู่แปลงเพาะปลูกผัก ไม้ผล ดอกไม้ และเห็ด รวมทั้งสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ระบบน้ำแบบประหยัดเพื่อผลิตผักในฤดูแล้ง ซึ่งโครงการความช่วยเหลือนี้จะดำเนินให้แล้วเสร็จภายในกรกฎาคมนี้

(คลิป)เชียงใหม่ ชาวบ้านตำบลเชิงดอยทำซุ้มปันสุข ช่วยกันทำอาหารหลากหลายเมนูแจกจ่าย

ดูความร่วมือของชาวบ้านในตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ จัดทำซุ้มปันสุข แตกต่างจากตู้ปันสุขที่มีแต่อาหารแห้ง โดยซุ้มปันสุขเป็นซุ้มไม้ไผ่มุงหญ้าคา มีทั้งอาหารแห้ง มีการปรุงอาหารสดๆ และมีซุ้มสำหรับทำส้มตำ สามารถปรุงรสชาดด้วยตนเอง โดยชาวบ้านนำวัตถุดิบจากที่ตนมีมาช่วยกัน และจะทำแบบนี้จนกว่าวิกฤตการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 จะเริ่มคลี่คลายลง

พากันมาดูความน่ารักและความร่วมมือไม่เห็นแก่ตัวของชาวบ้านในตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ โดยยายผ่องซึ่งมีที่ดินติดกับหนองบัวพระเจ้าหลวง ใกล้กับเทศบาลตำบลเชิงดอย ซึ่งได้ปรับพื้นที่จัดทำเป็นสวนเด็กยายผ่อง ควักเงินของคนเองซื้อเครื่องเล่นหลากหลาชนิดให้กับเด็กๆ ได้เข้ามาเล่นสนุกสนานและออกกำลังกาย แต่เมื่อเกิดวิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัสโควิส-19 สวนเด็กของยายผ่องก็ต้องปิดเพื่อให้ความร่วมมือกับทางราชการ ป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัส


ล่าสุดสวนเด็กเล่นยายผ่องได้มาคึกคักอีกครั้ง เมื่อการแพรระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เริ่มที่จะเบาบางลง แต่ประชาชนที่ไม่มีงานทำ ตกงานหรือว่างงาน ก็ไม่มีเงินที่จะไปซื้ออาหารมารับประทาน ผู้ที่ใจบุญมีจิตศรัทธาก็ได้ร่วมกันทำตู้ปันสุข ตู้บริจาคสิ่งของข้าวสารอาหารแห้งต่างๆ มีประชาชนมารับเพื่อนำไปบริโภคทำกันทั่วประเทศ แต่ที่สวนเด็กเล่นยายผ่อง ไม่ได้ทำเป็นตู้ปันสุขเหมือนที่อื่น กับเป็นซุ้มไม้ไผ่มุงด้วยหญ้าคา เหมือนกับซุ้มขายอาหารพื้นเมือง มีผู้ใจบุญนำอาหารเครื่องดื่มมาให้บริจาคให้กับผู้ที่ต้องการ นอกเหนือจากนั้นบางวันก็จะมีซุ้มส้มตำ ผู้ที่ชื่อนชอบส้มตำก็สามารถมาตำไปรับประทานได้เอง ชอบรสชาดไหนก็ปรุงกันเอาเอง ส่วนแม่บ้านบางคนก็นำเส้นหมี่เหลืองมาผัดสด เรียกว่าหมี่ซั่ว ผัดปรุงว่า หมี่ซั่ว เมื่อปรุงเสร็จก็ช่วยกันจัดใส่ถุง หากใครหิวก็หยิบนำกลับไปรับประทานที่บ้านได้

สำหรับซุ้มปันสุขแห่งนี้ เป็นการรวมตัวของชาวบ้านที่มีน้ำใจในตำบลเชิงดอย มีเหลือเพียงพอก็นำมาแบ่งปันให้กับเพื่อนชาวบ้านด้วยกัน บางคนก็นำเสื้อผ้ามือสองที่ทำควาสะอาดแล้ว ก็นำมาวางให้ผู้ที่ต้องการเสื้อผ้าได้เลือกนำไปสวมใส่ อาจสวมใส่เพื่อไปทำสวนไร่นาก็ได้ ซึ่งซุ้มปันสุขแห่งนี้ชาวบ้านยืนยันว่า จะช่วยกันนำอาหาร เครื่องดื่ม และสิ่งที่สามารถหามาได้ นำมาวางในซุ้มเพื่อให้ผู้ที่ประสบปัญหาในช่วงเวลานี้ ได้มีการอิ่มท้อง เพื่อร่วมกันผ่านพ้นวิกฤตการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ไปด้วยกัน

เชียงใหม่ ชื่นชมยายวัย 72 ปี คนเชียงใหม่ รับเงิน เราไม่ทิ้งกัน 5,000 ซื้ออาหารใส่ตู้ปันความสุข

ชื่นชมยายวัย 72 ปี คนเชียงใหม่ รับเงิน เราไม่ทิ้งกัน 5,000 ซื้ออาหารใส่ตู้ปันความสุข เป็นค่าอาหารเพลพระสงฆ์วัดสันมะเกี๋ยง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ 

เมื่อวันที่ 16 พ.ค.2563 ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจาก พระครูปลัดทวีวัฒน์ อินฺทวณฺโณ ที่ปรึกษาเจ้าอาวาสวัดสันมะเกี๋ยง และในฐานะผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยสะเก็ด พระอารามหลวง จากที่ทางวัดได้ตั้งตู้ “ตู้ปันความสุขยามวิกฤติ” ตามโครงการป้องกันควบคุมและเฝ้าระวังการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา หรือโควิด-19 จัดทำตู้ปันความสุขไว้ที่วัดสันมะเกี๋ยง ตำบลสำราญราษฎร์ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่

ล่าสุดทางวัดได้รับเงินบริจาค จากนางเหรียญ จันทร์หอม อายุ 72 ปี ชาวบ้านบ้านสันมะเกี๋ยง นำเงินที่ได้จากการช่วยเหลือเยียวยาจากรัฐบาลโครงการเราไม่ทิ้งกัน นางเหรียญ นำเงินถวายวัดสันมะเกี๋ยง จำนวน 3.000 บาท เพื่อเป็นค่าภัตตาหารเพลแก่พระภิกษุสามเณร

นางเหรียญ ได้กล่าวว่า “ตนสงสารพระเณรในช่วงวิกฤติโควิด-19 ซึ่งไม่สามารถปฎิบัติศาสนกิจของสงฆ์ได้ จึงนำปัจจัยที่ได้มาจำนวน 3,000 บาท ตั้งใจถวายเพื่อเป็นค่าภัตตาหารเพลแก่พระเณรวัดสันมะเกี๋ยง หรือทางวัดจะนำเงินไปซื้อสิ่งของเครื่องใช้ประจำวัน เช่นข้าวสารอาหารแห้ง หรือขนมน้ำดื่ม ก็ตามแต่ทางวัดจะดำเนินการ นางเหรียญ กล่าว

สำหรับนางเหรียญ จากก่อนเกิดวิกฤตโรคโควิต-19 ได้เป็นแม่ครัวจิตอาสาของวัดสันมะเกี๋ยง คอยช่วยเหลืองานวัดมาโดยตลอด ซึ่งนางเหรียญอยู่ตัวคนเดียว สามีเสียชีวิตได้ 8 ปีแล้วไม่มีบุตร รายได้มีเพียงเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเท่านั้น และการรับเงินมา 5,000 บาทจากรัฐบาลถือว่าเพียงพอแล้ว ได้เก็บไว้ใช้จำนวนหนึ่ง และส่วนหนึ่งนำเงินมอบให้ทางวัดเพื่อเป็นค่าอาหารเพลพระสงฆ์ดังกล่าว

ที่วัดสันมะเกี๋ยงเชิญชวนชาวบ้านที่ขาดอาหาร น้ำดื่ม ผักสดที่ทางวัดปลูกเอง เช่น ผักบุ้ง ผักกาด ถั่ว และกล้วย และผักอื่นๆ โดย ดร.เกษม ปารมีศิลป์ขจร นายกเทศมนตรีตำบลสำราญราษฎร์ ได้บริการนำตู้เย็นปันสุขมามอบให้ทางวัดใส่ของสดๆด้วย ชาวบ้านให้มารับอาหารได้ที่ตู้ปันความสุขยามวิกฤติ อยู่ตำบลสำราญราษฎร์ ท่านพระครูปลัดทวีวัฒน์ อินฺทวณฺโณ ที่ปรึกษาเจ้าอาวาสวัดสันมะเกี๋ยงผู้จัดหาอาหารมาให้ชาวบ้านทุกวัน จากที่นายจิรชาติ ซื่อตระกูล นายอำเภอดอยสะเก็ด และ ดร.เกษม ปารมีศิลป์ขจร นายกเทศมนตรีตำบลสำราญราษฎร์ ที่ขานรับนโยบายท่านผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่และรัฐบาล ในการปฏิบัติหน้าที่รวมกับทุกภาคส่วนในการสู้ภัยร้ายโรคระบาดโคโรนา หรือโรคโควิด-19 ได้เปิดให้ประชาชนมารับอาหารตั้งแต่วันที่ 12 พฤษภาคมที่ผ่านมาจนถึงวันนี้ และยังจะดำเนินการแจกอาหารให้ชาวบ้านตลอดไปจนกว่าโรคโควิด-19 จะหมดไป

(คลิป)เชียงใหม่ ดัดแปลงอาคาร 3 ชั้นมาปลูกองุ่นและพืชผักสร้างคลังอาหารในบ้าน

จัดเอาอาคาร 3 ชั้นที่เตรียมสร้างหอพักหรือเกสเฮ้าส์มาดัดแปลงทำการปลูกพืชผักสวนครัวปลอดสารพิษและปลูกองุ่นสายพันธุ์ต่างๆ เป็นคลังอาหารในบ้านสูวิกฤตการระบาดของไวรัสโควิด-19 นอกเหนือจากนั้น ยังสามารถส่งขายตามท้องตลาดและส่งขายไปยังโครงการเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีนำไปเลี้ยงสัตว์ได้อีกด้วย

พากันมาที่ที่ทำการลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตอาหารสัตว์ ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง เชียงใหม่ ซึ่งได้นำเอาอาคารสูง 3 ชั้นที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ มาทำเป็นอาคารปลูกพืชผักอาทิ ผักบุ้งจีน, ผักกวางตุ้ง, ผักชี, แตงกวา, ถั่วผักยาว และผักต่างๆ หลากหลายชนิด และปลูกองุ่นสายพันธุ์ต่างๆ สร้างรายได้ส่งขายตามท้องตลาดและอีกส่วนหนึ่งส่งไปขายให้กับสัตว์ที่เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี นอกเหนือจากเก็บมารับประทานเองภายในบ้าน เป็นคลังอาหารในสู้ในช่วงวิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยเป็นการปลูกองุ่นลอยฟ้าบนดาดฟ้าชั้น 3 เป็นองุ่นสายพันธุ์บิวตี้ซีดเลส, พันธุ์เฟรม และพันธุ์สวีทแซฟไฟร์ ซึ่งบริเวณดาดฟ้าชั้น 3 สามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์โดยรอบได้อย่างสวยงาม นอกเหนือจากนั้นยังเห็นเครื่องบินโดยสารที่กำลังร่อนลงท่าอากาศยานจังหวัดเชียงใหม่อีกด้วย

นางสาวปุณฑริกา คำบุญทา (หมอแดง) ผู้จัดการวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตอาหารสัตว์ เปิดเผยว่า พื้นที่ในบ้านมีพื้นที่น้อย อยากสร้างคลังอาหารเอาไว้ในบ้าน พอดีมีตึกอาคาร 3 ชั้นที่ตั้งใจว่าจะทำเป็นหอพักหรือเกสเฮ้าส์ แต่เจอภาวะเศรษฐกิจไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ก็เลยไม่รู้จะทำอย่างงัย จึงได้ตัดแปลงดาดฟ้าชั้น 3 ปลูกเมล่อน หลังปลูกเมล่อนไประยะหนึ่งก็มีแนวคิดขึ้นมาอยากลองปลูกองุ่นจึงทดลองปลูกก็ได้ผลที่ดี องุ่นรสชาดอร่อยกรอบหวาน ดินปลูกก็ปรุงดินขึ้นมาเอง โดยการศึกษาสอบถามจากผู้รู้และดูจากทางยูทูป ศึกษาจากฟาร์มต้นพันธุ์ที่ไปซื้อต้นกล้ามา


สำหรับองุ่นที่ออกผลมาในขณะนี้ ถือเป็นผลผลิตจากDD Farm (ดีดี ฟาร์ม) นอกเหนือจากการปลูกเมล่อนและพืชผักสวนครัว โดยเฉพาะพืชผักสวนครัวปลอดสารสามารถรับประทานได้ทั้งคนและสัตว์ โดยผลผลิตส่วนใหญ่ก็ส่งให้กับเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีด้วย เป็นลูกค้าหลักและประชาชนที่รักสุขภาพทั่วไป ที่สนใจเรื่องอาหารปลอดภัย อาหารปลอดพิษก็มาช่วยอุดหนุนซื้อนำกลับไปทำเป็นอาหารเพื่อสุขภาพให้กับคนรักในครอบครัว สอบถามและสั่งซื้อได้ที่ พ่อกำนันดี 084-3725389 หรือพี่แดง 083-5751993

(คลิป)เชียงใหม่ ครูบาตรัยเทพ ทำพิธีเจริญพระพุทธมนต์ เพื่อความร่มเย็นของคนไทยในชาติ พร้อมมอบอาหารให้ชาวบ้าน 1,000 ชุด


สำนักปฏิบัติธรรมอาศรมพรหมธาดาพุทธาสถาน ทำพิธีเจริญพระพุทธมนต์ เพื่อความร่มเย็นของคนไทยในชาติ มอบอาหารชาวบ้าน 1,000 ชุด

ผู้สื่อข่าวรายงานที่สำนักปฏิบัติธรรมอาศรมพรหมธาดาพุทธาสถาน อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ครูบาตรัยเทพ จันทวัณโณ ผู้ดูแลอาศรมพรหมธาดาพุทธาสถาน นำพระสงฆ์และนักบวช บาบา และมาตา พร้อมชาวบ้าน ร่วมประกอบพิธีเจริญพระพุทธมนต์เพื่อความร่มเย็นของคนไทยในชาติ


สำหรับอาศรมพรหมธาดาพุทธาสถาน อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ มีนักปฏิบัติธรรมจากทุกชาติทุกศาสนา จะมีพระมหาธาตุเจดีย์ไตรรัตนพุทธญาณรังสีปฐวีมงคล หรือเจดีย์โพธินาถ เป็นเจดีย์ที่ใหญ่ที่สุดในเนปาน และได้สร้างในประเทศไทยที่อาศรมพรหมธาดาพุทธาสถานแห่งนี้ เรียกว่า “ตาปัญญา” ในประเทศไทยก็ถือว่าใหญ่ที่สุด อาศรมอยู่ห่างจากอำเภอจอมทองไปประมาณ 6 กิโลเมตรเท่านั้น ยังมีนักบวชที่เป็นชายและหญิงห่มชุดผ้าสีเหลือง คล้ายพระสงฆ์ เป็นนักบวชชายเรียกว่า บาบา นักบวชหญิงเรียก มาตา ถือศิล 8 จำวัดอยู่ในสำนักปฏิบัติธรรมอาศรมพรหมธาดาพุทธาสถานแห่งนี้ด้วย ทั้งพระสงฆ์และนักบวช พร้อมประชาชน ได้ร่วมประกอบพิธีที่ศาลา พระมหาธาตุเจดีย์ตาปัญญา


จากนั้นในช่วงเวลา 16.00 น.ของวันเดียวกันที่วัดล่ามช้าง ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ครูบาตรัยเทพ จันทวัณโณ ร่วมกับพระครูปลัดอานนท์ วิสุทโธ เจ้าอาวาสวัดล่ามช้าง ทั้งพระสงฆ์และนักบวช บาบา และ มาตา ร่วมกันมอบข้าวสารอาหารแห้งและน้ำดื่ม และข้าวกล่องให้ประชาชนในเชียงใหม่มาร่วมทำบุญ จัดอาหารแห้งเป็นชุดยังชีพ จำนวนมากกว่า 1,000 ชุด


ภายในถุงยังชีพ มีข้าวสารขนาด 5 กิโลกรัม อาหารแห้ง บะหมี่ เครื่องปรุงรส อาหารกระป๋อง นำมาแจกให้กับประชาชน ที่บริเวณลานวัดล่ามช้าง มีประชาชนนับพันคนมารอรับของแจก ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ ชาวบ้านที่ยากไร้และประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิค และยังมี นาย พงษ์ศวีร์ ศิริโยธิน ลูกศิษย์ครูบาฯ แจกเงินขวัญถุง ให้กับชาวบ้าน คนละ 100 บาท เพื่อนำไปเป็นเงินติดกระเป๋า บางคนไม่มีรายได้ ทำให้ไม่มีเงิน แม้แต่บาทเดียวติดกระเป๋า สร้างความดีใจ ให้กับชาวบ้าน เป็นอย่างมาก มีประชาชน มารับของแจกอาหารมากกว่า 1,000 ชุด รวมทั้งแจกข้าวกล่อง และน้ำดื่มด้วย

นอกจากนั้นยังนำถุงยังชีพ ข้าวสารอาหารแห้ง ไปมอบให้กับครอบครัว เจ้าหน้าที่เทศบาลนครเชียงใหม่ บริเวณแจ่งศรีภูมิด้านใน มีถุงยังชีพมากกว่า 100 ชุด วัตถุมงคล เงินขวัญถุง อีกคนละ 100 บาท เพื่อสู้กับโควิค โดยมีเจ้าหน้าที่เทศกิจเทศบาลนครเชียงใหม่ มาคอยจัดระเบียบ เว้นระยะห่าง วัดไข้ แจกเจลล้างมือ ทั้ง 2จุด ลดความเสี่ยง


การแจกถุงยังชีพเพื่อช่วยชาวบ้านในตัวเมืองเชียงใหม่ที่ประสบภัยโรคโควิด-19 ที่ขาดอาหาร ภายใต้การดูของเจ้าหน้าที่เหล่ากาชาดเชียงใหม่ และเจ้าหน้าที่ตำรวจ และพนักงานของเทศบาลนครเชียงใหม่ ตรวจสุขภาพและจัดระเบียบในการเข้ารับสิ่งของครั้งนี้เพื่อให้ประชาชนอยู่ห่างกันในช่วงเดินทางเข้ามารับอาหาร แล้วนำกลับไปบ้านที่สามารถอยู่ได้นานถึง 15 วัน.

เชียงใหม่ อำเภอดอยสะเก็ด เปิดตู้ปันความสุขยามวิกฤติ สู้ภัยโควิด-19

อำเภอดอยสะเก็ดเชียงใหม่ เปิดตู้ปันความสุขยามวิกฤติ สู้ภัยโควิด-19 หลายหน่วยนำข้าวสารอาหารแห้งมาร่วมบริจาค ขณะที่พระวัดสันมะเกี๋ยง นำพืชผักและผลไม้ที่ทางวัดปลูกปลอดสารพิษ มาร่วมบริจาคให้หยิบนำไปรับประทานคนละ 2 ชิ้น อนาคตจะนำตู้แช่ของสดมาร่วมด้วย

ผู้สื่อข่าวรายงานที่วัดสันมะเกี๋ยง ตำบลสำราญราษฎร์ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ พระครูปลัดทวีวัฒน์ อินฺทวณฺโณ ที่ปรึกษาเจ้าอาวาสวัดสันมะเกี๋ยงและผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยสะเก็ด พระอารามหลวงด้วย พร้อมนายจิรชาติ ซื่อตระกูล นายอำเภอดอยสะเก็ด และ ดร.เกษม ปารมีศิลป์ขจร นายกเทศมนตรีตำบลสำราญราษฎร์ และนายณรงค์ แสนเขียว ผญบ.หมู่ 6 สันมะเกี๋ยง ที่ขานรับนโยบายท่านผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่และรัฐบาล ในการปฏิบัติหน้าที่รวมกับทุกภาคส่วนในการสู้ภัยร้ายโรคระบาดโคโรนา หรือโรคโควิด-19 ได้จัดทำ ตู้ปันความสุขยามวิกฤติ ตามโครงการป้องกันควบคุมและเฝ้าระวังการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา หรือโควิด-19 ในพื้นที่ที่รับผิดชอบจึงจัดทำตู้ปันความสุขไว้ที่วัดสันมะเกี๋ยง ได้มีนายสุรศักดิ์ โอสถิตย์พร ประธานวัฒนธรรมอำเภอดอยสะเก็ด ได้มาร่วมกันเปิดตู้ปันความสุขยามวิกฤติพร้อมกันด้วย

ตู้ปันความสุขยามวิกฤติ มีเขียนกระดาษติดหน้าตู้ไว้ว่า ตู้ปันความสุขยามวิกฤติ By…ดร.เกษม ปารมีศิลป์ขจร นายกเทศมนตรีตำบลสำราญราษฎร์ และชาวบ้านสันมะเกี๋ยง อีก 1 แผ่นเขียนว่า ถ้ามีเหลือก็เอามาเติม หยิบได้คนละ 2 ชิ้น ตาวิเศาเห็นนะ.!!!” (เพื่อเตือนสติ ให้หยิบอาหารไปคนละ 2 ชิ้น) ให้ประชาชนมารับข้าวสารอาหารแห้ง และพืชผัก เนื้อสัตว์ และผลไม้ ขนม นานาชนิดแบบครบทั้งอาหารสด คาว หวาน โดยเฉพาะเนื้อสัตว์และผักสดที่ทางวัดสันมะเกี๋ยงได้ปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อนำผลผลิตทางการเกษตรเลี้ยงดูพระสงฆ์ทั้งหมดในวัด เป็นแนวคิดของพระครูปลัดทวีวัฒน์ อินฺทวณฺโณ ที่ปรึกษาเจ้าอาวาสวัดสันมะเกี๋ยง ต้องการมีอาหารเลี้ยงพระสงฆ์ในวัดมีจำนวน 9 รูป และสามเณร จำนวน 18 รูป นอกจากปลูกผักนานาชนิดในวัดแล้ว ยังเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ สามารถเก็บไข่ไก่ได้วันละ 50 ฟอง นำมาทำอาหารในวัดได้ทุกวัน


ด้านดร.เกษม ปารมีศิลป์ขจร นายกเทศมนตรีตำบลสำราญราษฎร์ ในอนาคตจะนำตู้แช่เย็นให้ทางวัดเก็บอาหารสดต่างๆ เพื่อให้ทางวัดมีตู้แช่เย็นปันความสุขยามวิกฤติ เพื่อให้วัดเก็บอาหารไว้ได้นานๆรอแจกชาวบ้านได้ตลอด 24 ชม.นั้นเอง หลังจากเปิดบริการชาวบ้านเดินทางมารับอาหารแห้งและอาหารสดตลอดทั้งวัน และจะมีอาหารบริการให้ชาวบ้านฟรีตลอดไปจนกว่าโรคระบาดไวรัสโควิด-19 จะหมดไป

เชียงใหม่ ครูบาน้อยมอบอุปกรณ์การแพทย์และสิ่งของแก่ผู้ยากไร้ต้านภัยโควิด-19

ครูบาน้อย เตชะปัญโญ เจ้าอาวาสวัดศรีดอนมูล มอบอุปกรณ์ทางการแพทย์และสิ่งของแก่ผู้ยากไร้และผู้ป่วยติดเตียง ต้านการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโควิด-19

จากการที่ได้เกิดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในจังหวัดเชียงใหม่และประเทศไทยที่ผ่านมา ทำให้ประชาชนทั่วไปต้องหยุดการทำงานและให้อยู่บ้าน ตามประกาศของรัฐบาล เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคร้ายไม่ให้ขยายออกไป ทำให้ประชาชนต้องขาดรายได้จากการไม่ได้ทำงาน เกิดผลกระทบต่อความเป็นอยู่ในการเลี้ยงชีพทุกวัน

ด้วยเหตุนี้ วัดศรีดอนมูล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ครูบาน้อย เตชะปัญโญ เจ้าอาวาสวัดศรีดอนมูล ได้มองเห็นความเดือดร้อนของประชาชนในตำบลชมภู อำเภอสารภี ที่เป็นผู้ยากไร้และผู้ป่วยติดเตียง

ทางมูลนิธิครูบาน้อย เตชะปัญโญ พร้อมด้วยผู้มีจิตศรัทธา จึงได้มอบข้าวสารอาหารแห้ง อาหารสำเร็จรูป จำนวน 290 คน และมอบข้าวสารอาหารแห้ง อาหารสำเร็จรูป สิ่งของเครื่องใช้ พร้อมปัจจัยอีก 1,000 บาท ให้กับผู้ป่วยติดเตียงจำนวน 39 คน และได้มอบอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้กับโรงพยาบาลสารภีบวรพัฒนา (ครูบาน้อย เตชะปัญโญ อุปถัมภ์) เพื่อผู้ป่วยและคนยากไร้ เพื่อรักษาผู้ป้วยให้มีคุณภาพ โดยมอบให้แก่ แผนกกายภาพบำบัด แผนกแผนจีน และแผนกแผนไทย รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 109,000 บาท

เชียงใหม่ อดีตกำนันแม่เหียะมอบเมล็ดพันธุ์แห่งความสุขความรักแก่ครอบครัวสู้โควิด-19

นายกเมืองแม่เหียะ เปิดสวนเมล่อน ขณะที่อดีตกำนันตำบลแม่เหียะ เจ้าของ ดีดีฟาร์ม ประธานกรรมการวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตอาหารสัตว์ แจกเมล็ดพันธุ์พืชผัก 200 ชุดและถุงลดโลกร้อนฟรี

ที่บริเวณด้านหน้าที่ทำการวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตอาหารสัตว์ เลขที่ 9/9 หมู่ 5 ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ติดกับ กาดฮอมฮักเมืองแม่เหียะ โฮงพะชุม นายธนวัฒน์ ยอดใจ นายกเทศมนตรีเมืองแม่เหียะ และนายทวีชัย สิงห์โทราช เลขานายกเทศมนตรีเมืองแม่เหียะ พร้อมนายดี จันทคลักษณ์ ประธานกรรมการวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตอาหารสัตว์ (อดีตกำนันตำบลแม่เหียะ หรือ กำนันดี) นางสาวปุณฑริกา คำบุญทา (หมอแดง) ผู้จัดการวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตอาหารสัตว์ และนายกำจร สายวงศ์อินทร์ อดีตสมาชิกสภาจังหวัดเชียงใหม่ เขตอำเภอหางดง ผู้ก่อตั้งตลาดออนไลน์ ทาง Facebook หนองควายมาร์เก็ตเพลส และนายสุรพล มณีกุล นักธุรกิจร่วมสนับสนุนกลุ่มวิสาหกิจชุมชม นายสุรชัย ปันปวง ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 4 ตำบลแม่เหียะ ทั้งหมดได้ร่วมงานเปิดฟาร์ม เมล่อน Melon By DD FARM ซึ่งตลอดทั้งวันประชาชนได้เดินทางมาซื้อเมล่อนและรับมอบเมล็ดพันธุ์พืชผัก จำนวน 5 ชนิดฟรี ที่บรรจุไว้ในถุงกระดาษรักษ์โลก และลูกค้าท่านใดซื้อเมล่อนจำนวน 3 ลูกได้รับของสมนาคุณเป็นถุงผ้าลดโลกร้อนให้ฟรีด้วย เป็นการร่วมด้วยช่วยกันสู้ภัยโรคระบาดโควิด-19 ไปด้วยกัน


นายธนวัฒน์ ยอดใจ นายกเทศมนตรีเมืองแม่เหียะ กล่าวว่า การลงมือปลูกเมล่อน ตนได้ลงมือปลูกร่วมกับกำนันดี และหมอแดง ที่วิสหากิจชุมชนกลุ่มผลิตอาหารสัตย์เมืองแม่เหียะแห่งนี้ การลงมือปลูกเม่ล่อนและพืชผักสวนครัวอายุสั้นชนิดต่างๆมาถึงวันนี้ ถึงเวลาเก็บผลผลิตจึงเปิดฟาร์มจำหน่ายเมล่อนและพืชผักต่างๆ พร้อมกันนั้นทางวิสาหกิจฯได้นำเมล็ดพันธุ์พืชผักสวนครัวรั้วกินได้นำมามอบให้ชาวบ้านฟรี เพื่อนำไปปลูกที่บ้านในระยะเวลาสั้นๆก็เก็บผลผลิตนำไปทำอาหารได้ ปลูกได้ในพื้นที่บ้านที่มีขอบเขตจำกัดระยะเวลายาวนานเป็นปีได้ ถือว่าเป็นตัวอย่างของแปลงปลูกพืชผักสวนครัวรั้วกินได้ที่สนองแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงราชการที่ 9 ซึ่งการร่วมมือร่วมใจกันครั้งนี้เกิดจากภาคประชาชนร่วมกับผู้นำท้องถิ่นทำงานร่วมกันเพื่อให้เกิดความเข็มแข็งในท้องถิ่น เกิดการพัฒนาท้องถิ่นแบบยั้งยืนไปพร้อมๆกัน

นายดี จันทคลักษณ์ อดีตกำนันตำบลแม่เหียะ และประธานวิสาหกิจชุมชนผลิตอาหารสัตว์ 4 ตำบล ถนนสายเชียงใหม่-หางดง ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า ได้จัดโครงการมอบเมล็ดพันธุ์ผักจาก DDfarm 5 ชนิด อาทิผักบุ้งจีน ผักกวางตุ้ง ผักกชี แตกกวาและถั่วผักยาว มอบให้กับประชาชนในพื้นที่ หรือผู้สนใจนำไปปลูกรับประทานในครัวเรือน เบื้องต้นจำนวน 200 ชุด จากปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด -19 หลายครอบครัวต้องหยุดเชื้อเพื่อชาติ อยู่กับบ้านเรือนอาจเกิดความเครียดจากรายได้ รายจ่ายและอาหารที่จะต้องจับจ่ายซื้อหา จึงใช้แนวทางของในหลวงรัชกาลที่ 9 น้อมนำเศรษบกิจพอเพียง ใช้พื้นที่ในบ้านเล็กสักมุม ปลูกผักกินเองปลอดภันปลอดสาร ดูแลง่ายจะทำให้ครอบครัวมีกิจกรรมทำร่วมกัน เกิดความรัก และความสุขช่วงผลรายจ่ายลง ผักจะใช้เวลาระยะสั้นก็จะสามารถตัดเด็ดมารับประทาน ก็ขึ้อยู่กับครัวรือนกลายเป็นเมล็ดพันธุ์แห่งความรักความสุขของครอบครัว

อย่างไรก็ตามหากใครปลุกได้แล้ว มาศึกษาได้ง่ายๆ จะสามารถต่อยอดออกไปเรื่อยจนทำให้แต่ละบ้านจะมีผักปลอดภัยปลอดสารรับประทาน ซึ่งโควิด-19 จชช่วยให้หลายคนกลายเป็นเกษตรกรจากที่ทำไม่เป้นไม่เคยทำ ก็จะมีงานกิจกรรมเกิดขึ้นในครอบครัว พร้อมแจกต่อเนื่องสำหรับผู้สนใจสามารถติดต่อขอรับบได้ ที่วิสาหกิจชุมชนผลิตอาหารสัตว์ หรือ โทรพ่อกำนันดี 084-3725389 หรือพี่แดง 00835751993

สำหรับในวันที่ 16 พฤษภาคม 2563 ที่เทศบาลเมืองแม่เหียะ โดยท่านผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมผู้บัญชาการตำรวจภูธร ภาค 5 และหน่วยงานราชการต่างๆพร้อมกับเทศบาลเมืองแม่เหียะ กำหนดจัดกิจกรรมมอบถุงยังชีพให้ประชาชนจำนวนหลายร้อยชุด และในวันดังกล่าวทางวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตอาหารสัตว์ ก็จะนำเมล็ดพันธุ์พืชผักสวนครัว 5 ชนิด นำไปมอบให้ชาวบ้านด้วย

เชียงใหม่ ชมรมทหารผ่านศึกดอยสะเก็ดรวบรวมอาหารแจกชาวบ้านต่อเนื่อง

ชมรมทหารกองหนุนและทหารผ่านศึก (ชุดปฏิบัติการ) อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ยังคงเดินหน้านำสมาชิกชมรมฯ พร้อมผู้มีจิตศรัทธา นำข้าวสารอาหารแห้ง เดินทางไปมอบให้กับชาวบ้านที่ยากจนและคนพิการนอนติดเตียง ตามหมู่บ้านต่างๆ ในพื้นที่อำเภอดอยสะเก็ด เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิส-19 โดยจะดำเนินการไปจนพ้นวิกฤตการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19

พ.อ.จงกล บุญเรือง ประธานชมรมทหารกองหนุนและทหารผ่านศึก (ชุดปฏิบัติการ) อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ นำสมาชิกชมรมฯ พร้อมผู้มีจิตศรัทธา นำข้าวสารอาหารแห้ง เดินทางไปมอบให้กับชาวบ้านที่ยากจนและคนพิการนอนติดเตียง ตามหมู่บ้านต่างๆ ในพื้นที่อำเภอดอยสะเก็ด เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิส-19 ซึ่งขณะนี้สถานการณ์การแพร่ระบาดเริ่มที่เบาบาง ที่ยังคงมีประชาชนจำนวนมากในพื้นที่ที่ยังคงต้องการอาหารเพื่อประทังชีวิต เนื่องจากไม่สามารถทำงานหาเงินได้

ประธานชมรมทหารกองหนุนและทหารผ่านศึก (ชุดปฏิบัติการ) อำเภอดอยสะเก็ด เปิดเผยว่า โครงการนำอาหารไปช่วยเหลือชาวบ้านยาก ทางชมรมทหารกองหนุมและทหารผ่านศึก อำเภอดอยสะเก็ดก็มีแนวคิดขึ้นมาในช่วงวิกฤตไวรัสโควิด-19 มีประชาชนได้รับผลกระทบจำนวนมาก มีความยากลำบากในการดำรงค์ชีวิต จึงได้รวบรวมอาหารจากผู้มีจิตศรัทธาเพื่อนำมาแจกจ่ายให้กับชาวบ้านในพื้นที่ตำบลต่างๆ ในอำเภอดอยสะเก็ด ซึ่งของที่ได้รับบริจาคก็ได้มาจากพ่อค้า ประชาชนในพื้นที่ และจากสหพันธ์ชาวม้งและชนเผ่าแห่งสยามได้ร่วมข้าวสาร อาหารแห้ง จัดทำเป็นถุงดำรงชีพ นำมาแจกจ่ายให้กับหมู่บ้านต่างๆ ไปแล้วหลายพันชุด ซึ่งจะดำเนินการจนกว่าจะพ้นวิกฤตไวรัสโควิด-19 เพราะของที่ได้รับบริจาคก็ยังมีมาสนับสนุนเรื่อยๆ